๓๕ นักวิชาการค้าน ร่างพ.ร.บ.เงินตรา ๒๕๕๐

p35.3.jpg

p35.1.jpg

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            ในระยะที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการและกำลังเสนอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติเงินตราเข้าสู่สภา มีนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์หลายท่านได้คัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ถูกต้อง มีหนทางที่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดกว่า และเป็นทางแก้ที่ไม่ผิดในหลักการ ขอยกเหตุผลโดยย่อจากนักวิชาการบางท่านดังนี้ กฎหมายเดิมหลักการดีแล้ว ไม่ควรแก้ไขp35.2.jpgดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แสดงความคิดเห็นดังนี้       ...พระราชบัญญัติเงินตรา นับเป็นพระราชบัญญัติที่มีความสำคัญที่ใช้กำกับการดำเนินนโยบายการเงิน ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็น ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้        สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็คือ การกำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการออกธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งมีวิธีการที่เคร่งครัดไม่เหมือนของประเทศอื่น พระราชบัญญัติฉบับนี้ออกมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยมีหลักการสำคัญๆ ก็คือ           ธนบัตรของประเทศไทยนั้นออกโดยฝ่ายออกบัตร ซึ่งอยู่ในธนาคารแห่งประเทศไทยก็จริง แต่ก็ไม่ใช่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังจะเห็นปรากฏอยู่ในธนบัตรว่า "รัฐบาลไทย" ไม่ได้เขียนว่า "ธนาคารแห่งประเทศไทย" เหมือนกับธนบัตรของประเทศอื่นๆ ว่าเป็นของธนาคารกลาง เช่น Bank of England ของอังกฤษ หรือ Federal Reserve Note ของอเมริกา เป็นต้น        หลักการของการออกธนบัตรของประเทศเรานั้น ยังรักษาหลักการว่า ฝ่ายออกบัตรเป็นผู้ออกธนบัตรและต้องมีทองคำหรือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเป็นเงินตราต่างประเทศ เป็นทุนหนุนหลังธนบัตรที่ออกใช้หมุนเวียน ด้วยเหตุนี้ "ทุนสำรองระหว่างประเทศ" ของเราจึงอาจจะแยกออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ p35.3.jpgØ  ส่วนแรกเรียกว่า ทุนสำรองเงินตรา ทุนสำรองเงินตรานั้นไม่ใช่ของธนาคารแห่งประเทศไทย และก็ไม่ใช่ของรัฐบาลหรือกระทรวงการคลัง แต่เป็นของ "แผ่นดิน" หรือของ รัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือรัฐบาลไทย โดยกระทรวงการคลังจะเอาไปใช้ไม่ได้ ถ้าจะเอาไปใช้เป็นครั้งคราวในกรณีจำเป็นจริงๆ ก็ต้องออกเป็นพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด ซึ่งต้องผ่านรัฐสภา รัฐบาลต้องรับผิดชอบ แต่หลักการเดิมก็ยังอยู่  บัญชีเงินทุนสำรองเงินตรานั้นจะมีอยู่ ๓ บัญชี คือ ๑. บัญชีทุนสำรองเงินตรา ๒. บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และ ๓. บัญชีทุนสำรองพิเศษ โดยที่ธนบัตรที่ออกใช้หมุนเวียนนั้น ฝ่ายการธนาคารของธนาคารแห่งประเทศไทย (หมายเหตุ ในปี พ.ศ.  ๒๕๔๕ ได้มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สามารถนำสินทรัพย์ในบัญชีสำรองพิเศษ ฝ่ายออกบัตร (คลังหลวง) หนุนหลังการออกธนบัตรเนื่องจากสินทรัพย์ในฝ่ายการธนาคารไม่เพียงพอ) จะต้องนำทองคำหรือ เงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ หรือพันธบัตรรัฐบาลมาแลกออกไปเต็มตามจำนวนมูลค่า ทุนสำรองเงินตราที่ว่าจะต้องมีทองคำและเงินตราต่างประเทศจำนวนไม่ต่ำกว่า ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของจำนวนทั้งหมด มีพันธบัตรรัฐบาลได้ไม่เกิน ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของจำนวนทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารจัดการหาผลประโยชน์จากทุน สำรองเงินตรา แต่ก็กำหนดเงื่อนไขการลงทุนหรือการจัดหาผลประโยชน์ไว้อย่างเข้มงวด เช่น ต้องซื้อพันธบัตร หรือตั๋วเงินคลังของรัฐบาล หรือที่รัฐบาลต่างประเทศที่มีฐานะการเงินที่มั่นคงค้ำประกัน เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป หรืออังกฤษ หรือญี่ปุ่น ถ้าฝากธนาคารในต่างประเทศก็ต้องเป็นธนาคารระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก หรือธนาคารพัฒนาเอเชีย แม้จะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าไปซื้อตราสารหนี้เอกชน หรือลงทุนในสินทรัพย์ของบริษัทเอกชนในต่างประเทศที่มีผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าก็ทำไม่ได้เช่นกัน เมื่อได้ผลประโยชน์ต่างๆ ก็จะนำมาเข้าที่บัญชีผลประโยชน์ประจำปีในระหว่างปี เมื่อจะต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆ อันเกี่ยวกับ ธนบัตร เช่น การพิมพ์ธนบัตร รวมทั้งเมื่อมีการตีราคาทรัพย์สินในบัญชีทุนสำรองเงินตราในตอนสิ้นปี  ถ้าขาดทุนให้หักจากบัญชี ผลประโยชน์ประจำปี เมื่อสิ้นปีต้องมีการตีราคาทรัพย์สินแล้วมีผลเป็นกำไร ก็โอนเข้าไปไว้ในบัญชีทุน สำรองพิเศษ แต่ถ้าไม่มีกำไรก็ไม่ต้องโอน แต่ปกติก็จะมีกำไรให้โอนไปบัญชีทุนสำรองพิเศษได้ทุกปี Ø  ส่วนทรัพย์สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยของฝ่ายการธนาคาร จะอยู่ในบัญชีทุนสำรองทั่วไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจะบริหารจัดการเพื่อหาผลประโยชน์ หรือจะใช้เป็นเครื่องมือแทรกแซงตลาด  เพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ทำแล้วกำไรขาดทุนก็อยู่ที่บัญชีของฝ่ายการธนาคารแห่งนี้ จะไปล้วงเอาเงินจากบัญชีทุนสำรองเงินตราทั้ง ๓ บัญชีนั้นมาใช้ไม่ได้ต่อมามีการจัดตั้งบัญชีสะสม เพื่อการชำระคืนเงินต้นเงินกู้ เพื่อชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และกำหนดให้สามารถโอนเงินคงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี  เพื่อเข้าบัญชีสะสมได้ และได้มีการตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. เงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ (ฉบับที่ ๒) เพื่อให้สามารถโอนเงินส่วนที่เป็นกำไรสุทธิจริงๆ หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งการตีราคาทรัพย์สินต่างประเทศรวมทั้งทองคำ ซึ่งทรัพย์เหล่านี้ราคาขึ้นลงไม่แน่นอน ซึ่งก่อนออกพระราชกำหนดนี้  ต้องโอนไปไว้ที่บัญชีทุนสำรองพิเศษ ให้สามารถโอนไปใช้ชำระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ การออกพระราชกำหนดครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการแก้หลักการของทุนสำรองเงินตราในการแก้ พ.ร.บ.เงินตราครั้งนี้ แก้หลักการหนักเข้าไปอีก กล่าวคือ

