๒๗ นักวิชาการ..สนับสนุนหลวงตา

p27.2.jpgp27.3.jpg

 

 

 

p27.11.jpgp27.1.jpg

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ระหว่างที่หลวงตาและประชาชนได้ออกมาปกป้อง คลังหลวง นั้น บรรดานักเศรษฐศาสตร์ นักกฎหมาย ตลอดจนนักวิชาการจำนวนไม่น้อย กล่าวสนับสนุนหลวงตา และนำความจริงทางวิชาการเกี่ยวกับความเป็นมาของ ทุนสำรองเงินตรา มาเป็นข้อยืนยัน ดังเช่นคำกล่าวตอนหนึ่งของ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวไว้ว่า
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
          ...คำว่าคลังหลวงไม่มีในกฎหมาย แต่เป็นปริศนาธรรม ผมได้ไปนมัสการหลวงตาที่สวนแสงธรรม ขณะนั้นประเทศของเราอยู่ในวิกฤตอย่างมาก ผู้คนหดหู่หมดกำลังจิตกำลังใจ หลวงตาได้ลุกขึ้นมาระดมศรัทธาของพี่น้องประชาชนชาวไทย เพื่อให้สละทองคำและดอลลาร์ ก็มีปัญหาว่ารัฐบาลในขณะนั้นก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าคลังหลวงหมายถึงอะไร ผมได้ไปกราบนมัสการท่านและได้ออกมาชี้แจงให้ประชาชนให้เข้าใจว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศของเรานั้นแบ่งเป็น ๓ ส่วน o      ส่วนแรกซึ่งเป็นส่วนใหญ่เรียกว่าทุนสำรองเงินตรา o      ส่วนที่สองเป็นทุนสำรองทั่วไป ซึ่งเป็นของธนาคารแห่งประเทศไทย o      และส่วนที่สามเป็นทุนของทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน

p27.2.jpg 

ทุนสำรองเงินตรานี้ตามกฎหมายแล้วเป็นของแผ่นดิน ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่ของธนาคารแห่งประเทศไทย แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็เอาไปใช้ไม่ได้ ในขณะนั้นทองคำและดอลลาร์ที่ประชาชนได้บริจาคมาก็ไม่ทราบว่าจะไปเข้าบัญชีใด ในที่สุดก็ตกลงกันว่าบัญชีคลังหลวงที่หลวงตาท่านกรุณารวบรวมจิตศรัทธาของพี่น้องประชาชนชาวไทยให้ช่วยชาติ คือทุนสำรองเงินตรา และก็ได้มีการนำทองคำและดอลลาร์ต่าง ๆ ที่รับบริจาคเข้าไปไว้ในทุนสำรองเงินตรา          แม้ว่าเงินทองบริจาคที่นำเข้าไปในทุนสำรองเงินตราจะไม่มาก แต่จะทำให้ทุนสำรองเงินตราของเราเป็นของที่ศักดิ์สิทธิ์ ต่อไปจะไม่มีผู้ใดเอาไปใช้ได้ จะอยู่เป็นทุนสำรองของประเทศชาติของเราตลอดไป ประเทศชาติเราผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆ มาได้ก็เพราะทุนสำรองเงินตราที่มั่นคง ที่ไม่ใช่ของผู้ใด ไม่มีผู้ใดเอาไปใช้ได้…”คลังหลวง..เงินก้อนสุดท้ายประชาชน          อีกตัวอย่างหนึ่ง เป็นบทความอาจารย์วิทยากร เชียงกูล นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ เขียนไว้ดังนี้          ...สาเหตุที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุนฯ) ขาดทุน ก็เพราะรัฐบาลบริหารผิดพลาดทุ่มเทเงินทองไปโอบอุ้มธนาคารและสถาบันการเงินที่มีปัญหา โดยรัฐบาลอ้างว่าจำเป็นที่จะต้องกู้สถาบันธนาคารหรืออุ้มคนรวยเพื่อที่จะช่วยเศรษฐกิจส่วนรวมให้ดีขึ้น แต่การทำงานในรอบ ๓ ปี ชี้ให้เห็นชัดว่า นอกจากกองทุนฯ จะขาดทุนมากแล้ว เศรษฐกิจส่วนรวมกลับยิ่งเสียหายมากขึ้น          การดำเนินงานของกองทุนฯ ที่ขาดทุนเห็นชัดก็เช่น การประมูลขายทรัพย์สินที่ยึดมาจากบริษัทเงินทุน ๕๖ แห่งที่ถูกปิดไปให้ต่างชาติในราคาที่ขาดทุนไปนับแสนล้านบาท แล้วรัฐบาลยังไปสัญญาจะหาเงินก้อนอื่นใช้หนี้ให้เจ้าหนี้ต่างชาติเต็มจำนวนอีก ส่วนที่ขาดทุนส่วนอื่น ๆ ก็เกิดจากการที่รัฐบาลเข้าไปเพิ่มทุนและอัดฉีดเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ธนาคารที่ทุจริตฉ้อฉลและบริหารผิดพลาด (ทั้งเอกชนและรัฐ)

