๒๐ สนธิสัญญา IMF พาชาติดิ่งเหว
p20.1.jpg

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

           IMF หรือ International Monetary Fund คือองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยถือกำเนิดขึ้นจากการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference เมื่อปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) มีวัตถุประสงค์  เพื่อดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศ อันจะเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของการค้าโลก และเป็นพื้นฐานสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
                
IMF เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946)  มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี และมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ มีหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางการเงิน การค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ สร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยน ป้องกันการแข่งขันกันลดค่าเงินเพื่อชิงความได้เปรียบทางการค้า ให้ความสนับสนุนด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิก ในการปรับฐานะดุลการชำระเงินให้ดีขึ้น โดยไม่ต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้นและประเทศสมาชิกอื่น ๆ โดยส่วนรวม เป็นต้น
                
ถ้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว ก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกของ IMF ได้ และ เมื่อเป็นสมาชิก IMF แล้วก็จะได้ "โควตา" โดยจำนวนโควตาจะขึ้นกับขนาดของเศรษฐกิจและเงินสำรองของประเทศนั้นๆ เมื่อได้จำนวน "โควตา" ก็จะรู้ว่าประเทศนั้นๆ สามารถกู้เงินจาก IMF ไปได้จำนวนเท่าใด และ "โควตา" ก็ใช้เป็นหลักในการคิด "คะแนนเสียง" เช่นกัน
                
เงินทุนที่ IMF ใช้จะเรียกว่า "resources" หรือ "ทรัพยากร" (เงิน) ได้มาจากการชำระเงินค่าโควตาของประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ (ค่าสมาชิก)    แต่ว่า IMF ไม่ได้ให้กู้เงินเป็น US ดอลลาร์ โดยจะใช้หน่วยเงินเป็น SDR (Special Drawing Rights) คือ สิทธิพิเศษถอนเงินเป็นสินทรัพย์สำรองระหว่างประเทศ   (1 SDR ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 1.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ)

                                                          
การเข้าเป็นสมาชิก IMF ของประเทศไทย              
               ประเทศไทยเป็นสมาชิก
IMF เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 เป็นสมาชิกลำดับที่ 44 โดยมีโควตาปัจจุบันเท่ากับ 1,081.9 ล้าน SDR คะแนนเสียง 11,069 คะแนน หรือเทียบเท่ากับร้อยละ 0.52 ของคะแนนเสียงทั้งสิ้น  นับตั้งแต่เป็นสมาชิก IMF ประเทศไทยเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ตามโครงการเงินกู้ Stand-by รวม 5 ครั้งด้วยกันในวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,431 ล้าน SDR โดยเข้าโครงการ
Stand-by
                 1    ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2521 จำนวนเงิน 45.25 ล้าน SDR
                
2-4 ต่อมาในช่วงที่ไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2524 -2529 ประเทศไทยได้เข้าโครงการ Stand-by 3 ครั้ง รับจำนวนเงินทั้งหมด 1,486 ล้าน SDR
               
5    ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 ไทยได้รับความช่วยเหลือจาก IMF เพื่อใช้แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2,900 ล้าน SDR

                                                (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย )


            ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ การแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ ด้วยกำลังทหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ได้ลดลงอย่างมาก และเปลี่ยนแนวมาเป็นการรุกโดยอาศัยแนวทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม แม้ในช่วงแรกจะแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายสหรัฐอเมริกาซึ่งเรียกว่าฝ่ายโลกเสรีหรือฝ่ายทุนนิยม โดยมีสัมพันธภาพกับประเทศต่างๆ จำนวนมาก เช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส ประเทศแถบลาตินอเมริกา แถบตะวันออกกลาง รวมถึงในแถบเอเซีย ยกเว้นประเทศเวียดนาม พม่า และอีกฝ่ายหนึ่งคือ สหภาพโซเวียต ซึ่งเรียกว่าฝ่ายสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ โดยประกอบด้วยประเทศที่มีการปกครองในระบอบสังคมนิยมเหมือนกัน เช่น ประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก คือ เยอรมันตะวันออก เชคโกสโลวาเกีย โรมาเนีย โปแลนด์ ฯลฯ ประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาบางประเทศ เช่น คิวบา และเนื่องจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้แข่งขันกันสะสมอาวุธต่างๆ โดยเฉพาะระเบิดนิวเคลียร์ จึงเรียกบรรยากาศในยุคนี้ว่า สงครามเย็น
                           
