๒๕ แนวคิดออกกฎหมายรวมบัญชี ๒๕๔๓
p25.4.jpg          ในอดีตพระมหาบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าทรงก่อตั้ง ทุนสำรอง ขึ้นโดยแบ่งเงินออกมาจาก คลังหลวงซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นหลักประกันของชาติในการติดต่อระหว่างประเทศ เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของชาติ และเพื่อสำรองไว้ในยามจำเป็น พระองค์จึงทรงเก็บรักษาไว้เป็นกรณีพิเศษ มิให้ปะปนกับทรัพย์อื่นใดในแผ่นดินทั้งสิ้น หลักการและเจตนารมณ์ดังกล่าวได้รับการสืบทอดมาอย่างเคร่งครัด รุ่นแล้วรุ่นเล่า ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว บรรพบุรุษท่านก็พากันดำเนินตามหลักการนี้เช่นกัน กฎหมายทุกฉบับที่ตราไว้ล้วนแล้วแต่รองรับหลักการและเจตนารมณ์นี้ ถึงขนาดที่ว่า เกิดวิกฤตการณ์บ้านเมืองหลายต่อหลายครั้ง ท่านก็ไม่เคยเข้ามาแตะต้องหรือทำลาย คลังหลวง ให้แปรเปลี่ยนไป กล่าวได้ว่า ท่านใช้ความไม่ประมาทเป็นหลักธรรมในการปกครองประเทศ ท่านจึงเห็นความสำคัญของ คลังหลวง และดูแลรักษา คลังหลวง เป็นกรณีพิเศษ  ความประมาทของนักการเงินการคลัง ชาติหายนะ

          มาในระยะหลัง ความคิดเห็นของคนยุคนี้เริ่มเปลี่ยนไป เริ่มดูถูกความคิดของบรรพชนว่าล้าหลังคร่ำครึ การเก็บเงินเก็บทองทำให้จม ไร้คุณค่า ไม่จำเป็นต้องเก็บสินทรัพย์ไว้มากเป็นการเสียโอกาสที่จะได้ผลตอบแทน ควรนำไปแสวงหาประโยชน์ หรือไม่ก็กล่าวถึงขนาดว่า ไม่จำเป็นต้องมี ทุนสำรอง ก็ได้ ไม่มีความจำเป็นอะไร ฯลฯ ความรู้สมัยใหม่ที่ไม่เท่าทันเหล่านี้เริ่มก้าวล่วงเข้ามาทำลายหลักการและเจตนารมณ์ของ คลังหลวง เข้าไปทุกทีแล้ว ประหนึ่งว่าการสะสมเงินทองไว้นั้นไม่มีคุณค่าอะไรเลย          คนกลุ่มนี้ดูถูกเงินจำนวนน้อยๆ โดยเฉพาะหากใครพยายามเก็บเล็กผสมน้อย คนกลุ่มนี้จะดูถูกว่าไร้สาระและมองเงินจำนวนน้อยนี้ว่าเป็นเงินไร้ค่าทันที  มักจะพูดแบบนักวิชาการผู้ฉลาดปราชญ์เปรื่องว่า เงินแค่น้อยนิดนี้จะทำอะไรได้ แต่ก็น่าประหลาดใจที่ในขณะเดียวกัน คนกลุ่มนี้มักเห็นพ้องต้องกันว่า ควรเข้าไปล้วงเอาเงินใน คลังหลวง ออกมาใช้ และอ้างว่าไม่ควรเก็บไว้เฉยๆ เพราะได้ดอกผลน้อยเกินไป ถ้าเอาไปลงทุนจะได้กำไรดีกว่านี้ ทั้งๆ ที่ก็ทราบกันดีว่าเงินใน คลังหลวง จำนวนมากจนอยากได้นี้แรกเริ่มเดิมทีก็เกิดจากเงินจำนวนน้อยที่ค่อยสะสมกันมาแบบมีวินัยไม่ให้ใครมาแตะต้องจนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นๆ ทำให้เงินบาทเรามั่นคงอยู่ได้ก็จากเงินคลังหลวงนี้เป็นสำคัญ 

 p25.1.jpg

 

ความคิดดังกล่าวเหมือนกับการไม่ยอมรับในกฎอนิจจังตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จึงไม่เคยคิดอีกด้านหนึ่งบ้างว่า หากเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ให้ผลลัพธ์เป็นตรงกันข้ามขึ้นมาแล้วอาจทำให้ชาติล้มละลายในทันทีได้หรือไม่ หากใครคิดแบบนี้เขาเหล่านั้นจะดูถูกเพราะเขาคิดเป็นอย่างเดียวว่า ไม่มีทาง เอาไปลงทุนแล้วต้องได้ ได้ ไม่เคยคิดว่า ถ้าผลไม่เป็นเช่นนั้นแล้วจะเสียหายหรือไม่ หรืออาจถึงขั้นจมเลยก็เป็นได้ ดังตัวอย่างคราว วิกฤตเศรษฐกิจ ๒๕๔๐ที่เพิ่งผ่านมาไม่นานนี้แนวคิดเช่นนี้มีทั้งข้าราชการ พนักงาน นักธุรกิจ นายธนาคาร ตลอดจนนักวิชาการซึ่งต่างก็ทราบกันดีว่า คลังหลวง จำนวนมากนี้ก็เริ่มสะสมมาจากเงินจำนวนน้อยนิด มีดอกผลก็ไม่มากนัก แต่อาศัยที่บรรพบุรุษท่านมีวินัยเคร่งครัด ไม่ยอมให้ใครเข้ามาแตะต้องจึงมั่นคงปลอดภัยมาถึงทุกวันนี้ ครั้นเห็นว่าคลังหลวงมีจำนวนมากคนเหล่านั้นก็เริ่มเกิดความอยากได้ขึ้นมา เริ่มหาอุบายพูดว่า