p27.3.jpg

         การที่รัฐบาลอ้างเช่นนี้ เป็นการใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ตะวันตกมาครอบงำหลอกลวงประชาชน ด้วยการทำให้ประชาชนรู้สึกว่า การเอาเงินกำไรสะสมจากธนาคารชาติมาใช้หนี้ให้กองทุนฯ น่าจะเป็นวิธีการที่ดีกว่าการขึ้นภาษี หลายคนก็เลยพาลคิดไปว่า หลวงตามหาบัวไม่เข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ
...เราจึงควรจะใช้เงินก้อนนี้เพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างมองการณ์ไกลเท่านั้น ไม่ใช่หาทางใช้เงินซึ่งเป็นก้อนสุดท้ายของประชาชนเพื่อแก้ปัญหาของพวกคนรวย คือธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเอกชนที่บริหารผิดพลาดและทุจริตฉ้อฉล โดยการเชื่อตามข้ออ้างของรัฐบาลว่าเพื่อไม่ให้ระบบธนาคารทั้งหมดล้ม…”p27.4.jpg

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คลังหลวง..สมบัติคนไทยทุกคน ไม่ใช่ของแบงค์ชาติ          รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงค์เวช นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวคัดค้านกฎหมายรวมบัญชีไว้เช่นกันว่า                ...เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยในปัจจุบันแยกออกเป็น ๓ ส่วน ดูแลโดยแบงค์ชาติ คือ           (๑) อยู่ที่ฝ่ายออกบัตรธนาคาร มีประมาณ ๒๗,๐๐๐ ล้านดอลลาร์           (๒) อยู่ที่ตัวแบงค์ชาติเองในบัญชีฝ่ายการธนาคาร มีประมาณ ๔,๖๐๐ ล้านดอลลาร์ และ           (๓) อยู่ที่กองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน มีอยู่ประมาณ ๑๐๐ ล้านดอลลาร์           ทั้งหมดนี้รวมกันเรียกว่า เงินสำรองระหว่างประเทศ เงินที่ท่านอาจารย์หลวงตามหาบัวมาจาก โครงการผ้าป่าช่วยชาติ ท่านมีเจตจำนงจะใส่ในส่วนที่ ๑ คือ ไปรวมในส่วน ๒๗,๐๐๐  ล้านดอลลาร์ หลวงตาเรียกเงินในส่วนที่ ๑ ว่า เงินคลังหลวง ...
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
          p27.5.jpgเงินสำรองในส่วนที่ ๑ นี้ไม่ใช่เงินของแบงค์ชาติหรือของรัฐบาล เป็นเงินของประเทศ เป็นของประชาชนไทยทุกคน ที่มีมานานแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ สมัยพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงเริ่มพิมพ์ธนบัตรออกใช้ โดยมีเงินตราต่างประเทศส่วนนี้หนุนการพิมพ์ 
เงินสำรองระหว่างประเทศ (หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ)
๑. ฝ่ายออกบัตร ๒๗,๐๐๐
๒. ฝ่ายการธนาคาร ๔,๖๐๐
๓. กองทุนรักษาระดับฯ ๑๐๐
รวม ๓๑,๗๐๐
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ แบงค์ชาติขาดทุนจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากถูกโจมตีค่าเงินบาทจากกองทุนหาผลประโยชน์จากความเสี่ยง (Hedge Funds) โดยส่วนที่ขาดทุนสุทธิประมาณ ๑๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ แบงค์ชาติจึงไปกู้เงินไอเอ็มเอฟมาประมาณ ๑๔,๓๐๐ ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้หนี้ที่ทำขาดทุนไป p27.6.jpgวันนี้ยังคงเป็นหนี้ไอเอ็มเอฟอยู่ ๑๒,๗๐๐ ล้านดอลลาร์ แต่แบงค์ชาติเหลือเงินติดกระเป๋าอยู่ประมาณ ๔,๗๐๐ ล้านดอลลาร์ (ในบัญชีที่ ๒ และ ๓) ดังนั้น เมื่อแบงค์ชาติจะต้องเริ่มไปใช้หนี้คืนไอเอ็มเอฟ ๑๒,๗๐๐ ล้านดอลลาร์ ก็จะมีเงินไม่พอ วันนี้จึงยังเป็นหนี้สุทธิอีกประมาณ ๘,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ แบงค์ชาติจึงไปขอแบ่งเงินสำรองฯ ในส่วนที่ ๑ จำนวน ๒๗,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ โดยวิธีการรวมบัญชี คือ รวมเงินสำรองทั้ง  บัญชีข้างต้นให้ไปอยู่ในบัญชีเดียวกัน เป็นบัญชีของฝ่ายการธนาคาร ซึ่งเป็นการแปลงเงินสำรองฯ ทั้งหมดให้เป็นเงินของแบงค์ชาติเพื่อจะนำเงินบางส่วนจาก ๒๗,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ ไปใช้หนี้ แต่เงินส่วนที่ ๑ นี้เป็นเงินส่วนกลางที่มอบให้แบงค์ชาติดูแลเท่านั้น เป็นเงินของคน ๖๒ ล้านคน เป็นเงินของเกษตรกร คนยากคนจน กรรมกร และชาวไร่ชาวนาทั้งหมดในประเทศไทย แบงค์ชาติจะรวมบัญชีแล้วแบ่งเงินมาประมาณ ๘,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้หนี้ โดยเงินส่วนที่เหลืออยู่ประมาณ ๑๙,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ที่มีไว้หนุนพิมพ์ธนบัตรนั้นก็จะเป็นกรรมสิทธิ์ของแบงค์ชาติด้วย ไม่เป็นเงินส่วนกลางอีกต่อไปp27.7.jpg
          กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เห็นว่าแบงค์ชาติต้องการเอาเงินส่วนกลางไปหมด จึงขอแบ่งบ้าง ตอนแรกมีข่าวว่าต้องการถึง ๒๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ (๘๐๐,๐๐๐ ล้านบาท) แบงค์ชาติไม่อยากให้ จึงได้จัดการสัมมนาขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อตกลงกัน โดยแบงค์ชาติขอเงินทั้งหมด ๒๗,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ไปใส่ในกระเป๋าตัวเองโดยวิธีการรวมบัญชี และหักเงินประมาณ ๓,๓๐๐ ล้านดอลลาร์ (๑๓๒,๐๐๐ ล้านบาท) ให้กองทุนฟื้นฟูฯ ไป ซึ่งทั้ง ๒ องค์กรทำเสมือนว่าเป็นเงินของตัวเอง คนอื่นอีก ๖๒ ล้านคนไม่เกี่ยวข้อง          กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ไปสร้างหนี้ไว้ประมาณ ๑.๔ ล้านล้านบาท ยอดหนี้มากมายจำนวนนี้มาจาก (๑) การปิดสถาบันการเงิน ๕๖ แห่ง แล้วให้องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ไปขายสินทรัพย์ขาดทุนไปประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท (๒) ไปเพิ่มทุนและซื้อหนี้เสียในธนาคารที่รัฐยึดมา ได้แก่ ธนาคารศรีนคร ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารไทยธนาคาร ธนาคารรัตนสิน ธนาคารนครธน และธนาคารกรุงไทย ประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ ล้านบาท (๓) ไปค้ำประกันรายได้และค้ำประกันการสูญเสียของธนาคารของรัฐที่ขายให้ต่างชาติไป เช่น p27.8.jpgธนาคารรัตนสิน ค้ำประกันไว้ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ธนาคารนครธนอีก ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท และธนาคารศรีนครอีกประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ ล้านบาท           การขายธนาคารของรัฐให้ต่างชาติไป กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ไป (๑) ประกันการรายได้ให้ต่างชาติ โดยกองทุนฟื้นฟูฯ จะจ่ายดอกเบี้ยบนหนี้เสียแทนผู้กู้เงินในอัตราร้อยละ ๕ ต่อปี เป็นเวลา ๕ ปี (๒) ประกันการสูญเสียให้ต่างชาติ ถ้าภายในสิ้นปีที่ ๕ ต่างชาติไปตามหนี้เสียไม่ได้ กองทุนฟื้นฟูฯ ก็จะจ่ายเงินให้ร้อยละ ๘๕ ของหนี้เสียที่ตามไม่ได้          ข้อพิจารณา ก็คือ  การที่กองทุนฟื้นฟูฯ มาขอแบ่งเงินที่เก็บมาตั้งแต่สมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ โดยจะขอแบ่งมาประมาณ ๑๓๒,๐๐๐ ล้านบาทเพื่อไปใช้หนี้ดังกล่าว ประชาชนควรถามว่ากองทุนฟื้นฟูฯ จะเอาเงินไปจ่ายอะไรบ้างในหนี้ก้อนโต ๑.๔ ล้านล้านบาทนี้ เอาเงินไปชดเชยการขาดทุนที่ ปรส. ขายสินทรัพย์ให้ต่างชาติ ควรหรือไม่? สินทรัพย์จำนวนประมาณ ๗๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ขายได้เงินมา ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท แล้วกองทุนฟื้นฟูฯ ก็ตามไปใช้ส่วนที่ขาดทุนด้วยเงินที่แบ่งจากเงินคลังหลวงควรหรือไม่?          คำถามต่อมา คือ เงิน ๒๗,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ ที่จะถูกแบ่งให้แบงค์ชาติประมาณ ๘,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ เพื่อไปใช้หนี้ขาดทุนจากการถูกโจมตีค่าเงินบาท ควรหรือไม่? คนอื่น ๆ ที่เป็นเกษตรยากจน เป็นหนี้เป็นสิน จะขอแบ่งเงินในคลังหลวงด้วยได้หรือไม่? เพื่อมาใช้หนี้ เพราะหนี้สินเกษตรเฉพาะส่วนที่เกิดจากนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลต่างๆ มีเพียง ๑๙,๐๐๐ ล้านบาทเท่านั้น