ประเทศในกลุ่มโลกเสรีหรือทุนนิยมแตกต่างจากกลุ่มสังคมนิยม คือเอกชนสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ทำให้เกิดการแข่งขันในการผลิตและสะสมทุน ผลทำให้การพัฒนาประเทศในกลุ่มทุนนิยมเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มสังคมนิยมแล้วจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งในฝ่ายทุนนิยม และมีสัมพันธภาพอันดีกับสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ในกลุ่มทุนนิยมเช่นเดียวกัน
                
ประเทศไทยได้วางแผนการพัฒนาประเทศโดยเน้นให้ความสำคัญในด้านอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑ ซึ่งเริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ จึงจำเป็นต้องนำเข้าเทคโนโลยี เครื่องจักร รวมทั้งวัตถุดิบ ซึ่งต้องใช้ทุนเป็นจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันการสะสมเงินออมในประเทศมีไม่เพียงพอต่อการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องอาศัยเงินทุนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
               
การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๓๘ ก็พัฒนาได้ค่อนข้างจะต่อเนื่อง แต่การกระจายรายได้อย่างไม่เสมอภาคก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้น ซึ่งแม้กระนั้นประเทศไทยก็ยังยึดแนวทางในระบบทุนนิยมอย่างต่อเนื่องตลอดมา สำหรับการพัฒนาก็โดยอาศัยทุนจากต่างประเทศ และนำเข้าเทคโนโลยีต่างๆ การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่องในอัตราที่สูง การระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ก็เติบโตในอัตราสูงเช่นกัน จนทำให้ไทยได้รับการขนานนามว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICs) และเป็นเสือตัวที่ ๕ ของเอเชีย
                 
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๔ รัฐบาลได้พยายามเปิดเสรีทางการค้า ชักชวนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้โดยมีการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ และการเปิดให้มีสัมปทานสาธารณูปโภคต่าง ๆ ส่งผลให้มีเงินไหลเข้ามาประเทศไทยจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ต่อมารัฐบาลก็ได้พยายามที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ จึงได้มีมาตรการผ่อนคลายการควบคุมการแลกเปลี่ยนทางการเงินในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔ มีผลทำให้กระแสเงินตราต่างประเทศไหลเข้าออกในปริมาณที่มากขึ้น และผลักดันให้ระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยมีมาตรฐานสากล โดยให้ธนาคารดำรงเงินกองทุนตามมาตรฐาน BIS (Bank for International Settlemtents)  และในวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐบาลก็ได้ออกประกาศให้ธนาคารพาณิชย์ยื่นขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการวิเทศธนกิจ BIBFs (Bangkok International Banking Facilities) ได้
                
จากตารางด้านล่างแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่ประเทศไทยเปิดตลาดการเงินเป็นระบบเสรีที่เรียกว่า BIBFs ส่งผลให้การปล่อยกู้ของสถาบันการเงินไทยขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ กลับมีเงินฝากทั้งระบบของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ ๑๓ บ่งบอกถึงช่องว่างระหว่างเงินฝากกับสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีระยะกว้างมากขึ้นส่อเค้าอันตราย
การปล่อยสินเชื่อเมื่อเทียบกับปีก่อน
  พ.ศ.2536 (เริ่ม BIBFs) พ.ศ.2537 พ.ศ.2538
พ.ศ. 2535 ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อทั้งระบบ    2.18   ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% เพิ่มขึ้น 28% เพิ่มขึ้น 23%
บริษัทเงินทุน   เพิ่มขึ้น 37% เพิ่มขึ้น 23%
 

 





