๓ เริ่มใช้ เงินกระดาษ
p3.17.jpg               

                 ก่อนที่จะมีการนำธนบัตรเข้ามาใช้ร่วมกับเงินตราชนิดอื่นๆ ในระบบการเงินของประเทศนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า เงินตราของชนชาติไทยมีรูปพรรณสัณฐานหลากหลาย มีเอกลักษณ์และประวัติความเป็นมาน่าสนใจ สำหรับเงินตราโบราณที่ขุดพบในบริเวณอันเป็นที่ตั้งของประเทศไทย ได้แก่ เงินตราของอาณาจักรฟูนัน ทวารวดี และศรีวิชัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นเงินตราก่อนการตั้งอาณาจักรไทย
             
ส่วนเงินตราของอาณาจักรล้านนา และล้านช้าง เป็นเงินตราร่วมสมัยกับอาณาจักรไทย จากลวดลายที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่ามีชุมชนซึ่งได้รับอารยธรรมอินเดียอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มานานกว่าพันปีแล้วp3.1.jpg 









             ครั้นถึงสมัยสุโขทัยได้มีการผลิต เงินพดด้วง ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก เป็นการผลิตด้วยมือ ทำจากแท่งเงินบริสุทธิ์  มีลักษณะไม่ซ้ำแบบใคร นับเป็นเงินตราของไทยโดยแท้ และใช้หมุนเวียนยาวนานกว่า ๖๐๐ ปี ตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ในสมัยสุโขทัยเงินพดด้วงมีการประทับตรามากกว่า ๒ ดวง จวบจนสมัยอยุธยาจึงเป็นรูปแบบเดียวกัน คือ มีตราแผ่นดินรูปจักร และ ตราประจำรัชกาลประทับไว้เป็นสำคัญ p3.2.jpg

   p3.3.jpg                                         ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ -๒๔๑๑) เงินพดด้วงก็ต้องเลิกผลิตไป เพราะหลังจากไทยได้เปิดประตูการค้ากับประเทศตะวันตก นับตั้งแต่ได้มีการลงนามใน สนธิสัญญาบาวริง กับประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘  พระองค์ทรงเห็นความจำเป็นที่ไทยต้องจำยอมทำสนธิสัญญาตามข้อเสนอของอังกฤษ แม้ว่าไทยต้องเสียเปรียบอย่างมากก็ตาม เพราะเกรงว่าไทยอาจถูกอังกฤษบีบบังคับด้วยกำลังกองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย แล้วหาเหตุยึดไทยเป็นอาณานิคมในที่สุดดังประเทศข้างเคียงอื่นๆ กำลังเผชิญอยู่ในขณะนั้น ดังพระราชดำรัสว่า

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
               “...ในเมื่อสยามถูกรังควานโดยฝรั่งเศสด้านหนึ่ง โดยอาณานิคมอังกฤษอีกด้านหนึ่ง...เราต้องตัดสินใจว่าเราจะทำอย่างไร จะว่ายทวนน้ำขึ้นไปทำตัวเป็นมิตรกับจระเข้ หรือว่ายออกทะเลไปเกาะปลาวาฬไว้ หากเราพบบ่อทองในประเทศเรา... พอที่จะซื้อเรือรบจำนวนร้อยๆ ลำก็ตาม เราคงไม่สามารถจะสู้กับพวกนี้ได้ เพราะเราจะต้องซื้อเรือรบจากประเทศเหล่านี้(อังกฤษและฝรั่งเศส) พวกนี้จะหยุดขายให้เราเมื่อไหร่ก็ได้...อาวุธชนิดเดียวที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อเราในอนาคตก็คือ วาจาและหัวใจเราอันกอปรด้วยสติและปัญญา...
             
พระราชดำรัสดังกล่าวนี้จึงนำไปสู่การเจรจาทางการทูตกับอังกฤษ และทรงยอมทำสนธิสัญญาแบบเดียวกันกับประเทศตะวันตกอื่นๆ เกือบ ๑๐ ประเทศ เพื่อมิให้ประเทศตะวันตกประเทศใดประเทศหนึ่งเข้ามามีอำนาจและอิทธิพลอย่างโดดเด่นเพียงประเทศเดียวในไทย และในระหว่างการดำเนินนโยบายดังกล่าว พระองค์ก็ทรงให้ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อประเทศมหาอำนาจตะวันตกจะไม่ใช้เป็นข้ออ้างว่าไทยมีความป่าp3.5.jpgp3.6.jpgเถื่อนไร้อารยธรรม ซึ่งจะเป็นหน้าที่หรือ ภารกิจของคนผิวขาว ที่ต้องมาเปลี่ยนแปลงให้ไทยมีความก้าวหน้าทันสมัยตามอารยธรรมตะวันตก ดังที่มักใช้เป็นข้ออ้างเพื่อเข้ายึดครองประเทศต่างๆ ในเอเชียและแอฟริกาเป็นอาณานิคม
p3.4.jpg 
        ผลของสนธิสัญญาเหล่านี้เป็นการเปิดโอกาสให้มีการค้าโดยตรงระหว่างพ่อค้าชาวต่างประเทศกับพลเมืองในประเทศโดยเสรี มีผลให้ไทยต้องยกเลิกการค้าแบบผูกขาดโดยระบบพระคลังสินค้าอย่างเด็ดขาด ล้มเลิกการเก็บภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ
มีการจัดตั้ง ศุลกสถาน หรือ โรงภาษี จัดเก็บภาษีขาเข้าในอัตรา "ร้อยชักสาม" และภาษีขาออกตามที่ระบุไว้ในท้ายสัญญา ระบบการศุลกากรแบบใหม่ก็นำมาใช้นับแต่ครั้งนั้น                 
            การค้าขายระหว่างไทยกับต่างประเทศเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
พ่อค้าชาวต่างชาติได้นำเงินเหรียญดอลล่าร์เม็กซิกันมาขอแลกเป็นเงินไทยมาก จนกระทั่งเงินบาทพดด้วงที่มีอยู่ไม่พอใช้หมุนเวียน การผลิตเงินพดด้วงด้วยมือไม่ทันต่อความต้องการ  รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชดำริจะใช้เครื่องจักรผลิตเงินตราแทน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและสะดวกในการค้า
จึงโปรดกล้าฯ ให้สร้าง โรงกษาปณ์สิทธิการ ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ ในพระบรมมหาราชวัง ผลิตเงินเหรียญด้วยเครื่องจักร มีทั้งที่ทำด้วย ทองคำ เงิน ดีบุก และทองแดงในราคาต่างกัน รูปแบบเงินตราของไทยจึงได้เปลี่ยนจากเงินพดด้วงเป็น เงินเหรียญกษาปณ์ รูปกลมแบนตามแบบสากลนิยมทั่วไป         
p3.7.jpg p3.9.jpg                                              
