          ประชาชนไทยจึงควรทราบว่าเงิน ๒๗,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของทุกคน ดังนั้น ที่พระอาจารย์หลวงตามหาบัวพูดไว้นั้น ท่านพูดถูก เพราะท่านไม่ได้พูดเฉพาะเงินที่ท่านนำมาบริจาค แต่ท่านพูดถึงเงินคลังหลวง คือ เงิน ๒๗,๐๐๐ ล้านดอลลาร์นี้ ว่าเอาเงินนี้ไปรวมบัญชีอาจจะเสียหาย  ท่านอาจมองเห็นอะไรในอนาคตที่ท่านกังวลอยู่ ท่านได้พยายามหาเงินบริจาคมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ไว้เพื่อเป็นยันต์ปิดฝาโอ่งที่เก็บเงินคลังหลวงนี้เพื่อไว้ให้เป็นสมบัติของลูกหลาน ไว้ค้ำประกันค่าเงินบาทและความมั่นคงของ เศรษฐกิจไทย หากจะขอเงินบางส่วนไปใช้และมีเหตุผลเพียงพอ อาจทำได้โดยการออกกฎหมายขอเป็นครั้ง ๆ ไป แต่การยกเลิกส่วนกลางให้แบงค์ชาติเลยอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศได้ในอนาคต...