ไม่ควรเก็บไว้เฉยๆ ทำให้เงินจมเปล่าๆ ควรเอาไปลงทุนให้ได้ดอกผลมากกว่านี้ สมัยนี้เขาไม่เก็บทุนสำรองกันแล้ว เขาเอาไปทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่เสี่ยง ปลอดภัย ดอกผลดีกว่า ฯลฯp25.2.jpg 

คนที่คิดในลักษณะนี้จะพยายามใช้ศัพท์เทคนิคและเหตุผลทางวิชาการสารพัดอย่าง และดูถูกว่าคนที่ปฏิบัติตามแนวทางของบรรพบุรุษเป็นคนไม่รู้วิชาการ คร่ำครึ  หลักวิชาสมัยใหม่เขาไม่เก็บรักษาไว้แล้ว ทองคำก็ไม่ต้องเก็บ ทุนสำรองก็ไม่ต้องเก็บ หากเก็บก็ไม่ต้องมีมาก ฯลฯ คนกลุ่มนี้ไม่มีความพากเพียรเหมือนบรรพบุรุษ ไม่รู้จักเก็บออมเพื่อวันหน้า ดูถูกการเก็บ ดูถูกบรรพบุรุษ คนประเภทนี้หาเงินด้วยตัวเองไม่เป็น ทำเป็นอย่างเดียวคือการใช้เงิน และมักเอาเงินผู้อื่นมาใช้ ซึ่งทำให้ประชาชนอดคิดไม่ได้ว่า ไม่มีปัญญาหาเงินมาเองหรือ ถ้าอยากใช้อยากลงทุนให้ได้ดอกผลอย่างที่พูดไว้ก็ใช้สติปัญญาที่ร่ำเรียนมาหาเงินเองไม่ได้หรือ และเงินที่หามาด้วยน้ำพักน้ำแรงตนเองนี้จะเอาไปลงทุนที่ใดที่คิดว่าจะได้กำไรสูง ประชาชนก็จะไม่ว่าอะไร มีแต่จะอนุโมทนายินดีด้วย ในทางตรงข้าม คนกลุ่มนี้มีแต่จ้องจะเข้ามาเอาเงินของบรรพบุรุษไปใช้ ไปลงทุน ที่ถูกต้องแล้วควรปฏิบัติตามแนวทางของบรรพบุรุษด้วยการเก็บหอมรอมริบทีละน้อยไปเรื่อยอย่างมั่นคง ให้รู้ว่าเงินที่ควรใช้อยู่ที่ใด หน่วยงานใด ให้รู้ว่าเงินที่ควรเก็บรักษาอยู่ที่ใด หน่วยงานใด ให้รู้จักแยกแยะตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้ง อย่าใช้วิชาความรู้แบบคับแคบไม่ดูความเป็นมาให้รอบด้าน อย่าใช้วิชาความรู้ด้วยความโลภ โกรธ หลง หรือด้วยทิฎฐิมานะ เมื่อดำเนินตามแนวทางแห่งความไม่ประมาทเช่นนี้ แม้ชาติจะเผชิญวิกฤตการณ์หนักหนาเพียงใดก็ย่อมจะมีหนทางออกให้ปัญหาเหล่านั้นผ่านพ้นไปได้อย่างปลอดภัยหากวิเคราะห์ถึงแนวคิดดังกล่าวว่าเหตุใดจึงมีความแตกต่างจากบรรพบุรุษมากนัก อธิบายได้ว่า เนื่องจากลักษณะการมองปัญหาไม่รอบด้าน มองมุมเดียวตามหลักวิชาที่เรียนมาเฉพาะด้าน ไม่เข้าใจไม่มองภาพรวมในเรื่องของศาสนา ขนบประเพณี สังคมไทย ซึ่งมีลักษณะp25.3.jpg นิสัย ค่านิยมเฉพาะซึ่งต่างจากชาติอื่น หรืออีกเหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะมีอคติไม่ใช้หลักวิชาที่แท้จริงจากข้อเขียนของดร.วีระพงษ์ รามางกูร ได้กล่าวถึงดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่นักเศรษฐศาสตร์นักการเงินการคลังว่า          ...เรื่องราวทั้งหลายที่เกิดขึ้นในแวดวงการเงินการคลังในขณะนี้ อาจารย์ป๋วยได้เคยเล่าให้ฟัง  หรือเคยสั่งสอนพวกเรานักเศรษฐศาสตร์รุ่นผม(ดร.