                
จากตารางด้านล่างแสดงลักษณะการปล่อยสินเชื่อของบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงปี พ.ศ. 2536-2538 บริษัทเงินทุนได้ปล่อยกู้ให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสินเชื่อส่วนบุคคลเมื่อรวมกันแล้วมีค่าสูงถึงประมาณร้อยละ ๕๐ และแม้จะล่วงเข้าปี พ.ศ. 2539 ก็ยังคงมีสัดส่วนที่สูงเช่นเดิม
 การปล่อยกู้ช่วงปี 2536 - 2538  บริษัทเงินทุน ธนาคารพาณิชย์
อสังหาริมทรัพย์ 25% 10%
การบริโภคส่วนบุคคล 24-29% 12-13%
 





              ตารางต่อไปนี้แสดงถึงปริมาณการกู้เงินภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีสถาบันและหน่วยงานภาคเอกชนได้กู้หนี้จากต่างประเทศด้วยอีกประมาณ
25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปี พ.ศ. 2536 – 2538 โดยหนี้ส่วนมากเป็นหนี้ระยะสั้นอีกด้วย ในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสินเชื่อส่วนบุคคลส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งไม่ใช่ภาคการผลิตที่แท้จริง ในส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นไม่สมดุลกับความต้องการของตลาด ทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ส่งผลกระทบถึงสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ทำให้ขาดสภาพคล่องไม่สามารถชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ต่างประเทศได้เช่นกัน
  พ.ศ.2535 พ.ศ.2536 พ.ศ.2539
การกู้เงินภาคเอกชน(ล้านเหรียญสหรัฐ) 43,621 52,107 90,536
 

     



            จากสาเหตุดังกล่าว กองทุนการเงินข้ามชาติภาคเอกชนที่แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินได้พยายามกดดันค่าเงินบาทให้อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พยายามรักษาค่าเงินบาทด้วยวิธีต่างๆ แต่ผลกลับปรากฏว่าทุนสำรองลดน้อยลง จนต้องประกาศให้ค่าเงินบาทที่ใช้ระบบตะกร้าเงินมาเป็นระบบลอยตัว ส่งผลให้ต้องเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทจาก ๒๕ บาท เป็น ๔๑ บาทต่อเหรียญสหรัฐโดยประมาณในระยะเวลาอันรวดเร็ว ผลกระทบที่ตามมาก็คือทำให้หนี้เงินกู้จากต่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และสถาบันการเงินหลายแห่งขาดสภาพคล่องจนกระทั่งต้องถูกสั่งปิดเป็นการถาวร ๕๖ แห่ง และยังส่งผลถึงธนาคารพาณิชย์อีก ๓ แห่ง ที่ถูกสั่งให้ลดทุนและอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นเสมือนการปิดกิจการเช่นกันเพียงแต่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐให้สามารถดำเนินการต่อไปได้โดยรัฐบาลค้ำประกันเงินฝากให้ 

 ผลกระทบยังไม่สิ้นสุดเพียงแค่นั้น ปัญหายังได้ส่งผลถึงสภาพคล่องของภาคธุรกิจด้วย และจากการที่ทุนสำรองลดลงอย่างมากทำให้รัฐบาลต้องขอรับการช่วยเหลือจาก IMF ในที่สุด และ IMF ก็ได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมากจากจุดนี้เป็นต้นไป
เหตุแห่งทาสในเรือนเบี้ย

              นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ไว้ว่า บทบาทของ IMF เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เสร็จสิ้นลง กล่าวได้ว่าเป็นแผนการของสหรัฐอเมริกาภายใต้การขับเคลื่อนของสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Council for Foreign Relations) ซึ่งเป็นองค์กรไม่เป็นทางการของผู้นำกลุ่มทุน และกลุ่มอำนาจต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา สำหรับการจัดตั้ง IMF ก็เพื่อจัดระเบียบการเงินและรักษาระดับค่าเงินตราของประเทศต่าง ๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน โดยการทำให้เงินสกุลดอลลาร์เป็นสกุลมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงทั่วโลก โดยสหรัฐอเมริกาให้เหตุผลว่า เงินปอนด์ของอังกฤษและเงินฟรังก์ของฝรั่งเศสที่เคยเป็นเงินสกุลหลัก มีปัญหาปรวนแปร อันเกิดจากการเสื่อมค่าในภาวะวิกฤตสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งไม่สมควรที่จะเป็นเงินสกุลหลักหรือเป็นมาตรฐานกลางของระบบการเงินโลกอีกต่อไปดังนั้นสหรัฐอเมริกาจึงได้วางแผนให้ทุกประเทศเทียบค่าของเงินตราของตนเองไว้กับค่าของดอลลาร์ และกำหนดให้ค่าดอลลาร์เทียบค่าไว้กับทองคำในอัตรา 1 ออนซ์ เท่ากับ 35 ดอลลาร์ (1 ออนซ์ = 28.35 กรัม) ด้วยหลักการเช่นนี้ จึงทำให้ค่าเงินตราของทุกประเทศเป็นค่า มาตรฐานทองคำโดยมีสหรัฐอเมริกาและ IMF ผลักดันให้ทุกประเทศใช้มาตรฐานนี้ติดต่อกันมา จนสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื่องจากการเงินของสหรัฐอเมริกาประสบภาวะวิกฤตเพราะผลิตดอลลาร์ออกมาใช้ในสงครามเวียตนามจำนวนมากเกินไป จนทำให้อัตราเทียบค่า 35 ดอลลาร์เท่ากับทองคำ 1 ออนซ์ ไม่เป็นจริง อย่างไรก็ตาม แม้ภารกิจหลักในการทำให้เงินตราทุกประเทศอิงค่าไว้กับทองคำได้สิ้นสุดลง แต่บทบาทของ IMF ในการจัดระเบียบและแทรกแซงระบบการเงินของโลกก็มิได้ยุติลงไปด้วย ซึ่งไทยก็เป็นชาติหนึ่งที่ตกเข้าสู่วังวนนี้

   โดยเฉพาะเมื่อไทยเข้ากระบวนการกู้ยืมเงินจาก IMF ก็เริ่มเกิดข้อผูกพันต่อชาติในทันที มีข้อตกลงเป็นสนธิสัญญาต่อกันต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ ในระยะเวลาที่ตีกรอบไว้ให้ โดยที่ประชาชนไม่อาจล่วงรู้รายละเอียดเหล่านี้ได้เลย ดังเช่นเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๑ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าแม้แต่นักการเมืองด้วยกันก็ยังไม่ทราบข้อตกลงหรือแม้แต่ในคณะรัฐมนตรีก็ยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำไปว่าเงื่อนไขเหล่านี้คืออะไร