๑) ส่วนที่เป็นเงินต้นในบัญชีทุนสำรองเงินตรา และบัญชีทุนสำรองพิเศษยังเป็นของฝ่ายออกบัตร ส่วนผลประโยชน์ประจำปีที่ยังไม่สุทธิจริงนั้น เกือบทั้งหมดของทุกปี ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถโอนไปบัญชีสะสมได้ โดยการแก้กฎหมายว่า ในการตีราคาทรัพย์สินซึ่งเปลี่ยนจากปีละครั้งมาเป็นทุกเดือนนั้น หากมูลค่าของทรัพย์สินมีมูลค่าเสื่อมลง เช่น ทรัพย์สินในบัญชีทุนสำรองเงินตรา หรือในบัญชีทุนสำรองพิเศษเสื่อมลง แทนที่จะต้องให้โอนทรัพย์สินจากบัญชีผลประโยชน์ประจำปีไปชดเชยให้เต็มทั้งสองบัญชีเสียก่อน เหลือเท่าไหร่ค่อยเอาไปให้ ธปท.ใช้หนี้กองทุนฟื้นฟู แต่ให้อำนาจ ธปท.ไม่ต้องโอนเงินจากบัญชีทุนผลประโยชน์ประจำปีไปชดใช้ แต่ให้โอนจากบัญชีทุนสำรองพิเศษไปชดเชยทุนสำรองเงินตราได้เลย จะโอนเฉพาะการชดเชยการขาดทุนจากการขายทรัพย์สินต่างประเทศเท่านั้น เพื่อจะได้มีเงินจากบัญชีผลประโยชน์ประจำปีไปใช้ได้มากที่สุด        p35.4.jpg  