ถ้านำคลังหลวงไปใช้..อันตรายขั้นหายนะ
ในระยะต่อมา เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้กล่าวถึงความสำคัญของ โครงการช่วยชาติ ที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงิน และยังสามารถปกป้องภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อฐานะการเงินของชาติได้หากหลวงตาไม่ออกมาคัดค้านกฎหมายรวมบัญชี โดยได้ยกเหตุผลทางวิชาการพร้อมข้อมูลสภาวะการเงินของชาติประกอบการอธิบาย ดังนี้...ในช่วงตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.  ๒๕๓๙ ถึงกลางปี พ.ศ.  ๒๕๔๐ ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามที่จะรักษาค่าเงินบาทให้สูงอยู่ในระดับที่ ๑ ดอลลาร์เท่ากับ ๒๕ บาท โดยการนำเงินดอลลาร์สหรัฐออกขายในตลาด การนำเงินดอลลาร์สหรัฐออกขายในตลาดนี้ ทำได้เฉพาะโดยการนำเงินจากฝ่ายการธนาคารเท่านั้น ไม่สามารถนำเงินออกจากฝ่ายออกบัตรหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า คลังหลวง ได้ เพราะมีกฎหมายห้ามไว้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
          จึงมีผลให้เงินในบัญชีของฝ่ายออกบัตรหรือคลังหลวงนั้น ยังคงเหลืออยู่สูงถึง ๑๙,๘๐๐ ล้านดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ในขณะที่เงินในบัญชีของฝ่ายการธนาคารนั้น มีการนำเงินดอลลาร์ออกขายจนหมด และยังมีการทำสวอป  นำเงินดอลลาร์มาขายเพิ่มเติมอีก โดยมีสิ่งที่เรียกว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นภาระติดค้างที่จะนำส่งคืนเขา ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ นั้น ปรากฏว่าฝ่ายการธนาคารมีเงินดอลลาร์เหลือ ๑๑,๘๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ขณะเดียวกันก็มีภาระที่เรียกว่า สัญญาล่วงหน้า ที่ต้องส่งคืนในอนาคตสูงถึง ๒๙,๕๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ แปลว่า อะไร แปลว่า บัญชีของฝ่ายการธนาคาร ณ วันนั้นเนื่องจากการพยายามนำดอลลาร์ออกขายรักษาค่าเงินบาทนั้น มีฐานะติดลบสุทธิถึง ๑๗,๗๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ p27.9.jpg             โดยสรุป ณ สิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ๑ วัน เงินสำรองสุทธิที่มีเหลืออยู่ ๒,๘๐๐ ล้านดอลลาร์นั้น ประกอบด้วยเงินดอลลาร์ในคลังหลวง ๑๙,๘๐๐ ล้าน ดอลลาร์  เป็นบวกนะครับอันนี้ ในบัญชีทุนรักษาระดับ ๗๐๐ ล้านดอลลาร์ ในขณะที่บัญชีของฝ่ายการธนาคารมีฐานะสุทธิติดลบ ๑๗,๗๐๐ ล้านดอลลาร์ จะเห็นได้ว่า ผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สามารถนำเงินดอลลาร์จากคลังหลวงออกมาขายได้เลย เนื่องจากมีกฎหมายห้ามไว้ หาไม่แล้วเงินในคลังหลวงคงจะถูกนำไปขายแทนการทำสวอปในจำนวนที่สูงมากทีเดียวp27.10.jpg          ครั้นต่อมาระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมา จากต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึงปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ นี้ ประเทศไทยได้ทำมาค้าขายสินค้าและบริการ ก็ได้เงินเข้าประเทศมา เมื่อหักเงินที่ชำระหนี้ต่างประเทศแล้ว  ก็สามารถนำเข้าบัญชีของฝ่ายการธนาคาร ทำให้ในวันสิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ฝ่ายการธนาคารซึ่งเดิมมีฐานะสุทธิลบ ๑๗,๗๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมีเงินดอลลาร์สูงถึง ๘,๐๙๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ          ส่วนเงินดอลลาร์ในบัญชีฝ่ายออกบัตรหรือคลังหลวงนั้น ก็ได้เพิ่มพูนขึ้นจาก ๑๙,๘๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปลายมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ณ ขณะนี้เพิ่มเป็น ๒๗,๔๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว เมื่อปลายมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ โดย·       ได้มาจากดอกผลของเงินที่มีอยู่เดิม·       ได้มาจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเติมให้ เมื่อต้องการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติมขึ้น·       และจากเงินบริจาคของหลวงตา (โครงการช่วยชาติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

ทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ (โดยประมาณ) หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

  ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๐ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๕
บัญชีฝ่ายออกบัตร ๑๙,๘๐๐ ๒๗,๔๐๐
บัญชีฝ่ายการธนาคาร    
SPOT ๑๑,๘๐๐ ๘,๐๙๐
FORWARD ๒๙,๕๐๐ ๘๘๐
ทุนรักษาระดับ ๗๐๐ ๙๑๐
รวม ๒,๘๐๐ ๓๕,๕๒๐
               เงินบริจาคของหลวงตา แม้ว่าจะเป็นจำนวนที่ไม่มากเมื่อเทียบกับเงินในคลังหลวงที่มีอยู่เดิม แต่มีบทบาทสำคัญที่ป้องกันมิให้มีการนำเงินในคลังหลวงออกไปใช้ จนอาจเกิดอันตรายขั้นหายนะแก่ประเทศชาติได้ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ
สินทรัพย์บริจาคจากพี่น้องชาวไทย ซึ่งมีสร้อยทอง กำไลทอง และทองรูปพรรณต่าง ๆ รวมทั้งเงินบาทและเงินตราต่างประเทศจำนวนมากที่นำมาถวายหลวงตาเพื่อนำเข้าสู่คลังหลวง
          ถ้าใครจำได้ เมื่อกลางปี พ.ศ.  ๒๕๔๓ ก็มีการกล่าวขานว่า อาจจะมีการชำระหนี้ให้ไอเอ็มเอฟ ก่อนกำหนด ในขณะนั้นเงินในฝ่ายการธนาคารไม่พอ จึงมีความคิดจะนำเงินฝ่ายออกบัตร ไปรวมกับฝ่ายการธนาคาร จะได้มีพอที่จะไปชำระหนี้ให้ไอเอ็มเอฟ ก่อนกำหนด ซึ่ง ถ้าหากปล่อยให้เป็นเช่นนั้นแล้ว เป็นไปได้ว่า เงินสำรองระหว่างประเทศในขณะนั้น จะลดต่ำลงมาก จนทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่นได้ และถ้าขาดความเชื่อมั่นแล้ว อาจทำให้มีเงินไหลออกมากอีกครั้งหนึ่ง ผมใช้คำว่า อาจจะนะครับ แต่จำนวนที่จะชำระนั้นก็มีจำนวนสูง ถ้าปล่อยให้นำเงินในคลังหลวงไปชำระหนี้ให้ไอเอ็มเอฟ ก่อนกำหนดล่ะก็ ส่วนที่เหลือจะมีน้อยมาก ทำให้ขาดความเชื่อมั่นได้p27.12.jpg          การที่หลวงตาท่านออกมาขัดขวาง การรวมบัญชี ก็เท่ากับว่าเป็นการป้องกันไม่ให้มีการนำเงินจากคลังหลวงไปใช้เพื่อการอื่น นอกจากการสำรองเพื่อผลิตธนบัตร จึงทำให้เงินในคลังหลวงยังคงมีเหลืออยู่เต็มที่ และพอกพูนขึ้นตามจำนวนที่กล่าวถึงข้างต้น คือมีอยู่ถึง ๒๗,๔๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว เป็นหลักฐานของความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจของประเทศ แล้วสร้างความเชื่อมั่นในสายตาของต่างประเทศทั่วโลก ส่วนการชำระหนี้ให้ไอเอ็มเอฟนั้น เราก็ไม่ได้ละเลย ก็มีการชำระหนี้ให้ไอเอ็มเอฟ ตรงตามเวลา โดยอาศัยเงินที่ค่อยๆ หาได้จากการขายสินค้าและบริการตามปกติ ไม่มีการชักออกมาจากคลังหลวง เพื่อการนี้แต่ประการใด...           ...ตอนนี้สถานการณ์เราดีมาก คือ วิธีที่ฝรั่งเขาดูว่า เมืองไทยมั่นคงหรือไม่ เขาดูสำรองในกระเป๋าเรา มีเท่าไหร่ เทียบกับหนี้ส่วนที่ต้องชำระในปีหน้าเท่าไหร่ แล้วดูว่ามีกี่เท่า ถ้ารัฐบาลชุดก่อนออก กฎหมายรวมบัญชี เขาจะเอาไปชำระไอเอ็มเอฟทั้งก้อน ทุนสำรองจะลดพรวดไปเลย นี่ที่น่ากลัวมาก...   หลวงตาย้ำ..รวมบัญชีหลอกตาคน