           
ต่อมา เมื่อระบบเศรษฐกิจของประเทศได้เปลี่ยนจากระบบการผลิตเพื่อใช้เองไปสู่ระบบการผลิตเพื่อการค้า บทบาทของเหรียญกษาปณ์ก็ค่อยลดความสำคัญลง และเริ่มนำ
เงินกระดาษ ออกใช้ในระบบเงินตราของประเทศ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าp3.10.jpgอยู่หัว ทรงให้จัดทำ หมาย เป็นเงินกระดาษชนิดแรกขึ้นใช้แทนเงินพดด้วงในปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ทำด้วยกระดาษปอนด์สีขาว พิมพ์ลวดลายทั้งสองด้าน ประทับตราแผ่นดินและตราประจำรัชกาล จัดทำขึ้นมี ๓ ประเภท คือ หมายราคาต่ำ หมายราคาตำลึง หมายราคาสูง  สำหรับเงินกระดาษอีกชนิดหนึ่งที่จัดทำในสมัยพระองค์ เรียกว่า ใบพระราชทานเงินตรา มีหลายชนิดราคา ทำด้วยกระดาษปอนด์สีขาว พิมพ์เพียงด้านเดียว การใช้จะอยู่ในวงจำกัดกว่าหมาย

             อย่างไรก็ตาม โดยเหตุที่หมายและใบพระราชทานเงินตราเป็นเงินชนิดใหม่ ในขณะที่ประชาชนมีความคุ้นเคยกับเงินพดด้วงมาแต่สมัยโบราณ การใช้เงินกระดาษจึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายตามพระราชประสงค์ และค่อยๆ หายไปจากระบบการเงินของประเทศในแผ่นดินของพระองค์ในที่สุด 
            เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) เกิดปัญหาขาดแคลนเหรียญดีบุกและทองแดง เนื่องจากแร่ดีบุกและทองแดงมีราคาสูงขึ้นมากกว่าราคาที่ตราไว้บนหน้าเหรียญ จึงมีp3.11.jpgผู้หวังกำไรพากันหลอมเหรียญดีบุกและทองแดงทำเป็นแท่งส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาชั่วคราวระหว่างสั่งซื้อเครื่องจักรทำเหรียญกษาปณ์จากต่างประเทศ จึงจัดทำเงินกระดาษราคาต่ำ เรียกว่า อัฐกระดาษ ออกใช้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๗ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกับหมาย เนื่องจากเปื่อยยุ่ยง่าย และมีวัตถุประสงค์เพื่อออกใช้เป็นการชั่วคราว จึงได้ยกเลิกไปโดยปริยายในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ 


         
จะเห็นว่าเมื่อแนวความคิด เงินกระดาษ ได้เริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และได้รับการสานต่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ระยะแรกๆ แต่ยังไม่เป็นผล แนวคิดเช่นนี้ทำให้ลักษณะของ ทุนสำรองในคลังหลวง ก็เริ่มมีวัตถุประสงค์ที่กว้างออกไปจากเดิมเป็นการเก็บรักษาไว้ในยามจำเป็นเท่านั้น เมื่อมีเงินกระดาษเกิดขึ้นก็มีความจำเป็นต้องจัดเก็บเงินตราในท้องพระคลังเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อให้เพียงพอกับการแลกเปลี่ยนเงินกระดาษของราษฎร และด้วย เหตุนี้การเก็บรักษาทุนสำรองในคลังหลวงจึงเริ่มมีความหมายกว้างขึ้นโดยที่ไม่ทิ้งหลักการเดิมที่เก็บรักษาทุนสำรองไว้เพื่อความไม่ประมาทp3.15.jpgp3.14.jpg 
p3.16.jpg p3.13.jpgp3.12.jpg