ปัจจันตคิรีเขตร (เกาะกง) ไปแล้วไปลับไม่กลับคืน
จังหวัดเกาะฮ์กงหรือเกาะกง(Koh Kong) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศกัมพูชา ที่มีพื้นที่ ๑๑,๑๖๐ ตารางกิโลเมตร เกาะกงอยู่ติดชายฝั่งทะเล บริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศเหนือติดกับจังหวัดโปสัตหรือโพธิสัต (Pursat) ส่วนทิศตะวันออกติดกับจังหวัดก็อมปงซปือ หรือกัมปงสปือ (Kangpong Speu) และจังหวัดก็อมโปต หรือกำปอต (Kampot) ส่วนทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเมืองสิหนุวิลล์ และอ่าวไทย เมืองหลวง คือ กรุงเขมรรัฐภูมินทร์ บ้างก็เรียกว่า กรุงเกาะกง จังหวัดเกาะกง แบ่งเป็น ๘ อำเภอ ๓๓ ตำบล และ ๑๓๑ หมู่บ้าน เกาะกงถือเป็นจังหวัดขนาดเล็ก มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น ๑๓๐,๕๘๖ คน (พ.ศ.๒๕๕๑) **หมายเหตุ : สำหรับชื่อจังหวัดเกาะฮ์กง ในหนังสือเล่มนี้ทั้งหมดจะเขียนอย่างไทยคือ เกาะกง***หนังสือ คนสองแผ่นดินพิมพ์ครั้งที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ หน้า ๒๒-๒๓*
ปัจจันตคิริเขตร            เมื่อเอ่ยชื่อเมืองปัจจันตคิรีเขตร คนส่วนใหญ่จะไม่รู้จัก            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์มีพระบรมราชโองการประกาศขนานนาม เมืองประจวบคิริขันธ์และ เมืองปัจจันตคิรีเขตรเมื่อวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก หรือพ.ศ. ๒๓๙๘ (จ.ศ. ๑๒๑๗) ซึ่งเป็นปีที่ ๕ แห่งการขึ้นครองราชย์ ความว่า            “...ขุนสารประเสริฐรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าสั่งว่า เมืองบางนางรมย์นั้น โปรดเกล้าฯให้เรียกเมืองประจวบคิรีขันธ์ กับที่เกาะกงนั้น โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า เมืองปัจจันตคิริเขตร ให้กรมวัง หมายไปยังกรมพระกลาโหม กรมท่า กรมพระศุภรัต สัสดีซ้ายขวาให้เรียกชื่อเมืองทั้ง ๒ ให้ถูกต้องตามรับสั่ง            ข้อความข้างต้นนี้ ผู้เขียนคัดมาจากหนังสือ ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๕-๒๔๐๐ (๒๕๐๓, หน้า ๑๕๘) ที่คัดจากหมายรับสั่งมาอีกทอดหนึ่ง            “...เมืองประจวบคิรีขันธ์ก็คือ ส่วน เมืองปัจจันตคิรีเขตรที่เดิมชื่อ เกาะกงและเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดตราดมาก่อนนั้น มาถึงเวลานี้ทุกคนก็รู้จักกันในชื่อของ เกาะกงดังเดิม ขณะที่ชื่อ เมืองปัจจันตคิรีเขตรกลายเป็นชื่อของ เกาะกงดังเดิม ขณะที่ชื่อ เมืองปัจจันตคิรีเขตรกลายเป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก เว้นเสียแต่เป็นนักประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาตร์ นอกจากนั้น ในเอกสารต่างๆ  ก็สะกดชื่อเมืองนี้ต่างกันไป แต่ยังคงรากเดิมอยู่ อาทิ ปัตจันตคิรีเขตร์ บ้าง ประจันต์คิรีเขตต์ บ้าง            อย่างไรก็ตาม ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนขอใช้ตามหมายรับสั่งข้างต้น เว้นเสียแต่เป็นการอ้างอิงตามเอกสารบางชิ้นเป็นกรณีๆ ไป            สำหรับการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการขนานนามเมืองทั้งสองพร้อมกันและคล้องจองกันนี้ มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระปรีชาสามารถยิ่งในด้านดาราศาสตร์ ได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของทั้งสองเมืองในการป้องกันอ่าวสยาม เนื่องจากเมืองประจวบคีรีขันธ์ และปัจจันตคิรีเขตร นั้นอยู่ในแนวเส้นรุ้ง (Latitude) เดียวกัน            เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลทางแผนที่ กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุดให้ข้อมูลกับผู้เขียนว่า