p20.2.jpg  ตารางแสดงไทยเบิกจ่ายเงินกู้ จาก IMF รวม 12 งวด
งวดที่ วันที่ จำนวนเงิน (ล้าน SDR)(1 SDR = 1.33418 เหรียญสรอ.) เงื่อนไขและการปฏิบัติ
1 14 สิงหาคม   2540 1,200 คณะกรรมการบริหารกองทุน ฯ อนุมัติกู้
2 30  พฤศจิกายน  2540 600 ทำได้ตามเงื่อนไข  ทบทวนครั้งที่ 1
3 28  กุมภาพันธ์  2541 200 ทำได้ตามเงื่อนไข  ทบทวนครั้งที่ 2
4 31  พฤษภาคม  2541 100 ทำได้ตามเงื่อนไข  ทบทวนครั้งที่ 3
5 31  สิงหาคม  2541 100 ทำได้ตามเงื่อนไข  ทบทวนครั้งที่ 4
6 30  พฤศจิกายน  2541 100 ทำได้ตามเงื่อนไข  ทบทวนครั้งที่ 5
7 28  กุมภาพันธ์  2542 100 ทำได้ตามเงื่อนไข  ทบทวนครั้งที่ 6
8 31  พฤษภาคม  2542 100 ทำได้ตามเงื่อนไข
9 31  สิงหาคม  2542 100 ทำได้ตามเงื่อนไข  ทบทวนครั้งที่ 7
10 30  พฤศจิกายน  2542 100 ทำได้ตามเงื่อนไข
11 28  กุมภาพันธ์  2543 100 ทำได้ตามเงื่อนไข  ทบทวนครั้งที่ 8
12 31  พฤษภาคม  2543 100 ทำได้ตามเงื่อนไข
               หากมองย้อนถึงที่มาของวิกฤตที่เกิดขึ้นในไทยซึ่งทำให้ระบบเศรษฐกิจต้องพังพินาศในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นี้ กล่าวได้ว่าเพราะชนชั้นนำของไทยหลงใหลมายาตลาดเงินเสรีว่าจะทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการเงินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎข้อที่ ๘ ว่าด้วยการเปิดเสรีทางการเงินของ IMF นอกจากนี้ แม้ว่า IMF จะชอบเตือนและสั่งสอนรัฐบาลไทยอยู่เป็นประจำ แต่สิ่งหนึ่งที่ลืมเตือนไปก็คือ หากเปิดเสรีทางการเงินโดยที่ยังไม่พร้อม ประเทศไทยจะเผชิญหายนะที่รุนแรงดังเช่นที่หลายๆ ประเทศเคยประสบมาแล้วเมื่อเกิดวิกฤตฟองสบู่ ชนชั้นนำของไทยก็หลงคิดไปว่า หากยอมทำตามเงื่อนไขของ IMF แล้ว สงครามการเงินจะสิ้นสุดลง แต่ผลกลับตรงกันข้าม ค่าเงินไทยก็ยังคงตกต่ำลง โดยที่ IMF ไม่ได้ช่วยไทยเลยแม้แต่น้อย ไม่มีแม้แต่จะเจรจากับบรรดานักปั่นหุ้น นักปั่นเงินระดับโลก และกองทุนเก็งกำไรทั้งหลายให้หยุดทำลายค่าเงินไทย IMF กลับปล่อยให้ค่าเงินไทยถูกทำลายอยู่ต่อไปจนทุนสำรองแทบพังพินาศสิ้น  จากนั้นยังแนะนำทางรอดให้ไทยด้วยการให้ไทยกู้หนี้เพิ่มมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหนี้โดยที่ไม่มีใครตั้งคำถามต่อยุทธศาสตร์นี้เลยว่าเป็นการแก้ปัญหา หรือสร้างภาระหนี้ที่หนักหน่วงเพิ่มยิ่งขึ้น  

ตัวอย่างแสดงเงื่อนไขที่ไทยต้องปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตจำนงกับ IMF

 หนังสือแสดงเจตจำนงLetter of Intent  สาระสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินการด้านกฎหมาย
ฉบับที่ 1(14 สิงหาคม 2540) 1. ...2. ...3. ...
ฉบับที่ 2(24 พฤศจิกายน 2540) 1. ...2. ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเสนอให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายที่จำเป็น ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นบริษัทจำกัดภายในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๑ ...       สำหรับกฎหมายทางด้านการเงิน ก็ได้มีการทบทวนและแก้ไขส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว รวมทั้งจะได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติเงินตรา เพื่อให้การออกกฎหมายสำหรับการดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทยทันสมัยขึ้น ...
ฉบับที่ 3(28 กุมภาพันธ์ 2541) 1. ...2. ...3. ...
    