          จากความเห็นของนักวิชาการที่ยกมาพอสังเขป สรุปได้ว่า การดำเนินงานของหลวงตาและประชาชนในการบริจาคเงินและทองคำเข้าสู่คลังหลวง นอกจากจะช่วยเพิ่มพูนฐานะการเงินของชาติให้มั่นคงปลอดภัยยิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นภูมิคุ้มกันปกป้องมิให้สิ่งใดเข้ามากระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของชาติได้อีกด้วย           สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งจากโครงการช่วยชาติก็คือ หลวงตาได้สอนให้ชาวไทยรู้จักวิธีปฏิบัติต่อ คลังหลวง ว่าถึงแม้จะเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคลังหลวงโดยตรงเช่น รัฐบาล กระทรวงการคลัง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ไม่มีสิทธิจะมาเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าว มีแต่จะต้องปฏิบัติp27.14.jpg  หน้าที่เพื่อเพิ่มพูนและรักษาคลังหลวงให้มั่นคงยิ่งขึ้น ไม่มีสิทธิเข้ามาตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาใหม่อันเป็นการทำให้คลังหลวงต้องอยู่ในฐานะที่เสื่อมถอยลงหรือมีความเสี่ยงต่อความเสียหายมากขึ้น เนื่องจากถ้าเปรียบกับมนุษย์ คลังหลวง ก็คือ หัวใจ มิใช่อวัยวะทั่วๆ ไป จึงเป็นการสมควรที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคลังหลวงโดยตรงจักต้องสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญของคลังหลวงในระดับหัวใจของชาติ มิใช่กลายเป็นผู้ให้ข้อมูลหลอกตาประชาชนเสียเองว่า ในเมื่อฉันดูแลอยู่ ฉันก็มีสิทธิจะยึดเอาคลังหลวงมาเป็นของฉันได้ และด้วยความคิดลักษณะนี้หลวงตาจึงได้เทศนาตักเตือนไปว่า...หัวใจของชาติตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ชาติไทยอยู่ได้เพราะคลังหลวงนี้ ฉะนั้น อย่าแตะ เป็นการหลอกตาคนต่างหากว่า รวมบัญชี  เมื่อได้รวมแล้วก็หมด เพราะงั้นถึงได้เอากันอย่างแรง ... เงินกองที่ว่าคลังหลวงๆ นี้ ก็คือ หัวใจประเทศไทย ... ธรรมลงแล้วว่าถูกต้องสมบูรณ์เต็มที่แล้ว จึงขอใครๆ อย่ามาแตะต้องหัวใจแห่งชาติไทยของเรา ทุกคนเป็นเจ้าของอยู่ในสมบัติกองนี้ทั้งนั้น คน ๖๒ ล้านคน ตั้งแต่บรรพบุรุษท่านเก็บหอมรอมริบรักษามา เป็นมรดกให้แก่พี่น้องชาวไทยเราทั้งหลาย ที่เป็นลูกเป็นหลานรักษาเอาไว้ ลูกหลานทั้งหลายจึงต้องรักษาเอาไว้ ตามแบบฉบับของบรรพบุรุษที่ท่านพาดำเนินมา          ด้วยเหตุนี้เองใครอย่ามาแตะต้องเงินจำนวนนี้ คือ เป็นสมบัติชิ้นใหญ่ที่สุด กระเทือนทั่วประเทศไทย ถ้ามาทำอันนี้แล้วกระเทือนทั่วประเทศไทย จิตใจประเทศไทยนี้เสียหมดเลย สมบัติก็เสียไป จิตใจคนทั้งประเทศก็เสียไป นี่เรื่องร้ายแรง ส่วนใหญ่มันมีอยู่จุดนี้... สมบัติอันนี้เป็นสมบัติค้ำบ้านค้ำเมือง ค้ำประเทศชาติของเรา สมบัติอันนี้เองเป็นเจ้าหน้าเจ้าตา เป็นเครดิต เป็นจุดสำคัญที่ให้โลกภายนอกเขาไว้วางใจ เขาจะมาติดต่อซื้อขาย หรือตั้งโรงงานต่างๆ เรียกว่ามาลงทุน เพราะอันนี้เป็นเครื่องประกันไว้แล้ว นี่เห็นไหมล่ะ มันครอบไปหมดทั่วเมืองไทยเรา จึงต้องรักษาอันนี้เอาไว้ให้ประกันตลอดไป...