การแก้กฎหมายเช่นว่า  เป็นการเปลี่ยนหลักการเป็นว่า เงินต้นเป็นของทุนสำรองเงินตรา ส่วนผลประโยชน์ของทุนสำรองเงินตราเป็นของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นการถาวรไปเลย อีกทั้งยังเป็นการให้อำนาจ ธปท.ทำผิดหลักบัญชี ตามหลักบัญชีค่าใช้จ่ายรวมทั้งการตีราคาทรัพย์สินต้องนำมาหักออกจากบัญชีกำไรขาดทุนก่อนค่อยโอนไปที่อื่นได้ ไม่ใช่โอนเงินกำไรขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินไปหักออกจากบัญชีเงินทุนเลย ทำให้ดูมีกำไรเกินจริง ถ้าแก้ตรงนี้ ธปท.จะไปอธิบายธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่นๆ เขาอย่างไร ความข้อนี้ปรากฏในมาตรา ๓๔ วรรค ๒) โดยปกติแล้ว ฝ่ายออกบัตรเป็นเจ้าของธนบัตร กล่าวคือเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร เมื่อ ธปท.จะนำธนบัตรออกใช้ ธปท.ต้องนำทรัพย์สิน คือ เงินตราต่างประเทศ หรือพันธบัตรรัฐบาลมาแลกธนบัตรออกไปใช้ มีการแก้หลักการอันนี้โดยพระราชกำหนด พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๔/๒ ว่า "ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจโอนสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองพิเศษเข้าเป็นทุนสำรองทรัพย์สินในบัญชีทุนสำรองเงินตรา เพื่อการนำออกใช้ธนบัตรได้" ซึ่งก็เท่ากับว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้แก้หลักการในการนำออกใช้ธนบัตร โดยธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ต้องเอาทรัพย์อะไรมาแลกได้เลย ใช้ทรัพย์สินเดิมของทุนสำรองเงินตราในบัญชีทุนสำรองพิเศษมาใช้ได้เลย ซึ่งเท่ากับว่า ธปท.สามารถพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ได้เลย ไม่ต้องระมัดระวังว่าจะไม่มีสินทรัพย์ที่ใช้เป็นทุนสำรองมาแลกร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ในมาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๔/๒ ของพระราชกำหนด พ.ศ. ๒๕๔๕ ก็ดีแล้ว แต่ก็ยังเปิดช่องให้ ธปท.สามารถนำธนบัตรออกใช้โดยไม่ต้องนำทรัพย์สินต่างประเทศมาแลก ยังโอนไปจากบัญชีทุนสำรองพิเศษได้อยู่ แต่ดึง รมต.คลังมาร่วมด้วย โดยการออกเป็นกฎกระทรวง เพียงแต่ต้องให้เหตุผลความจำเป็นและกำหนดการโอนทรัพย์สินกลับคืนบัญชีทุนสำรองพิเศษ ซึ่งไม่ชัดเจนว่า การโอนดังกล่าวเป็นการโอนมาจากบัญชีของ ธปท.หรือไม่ อย่างไร หรือว่า ธปท.นำธนบัตรออกไปใช้โดยไม่ต้องมีทรัพย์สินมาแลกแล้วไม่ต้องนำทรัพย์สินมาชดใช้ภายหลัง           ๓) ที่น่าห่วงมากอีกประการหนึ่งก็คือ การเพิ่มอำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการบริหารจัดการทรัพย์สินในบัญชีทั้งสามบัญชีของทุนสำรองเงินตรา คือ บัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีทุนสำรองพิเศษ ตามความในมาตรา ๓๔/๓ จากเดิมกฎหมายกำหนดไว้ไม่ให้นำเงินทุนสำรองเงินตราไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงเลย ซึ่งได้ผลตอบแทนอาจจะน้อยแต่ไม่เสี่ยง การแก้กฎหมายครั้งนี้ ในการบริหารจัดการสินทรัพย์ของทุนสำรองเงินตรา ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถทำธุรกรรมทางการเงินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๔/๓ ข้อ (๑) ถึงข้อ (๕) ได้กว้างขวางกว่าเดิม ที่ห่วงก็คือ สามารถทำกับสถาบันการเงินต่างประเทศที่เป็นเอกชนก็ได้ เช่น ซื้อขาย เงินตราต่างประเทศ ล่วงหน้า หรือแลกเปลี่ยนภาระการรับจ่ายดอกเบี้ย หรือแลกเปลี่ยนภาระการรับจ่ายเงินตราต่างประเทศ หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์เงินตราต่างประเทศต่างสกุล ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ให้อำนาจ ธปท.ทำการ "เก็งกำไร" จากการทำธุรกรรมทางการเงินได้ ซึ่งเป็นการให้อำนาจ ธปท.นำสินทรัพย์ของทุนสำรองเงินตราเข้าเสี่ยงเพื่อหากำไรที่สูงขึ้น แต่ก็มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นจนจะกลายเป็นกองทุน "เก็งกำไร" หรือ hedge fund ได้