ตามแผนที่สัดส่วน ๑ ต่อ ๒ แสน ๕ ระบุว่า จังหวัดเกาะกงของราชอาณาจักรกัมพูชาในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในแนวเส้นรุ้ง ๑๑ํ  ๑๕’ N ถึง ๑๑ํ  ๒๕’ N แนวเดียวกับอำเภอบางสะพาน และอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์            เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ป้องกันทะเลนั้น ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๒๒ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (หม่อมเจ้าสาย) จัดตั้งสถานีทหารเรือขึ้นตลอดฝั่งทะเลตะวันออก รวมทั้งที่เมืองปัจจันตคิรีเขตรด้วย ทั้งนี้เพื่อปราบปรามโจรสลัด และเพื่อป้องกันคุกคามทางทะเลของบรรดามหาอำนาจในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษหรือฝรั่งเศส            ย้อนไปในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนอกจากจะทรงประกาศขนานนามชื่อเมืองเกาะกงเป็นปัจจันตคิรีเขตรแลัว ยังได้ทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมืองกรมการอีกด้วย            “...เมืองประจันตคิรีเขตต์ เดิมหลวงเกาะกง ทรงตั้งใหม่ว่า พระพิไชยชลธี หลวงคิรีเนมิทวีปปลัด...            ความตอนนี้จากพระราชพงศาวดาลรัชกาลที่ ๔ เล่ม ๒ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) (๒๕๐๔, หน้า ๑๘๒) จะเห็นว่า ชื่อเมืองก็ได้เขียนเพี้ยนไปจากที่หมายรับสั่งข้างต้น            เมืองปัจจันตคิรีเขตรนี้ถึงแม้จะเป็นเมืองชายแดน ปลายพระราชอาณาเขตแต่ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้และของป่า อาทิ ยางต้นรงค์ทอง และแก่นไม้กฤษณา โดยเฉพาะยางต้นรงค์ทอง นับเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้ให้กับไทยอย่างมากในเวลานั้น จนถึงขนาดมีตำแหน่ง นายกองส่วยรงค์            ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ครั้งหนึ่งที่ผู้ว่า เมืองปัจจันตคิรีเขตรว่างลง ก็ได้มีการตั้งให้ หลวงโยธาพิรม” (เขียนตามเอกสารดั่งเดิม ต่อมาเขียนเป็นหลวงโยธาภิรมย์) ซึ่งเป็น นายกงส่วยรงค์ในพระราชวังบวรสถานมงคลขึ้นเป็น พระพิไชยชลธี ผู้ว่าราชการเมือง เหตุผลสำคัญนอกจากความสัตย์ซื่อแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งก็เพราะ หลวงโยธาพิรมพื้นเพเป็นคนที่นั่น            ในเอกสารไมโครฟิล์มของกระทรวงการต่างประเทศ ที่นำมาอ้างอิงเรื่อง นายกองส่วยรงค์นี้ เขียนชื่อเมืองปัจจันตคิรีเขตร เป็น เมืองปัตจันตคิรีเขตร            ความห่วงใยในดินแดนชายทะเลตะวันออกนี้ มีม่โดยตลอดตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เคยเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออกนานถึงเดือนเศษ ทั้งนี้ตามประกาศการรักษาพระนคร คราวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ณ วันเสาร์ เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ ปีมะเส็ง นพศก ดังปรากฏในหนังสือ ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๔ (๒๕๐๓, หน้า ๒๙๘)            ความห่วงใยในดินแดนชายทะเลตะวันออกนี้ มีมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด้๗พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เคยเสด็จประพาสหัวเมืงอชายทะเลตะวันออกนานถึงเดือนเศษ ทั้งนี้ตามประกาศการักษาพระนคร คราวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ณ วันเสาร์ เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ ปีมะเส็ง นพศก ดังปรากฏในหนังสือ ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๐๐ (๒๕๐๓, หน้า ๒๙๘)