วีรพงษ์ รามางกูร) มาหมดแล้ว  จนนักเศรษฐศาสตร์รุ่นผมถือว่าท่านเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของนักเศรษฐศาสตร์ไทยสิ่งที่ฟังอาจารย์ป๋วยพร่ำสอนและเล่าให้ฟังกำลังเกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อในเมืองไทย  เมืองที่ท่านรักที่สุดในชีวิต            อาจารย์ป๋วยเมื่อรู้ว่าผมกำลังเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์โดยเปลี่ยนจากการเรียนวิชาการปกครองขั้นปริญญาตรี ท่านก็บอกว่าดีแล้ว อยากให้มีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีพื้นฐานทางรัฐศาสตร์  ประวัติศาสตร์ และอื่นๆบ้าง          วิชาเศรษฐศาสตร์นี้สามารถนำมาใช้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมอย่างอนันต์  แต่ก็อาจจะก่อให้เกิดโทษอย่างมหันต์แก่ประเทศชาติได้เหมือนกัน สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่มีจรรยาบรรณ  และไม่ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของตน           ไม่เหมือนกับวิชาชีพอื่น  เช่น  นักบัญชีลงบัญชีผิดพลาดก็จะเสียหายแก่บริษัทเดียวหรือหลายบริษัทที่ตนทำงานให้ เป็นวิศวกรผิดพลาดตึกก็อาจจะถล่ม มีคนตายบ้าง หรือสะพานขาดบ้าง เป็นหมอรักษาคนไข้ผิดพลาดก็อาจจะทำคนตายคนหรือสองคน เป็นต้น  p25.4.jpg เมื่อสังคมพบว่าผิดพลาดเขาก็จะขจัดออกไป  ต่อไปเขาก็ไม่ให้ทำ     ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ทำผิดพลาด  บ้านเมืองอาจจะล่มจม  ล้มละลาย  ผู้คนตกงาน  มีความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส  มีคนฆ่าตัวตาย  เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุม  เกิดความปั่นป่วนทางการเมืองและสังคม  กว่าจะแก้ไขได้ก็หลายปี          สาเหตุของความผิดพลาดก็มักจะเกิดจากความไม่ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพและจรรยาบรรณ  มักจะเกิดจากความโลภ  โกรธ  หลง  และความกลัวอันเป็นบ่อเกิดแห่งอวิชชา  ดังนั้นปัญญาจึงไม่เกิด          โลภก็เช่น  โลภอยากได้ตำแหน่ง  โลภอยากได้อำนาจ  โลภอยากได้เงิน  โลภอยากให้นายรัก  เป็นต้น  โกรธก็เช่น  โกรธว่าเขาจะมาใส่ร้ายตัว  โกรธนึกว่าเขาว่าตัว  เลยไม่ได้ดูเนื้อหาว่าเขาว่าอะไร  หลงก็เช่น  หลงไปว่าตนเป็นอธิบดีแล้วลูกน้องเตือนไม่ได้  ถือว่าเสียหน้า  หรือหลงไปว่าอำนาจวาสนานั้นเป็นของที่สุดในชีวิต  ต้องเอาให้ได้  กลัวก็เช่น  กลัวจะไม่ได้เป็นใหญ่  กลัวคนอื่นจะแซงหน้า  และที่สำคัญที่สุดก็คือ  กลัวจะหลุดจากตำแหน่ง          ท่านย้ำว่า ถ้ารู้สึกตัวว่ามีอารมณ์อย่างนี้อยู่อย่าริอ่านทำงานใหญ่ให้บ้านเมือง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกลัว  เพราะจะเกิดอวิชชา  ปัญญาก็ไม่เกิด  เมื่อปัญญาไม่เกิด  ความมีจรรยาบรรณและความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพทางเศรษฐศาสตร์ก็จะหมดไป...หากคนยุคนี้ดำเนินตามแนวทางของบรรพบุรุษโดยยึดถือความไม่ประมาทเป็นหลักธรรมในการดูแลทรัพย์สมบัติของชาติด้วยดีแล้ว ปัญหาต่างๆ ในบ้านเมืองจักต้องลดลงไปอย่างมากทีเดียว เพื่อมองให้เห็นภาพจึงมีผู้เปรียบความสำคัญของ ทุนสำรอง เหมือนกับเป็น เครื่องปั่นไฟฉุกเฉินของโรงพยาบาลหากไฟฟ้าดับลงจะเป็นอันตรายต่อชีวิตคนไข้จำนวนมากในโรงพยาบาล ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเครื่องปั่นไฟทำหน้าที่แทนนานตราบเท่าที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ คลังหลวงก็มีความสำคัญระดับเดียวกันนี้ เห็นได้ชัดเจนเมื่อคราวเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ.  ๒๕๔๐ เมื่อทุนสำรองของชาติมีน้อยมากทำให้ค่าเงินบาทตกลงในทันทีจนเกือบจะกลายเป็นเศษกระดาษ การที่เงินบาทยังมีค่าอยู่บ้างในเวลานั้นก็เพราะยังมีเงิน คลังหลวง ทำหน้าที่เป็น เครื่องสำรองไฟฉุกเฉินในโรงพยาบาล ค้ำไว้อีกชั้นหนึ่ง เป็นการป้องกันมิให้ไฟฟ้าในโรงพยาบาลต้องดับพรึบลงไปอย่างกะทันหันตั้งตัวไม่ทัน จากนั้นคลังหลวงก็ยังทำหน้าที่เป็นเครื่องปั่นไฟหล่อเลี้ยงชีวิตผู้ป่วยเอาไว้ได้  เป็นการรองรับเหตุการณ์ไว้เป็นชั้นที่สองจนกว่าจะแก้ไขปัญหาไฟดับให้ผ่านไปได้ ในยามที่ชาติล้มป่วยลงจากวิกฤตเศรษฐกิจก็เช่นกัน ก็ได้อาศัยทุนสำรองของคลังหลวงทำหน้าที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาติเอาไว้มิให้สูญสิ้นไป   ร่างพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย และร่างพ.ร.บ.เงินตรา ปี ๒๕๔๓แม้จะผ่านการพิสูจน์มาหลายครั้งหลายหนแล้วว่า คลังหลวง ช่วยรักษาเอกราชของชาติเอาไว้ได้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีแนวคิดอีกด้านหนึ่งที่มองไม่เห็นความสำคัญเช่นว่านี้ และมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะทำลายหลักการนี้ให้สูญสิ้นไป ตัวอย่างความคิดทำลายหลักการของ คลังหลวง ที่ประจักษ์ชัดที่สุด คือ ร่างกฎหมายรวมบัญชี อันประกอบไปด้วยร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ๒ ฉบับ ได้แก่ ๑. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... โดยอ้างว่าเพื่อให้การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศทั้งหมด เป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงกำหนดให้   o      รวมบัญชีการดำเนินงานของฝ่ายการธนาคาร และ ฝ่ายออกบัตรธนาคารเข้าด้วยกัน    o   รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา  มาเป็นสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารแห่งประเทศไทย          ๒. ร่างพระราชบัญญัติเงินตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  โดยอ้างว่าเพื่อให้การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศทั้งหมดของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ดุลการชำระเงินของประเทศและเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ลงทุนต่างประเทศ จึงกำหนดให้o   ให้ยกเลิกหมวด ๓ ทุนสำรองเงินตรา โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำรงสินทรัพย์เพื่อการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของธนบัตรแทนo   โอนบรรดาสินทรัพย์และหนี้สินในบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา ไปรวมเข้ากับสินทรัพย์และหนี้สินอื่น ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย จะเห็นได้ชัดเจนว่าสาระสำคัญของร่างกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับนี้เป็นการทำลายรากฐานความคิดของบูรพกษัตริย์และบรรพบุรุษด้วยการปล้นเอาสมบัติทั้งหมดในคลังหลวงยกให้เป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยไม่นึกถึงความยากลำบากของบรรพบุรุษที่กว่าจะเก็บสะสมมาได้ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหารายละเอียดที่บ่งบอกว่าจะเอาคลังหลวงของบรรพบุรุษมาแบ่งกันกินกันใช้ระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นอีกด้วย