              นอกจากนี้หากค้นหาความจริงของประเทศต่างๆ ซึ่งด้อยพัฒนากว่าประเทศไทย และต้องขึ้นต่อแนวนโยบายและเงื่อนไขของ IMF ปรากฏว่า ไม่มีแม้แต่ประเทศเดียวที่สามารถพัฒนาขึ้นกลายเป็นประเทศที่รุ่งเรืองได้ อย่างเช่น ประเทศเม็กซิโก ที่ IMF อ้างว่าพ้นวิกฤต และข่าวสารตะวันตกสร้างภาพว่าพ้นวิกฤตแล้ว เพราะสามารถจ่ายเงินกู้อเมริกาได้ แต่ที่แท้ก็คือการสร้างภาพมายา เพราะเงินที่ใช้คืนก็คือเงินที่ไปกู้มาใหม่กรณีโปแลนด์ หลังจากที่นายทุนต่างชาติเข้ายึดครอง กิจการขนาดใหญ่ก็สามารถทำกำไรได้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจอีกช่วงหนึ่ง ข่าวสารตะวันตกก็ออกข่าวสร้างภาพความรุ่งเรืองครั้งใหม่ แต่ทุนไร้พรมแดนที่ไปลงทุนส่วนใหญ่ไม่ใช่ทุนที่ลงทุนทำการผลิตจริง แต่เป็นทุนเก็งกำไร ผลที่ตามมาคือฟองสบู่ทางเศรษฐกิจ โปแลนด์ได้เผชิญวิกฤตครั้งใหม่ที่หนักกว่าเดิม นอกจากนี้นโยบายของ IMF ยังก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในหลายประเทศเช่น เวเนซูเอล่า โมร็อคโค อินเดีย โบลิเวีย จนกระทั่งนักวิชาการประเทศโลกที่สาม เรียกสงครามนี้ว่าการลุกขึ้นสู้ IMF (IMF Riots) ซึ่งเกิดจากแนวทางของ IMF ได้ผลักหายนะทางเศรษฐกิจไปสู่ประชาชนที่ยากจน p20.3.jpg

 

 
(ซ้าย) ความล่มสลายทางเศรษฐกิจของอาเจนตินา  ทำให้ประชาชนนับแสนรวมตัวประท้วงรัฐบาลเมื่อปี พ.ศ. 2545(ขวา) ธนบัตรที่แสดงให้เห็นถึงค่าเงินที่ตกต่ำของอาร์เจนตินา

                หากพิจารณารูปแบบของสงครามหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้เปลี่ยนจากสงครามที่ใช้กำลังกองทัพเข้าทำลายกัน สู่สงครามเย็นหรือสงครามด้านข่าวสารและการโฆษณาชวนเชื่อ เพราะทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง ทำให้อเมริกามีการวางแนวยุทธศาสตร์ใหม่ มีเป้าหมายใหญ่คือการดำรงฐานะการนำสูงสุดของอเมริกาในเวทีทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองไว้ ยุคหลังสงครามเย็นจึงกลายเป็นสงครามแบบใหม่ เป้าหมายไม่ใช่ยึดอาณาเขตเป็นสำคัญ แต่คือการยึดพื้นที่ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมือง และสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไปของสภาวะสงคราม คือการปล้นชิงความมั่งคั่ง ผู้ชนะคือผู้ได้มาซึ่งความมั่งคั่งร่ำรวยจากการครอบครองเหนือตลาดเหนือการผลิต และเหนือวัฒนธรรมการบริโภคการดำเนินชีวิตสำหรับผู้แพ้สงครามก็คือผู้ตกเป็นทาส ทาสที่เกือบจะไม่มีทางปลดปล่อยตัวเองได้ ทาสที่มีชีวิตอยู่กับหายนะที่รุนแรงและหนักหน่วงและเป็นหายนะที่ยาวนาน เพราะประเทศที่แพ้สงครามต้องตกเป็นทาสเงินกู้ ประชาชนมีชีวิตอยู่เพื่อหาเงินมาใช้หนี้ หนี้ที่มีแต่ขยายตัวและเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ไม่จบสิ้น และเมื่อประเทศใดทำสนธิสัญญากับ IMF ก็เหมือนกับว่าได้ก้าวเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็นทาสเรียบร้อยแล้ว โดยประเทศผู้กู้ จะถูก IMF เข้าไปจัดการกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้ประเทศผู้กู้ทำตาม และเนื่องจาก IMF เกิดจากการลงขันถือหุ้นของประเทศมหาอำนาจ และมีสมาชิกขยายไปทั่วโลก โดยใช้หลักการหุ้นใหญ่ออกเสียงได้มาก หุ้นน้อยออกเสียงได้น้อย ทำให้มติของ IMF จึงถูกครอบงำโดยประเทศมหาอำนาจเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา และมักมีบทบาทในการจัดระเบียบและเข้าแทรกแซงระบบการเงินของโลกและประเทศสมาชิกp20.4.jpg ด้วยการเข้าครอบงำเช่นนี้ทำให้กฎเกณฑ์ข้อแนะนำหลายๆ ครั้งของ IMF มักไม่ได้คำนึงถึงความเหมาะสมและข้อจำกัดของประเทศผู้กู้ กลายเป็นการซ้ำเติมประเทศผู้กู้ให้ได้รับความเสียหายถึงขั้นวิกฤตร้ายแรง ทั้งรัฐบาลและเอกชนของประเทศนั้นๆ ต้องประสบปัญหาล้มละลาย ต้องขายทรัพย์สินให้ต่างชาติ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้สินให้แก่ IMF และหนี้อื่นๆ โดยแปรรูปรัฐวิสาหกิจสำหรับภาครัฐ ส่วนภาคเอกชนนอกจากการบีบให้ขายหุ้นแล้วยังอาจบังคับให้ขายทรัพย์สินโดยตรง p20.5.jpgเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามากวาดซื้อทรัพย์สินเลหลังถูกๆ ไปเป็นของต่างชาติ หรือให้เปิดเสรีทางการค้าอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุนข้ามชาติสามารถเปิดดำเนินกิจการต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ ในด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนก็ย่ำแย่ลงเมื่อเปรียบเทียบกับยุคที่ยังไม่ได้รับเงื่อนไขของ IMF มาปฏิบัติ ภาวะแห่งความเป็นทาสทางเศรษฐกิจเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในหลายประเทศ ทั้งใน เม็กซิโก อาเจนตินา ซิลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ฯลฯ ซึ่งต้องเสียเอกราชทางเศรษฐกิจหลายๆ ส่วนไปให้ต่างชาติในที่สุดเมื่อพิจารณาถึงวิกฤตการณ์ของประเทศต่างๆ นำมาเทียบเคียงกับวิกฤตการณ์ของประเทศไทยจะเห็นได้ว่า แม้ต้นเหตุและปัญหาจะต่างกันไป แต่เมื่อได้เข้าสู่กระบวนการพึ่งพา IMF โดยกู้ยืมและทำสนธิสัญญาผูกพันรัฐบาลให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของ IMF แล้ว ผลปรากฏว่า ปัญหาซึ่งเดิมก็หนักอยู่แล้วกลับยิ่งถูกกระหน่ำซ้ำเติมให้ดิ่งลงเหวยิ่งขึ้น กรณีของประเทศไทยก็เช่นกัน หลังการกู้ IMF ทางการไทยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ยกตัวอย่างเช่น§ การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การตัดรายจ่ายเกี่ยวกับสวัสดิการต่างๆ รวมถึงการศึกษา วิจัย และรายจ่ายที่ไม่เกิดผลผลิต§ ให้ไทยเปิดตลาดเป็นระบบการค้าเสรีอย่างเต็มที่ กดดันให้ลดภาษี ลดข้อจำกัดในด้านการลงทุนทั้งส่วนที่เกี่ยวกับสัดส่วนผู้ถือหุ้น