แนวความคิดดังกล่าวนี้นอกจากจะเป็นการปล้นเอาสมบัติผู้อื่นโดยขาดความเคารพขาดความกตัญญูรู้คุณท่านแล้ว ยังบ่งบอกถึงการใช้หลักวิชาการเงินการคลังที่ผิดธรรม เนื่องจากไม่ตระหนักถึงความจำเป็นของชาติที่ต้องเก็บรักษาทรัพย์ของแผ่นดินสำรองไว้ใช้ในยามคับขันจึงเป็นแนวคิดที่ประมาทและจะนำพาชาติสู่ความหายนะได้ในไม่ช้านี้อย่างแน่นอน

ความพยายามในการตรากฎหมายรวมบัญชี

วันที่ เหตุการณ์
25 พฤศจิกายน 2540   รัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทำหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ ๒ กับ IMF ว่าจะแก้ไขพระราชบัญญัติเงินตรา โดยอ้างว่าเพื่อให้การดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทยทันสมัยขึ้น
 31  มีนาคม  2541   ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  ที่ ธปท.ชบ. 1259/2541  เรียนแนวทางการรวมบัญชีของฝ่ายการธนาคาร และ ฝ่ายออกบัตรธนาคารเข้าด้วยกัน   เพื่อนำกำไรจากฝ่ายออกบัตรธนาคารมาชดเชยผลขาดทุนของฝ่ายการธนาคารแทนการให้รัฐบาลชดเชยผลขาดทุนดังกล่าว  และเพื่อช่วยให้การบริหารสินทรัพย์ต่างประเทศของ ธปท. มีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น
 4  สิงหาคม  2541 ธปท. ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ ธปท.นต.  2771/2541 เพื่อเสนอร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย  พ.ศ. 2485  และ พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501  เพื่อรองรับการรวมบัญชีของฝ่ายการธนาคาร และ ฝ่ายออกบัตรธนาคารเข้าด้วยกัน
 5  ตุลาคม  2541 กระทรวงการคลังได้มีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ กค. 0303/29807 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย  พุทธศักราช 2485  และ พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501  ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรวมบัญชีของฝ่ายออกบัตรธนาคารกับฝ่ายการธนาคารเข้าด้วยกันตามที่ ธปท. เสนอ
 13  ตุลาคม  2541 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ...) พ.ศ....  และร่างพระราชบัญญัติเงินตรา  (ฉบับที่ ...)  พ.ศ....  ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และ ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
 29  ธันวาคม  2541 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ.... และ ร่างพระราชบัญญัติเงินตรา  (ฉบับที่...) พ.ศ.... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
 22  มีนาคม  2542 กระทรวงการคลังได้มีหนังสือ ที่  กค.0303/5678 ส่งเรื่อง การรวมบัญชีกลับคืนไปให้ ธปท. พิจารณาทบทวน  โดยเห็นว่าในเรื่องการรวมบัญชีนั้นควรให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2542 เนื่องจากวันที่ร่างพระราชบัญญัติฯ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบนั้นจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันทื่  31  ธันวาคม  2541  ซึ่งได้พ้นกำหนดเวลาไปแล้ว  ประกอบกับกระทรวงการคลังได้ทราบว่า  ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังดำเนินการปรับโครงสร้างภายในอยู่และจะมีการแก้ไบกฎหมายด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่มเติม อันเป็นโอกาสที่จะได้รวมเรื่องการรวมบัญชีและการปรับโครงสร้างธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าด้วยกันในการการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน
 30  มิถุนายน  2542 ธปท.ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ธปท.ม.2377/2542 เสนอร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ...และพระราชบัญญัติเงินตรา (ฉบับที่ ...) พ.ศ.... ที่ ธปท. ได้แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องการรวมบัญชีและการปรับโครงสร้างไปพร้อมกันมาเพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อตราเป็นกฎหมายต่อไป
10  กุมภาพันธ์ 2543 กระทรวงการคลังได้มีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ กค.0319/3027 เสนอร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ....และร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องอีก 4 ฉบับ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ
14  กุมภาพันธ์ 2543 กระทรวงการคลังได้มีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  ที่ กค.0319/3166 เสนอเพิ่มหลักการของร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ....  ที่เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 จากเดิมที่ให้รับโอนสินทรัพย์ และหนี้สินของบัญชีฝ่ายออกบัตรธนาคารเป็นสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น เป็นให้แบ่งสินทรัพย์ส่วนหนึ่งให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุนฟื้นฟูฯ) ด้วย เพื่อลดความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่รัฐบาลจะต้องรับภาระอันจะเป็นการช่วยบรรเทาภาระในงบประมาณรายจ่ายประจำปีในอนาคต
15  กุมภาพันธ์ 2543 คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการให้รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินของบัญชีในฝ่ายออกบัตรธนาคารมาให้ ธปท. และกองทุนฟื้นฟูฯ และได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
29  กุมภาพันธ์ 2543 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังได้ขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 ในเรื่องการโอนสินทรัพย์โดยให้โอนสินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่ในฝ่ายออกบัตรธนาคารมาที่ธปท.ก่อน เพื่อให้แก้ไขปัญหาการขาดทุนของ ธปท. และให้ ธปท. มีทุนประกอบการที่มั่นคง  หากยังคงมีสินทรัพย์เหลือจึงให้เพิ่มทุนให้กองทุนฟื้นฟูฯ โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ ห้ามกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ขายสินทรัพย์เงินตราต่างประเทศและการดำเนินการดังกล่าวจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
 29  มีนาคม  2543 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ...)  พ.ศ....  และร่างพระราชบัญญัติเงินตรา  (ฉบับที่ ...)  พ.ศ....  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และได้ส่งให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาต่อไป

p25.5.jpg