อีกทั้งสินค้าที่มีการผูกขาดก็ให้มีการแข่งขันอย่างเสรี§ กำหนดให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุนต่างชาติมีโอกาสในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อเข้าบริหารกิจการรัฐวิสาหกิจได้อย่างเต็มที่ และให้ขึ้นค่าสาธารณูปโภคให้สูงกว่าต้นทุน เพื่อทำกำไรหลังจากที่ทุนต่างชาติเข้าซื้อหุ้นแล้ว เรียกว่าทำสินค้าให้มีราคาดี แต่เอากิจการไปขายถูกให้ต่างชาติ§ ให้ไทยปฏิรูปกฎหมายเพื่อรองรับในการเข้ามาลงทุน เช่น การถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ การลดระยะเวลายึดทรัพย์ในส่วนของกฎหมายล้มละลาย ฯลฯ§ ให้ไทยยุบทุนสำรองเงินตราหรือคลังหลวงซึ่งเป็นปราการด่านสุดท้ายของค่าเงินบาทไทยไปรวมกับทุนสำรองของธนาคารแห่งประเทศ เรียก การรวมบัญชี โดยอ้างว่าเพื่อความคล่องตัวในการบริหารทุนสำรอง แต่ถ้าหากไทยถูกโจมตีค่าเงินอีกครั้งจะล้มละลายในทันที และกิจการต่างๆ ในประเทศจะถูกทุนต่างชาติเข้าครอบครองจนหมดสิ้น เป็นการสูญเสียเอกราชอย่างแท้จริงจะเห็นได้ว่า เงื่อนไขหลายประการส่งผลกระทบต่อประชาชนคนไทยเป็นอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมเป็นวงกว้างโดย IMF ไม่คำนึงถึงปัจจัยด้านสังคม รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนาหรือขนบประเพณีแต่อย่างใดเลย  IMF เห็นความสำคัญเฉพาะเรื่องเงิน ทุน การลงทุน รายได้ กำไร ฯลฯ เป็นสำคัญ และโดยมากเป็นการสร้างความได้เปรียบและเอื้อประโยชน์เฉพาะทุนต่างชาติ ขณะที่ชาติเหล่านั้นค่อยๆ อัปปางและจมดิ่งลงไปเรื่อยๆ
              ดังนั้นนักวิชาการชั้นนำหลายท่านจึงตั้งข้อสังเกตถึงวิกฤตการณ์ในไทยครั้งนี้ว่า  IMF มีส่วนสำคัญยิ่งในการล่อหลอกประเทศไทยให้หลงกลมายา หลงแสงสี และยอมตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ ตามคำแนะนำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน กฎเกณฑ์เหล่านั้นเหมือนเกลียวเชือกที่ ผูกเงื่อนมัดตนเองไปทีละเงื่อนๆ เมื่อแน่นหนามากเข้าจนไม่อาจไหวติงได้แล้ว ก็ต้องหันไปพึ่ง IMF ซึ่งคิดว่าช่วยแก้ปมเหล่านั้นได้ หารู้ไม่ว่าเงื่อนที่มัดแน่นหนาเหล่านั้นก็มาจากกฎระเบียบที่ IMF ได้วางกลหลอกล่อเอาไว้ และเมื่อไทยต้องกู้และพึ่งกระบวนการของ IMF อย่างเต็มที่แล้ว ไทยก็กลับต้องเผชิญกับปัญหานานาประการ และมีข้อเสียเปรียบมากp20.6.jpgยิ่งขึ้น ในขณะที่คำแนะนำของ IMF กลับเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ทุนต่างชาติมากยิ่งกว่าแม้นักวิชาการจะวิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งความผิดพลาดของไทยอันสัมพันธ์กับคำแนะนำของ IMF ได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ” (ศปร.) ซึ่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยรัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง ก็ได้ให้บทสรุปในเรื่องนี้ไว้เช่นกันว่า วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นับได้ว่าร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทย ต้นเหตุของวิกฤตในครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนๆ ตรงที่มีสาเหตุมาจากภายในประเทศทั้งสิ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เราเป็นผู้สร้างปัญหาให้แก่ตัวเราเอง การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะ ๒-๓ ปีก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น แม้ทางการจะมองเห็นปัญหาแต่ขาดความเด็ดขาดในการกำหนดมาตรการที่จะป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น และเมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้วก็ยังขาดความกล้าหาญที่จะใช้มาตรการที่อาจไม่เป็นที่นิยมในทางการเมืองเข้าแก้ปัญหาดังกล่าว มาตรการที่ใช้ ไม่ว่าในกรณีของการแทรกแซงปกป้องค่าเงินบาท หรือการใช้เงินของกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินจึงเป็นเพียงการซื้อเวลาให้กับตนไประยะเวลาหนึ่งเท่านั้น การกระทำดังกล่าวเป็นการซื้อเวลาที่มีต้นทุนสูงมากเพราะในที่สุดจะมีผลกระทบกลายเป็นภาระที่หนักของภาคธุรกิจและประชาชนทั่วประเทศในอนาคตที่ยาวนานp20.7.jpg