p35.5.jpg

ถ้าได้กำไรมากขึ้นก็อยู่ในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีแล้วก็โอนไปเป็นของ ธปท. เพื่อชำระหนี้อย่างอื่น ถ้าขาดทุนขึ้นมาจะทำอย่างไร ถ้า รมต.คลังตามทันก็แล้วไป ถ้าตามไม่ทันก็น่าเป็นห่วง ไม่ควรให้อำนาจ ธปท.มากขนาดนั้นที่สำคัญมาตรา ๓๔/๓ ที่แก้ใหม่นี้ ไม่ได้เขียนให้ชัดเจนว่า การทำสวอป (swap) ทำได้เฉพาะระหว่างเงินตราต่างประเทศสกุลหนึ่งกับอีกสกุลหนึ่ง จะทำระหว่างเงินบาทกับเงินตราต่างประเทศสกุลอื่นไม่ได้ ถ้าต้องตีความแล้วเกิดตีความว่า ทำได้ ก็ยิ่งไปกันใหญ่ อาจจะใช้เงินในบัญชีทุนสำรองเงินตราไปต่อสู้ป้องกันค่าเงินบาทได้ ก็อาจจะเกิดความหายนะกับทุนสำรองเงินตราได้ เพราะไม่ได้เขียนห้ามไว้เหมือนกับการให้อำนาจ ธปท.จัดการ "ดำรงไว้ซึ่งค่าเงินบาท" ตามมาตรา ๒๓ ก็ไม่ได้เขียนไว้ชัดเจนว่า จะมาเอาทุนสำรองเงินตรา หรือสำรองพิเศษ หรือผลประโยชน์ประจำปี ไปใช้แทรกแซงค่าเงินบาทไม่ได้ แม้เจตนาของผู้ร่างไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่เวลาตีความกฎหมายก็ตีความตามตัวอักษรก่อน ซึ่งอาจจะตีความเข้าข้างตัวเองก็ได้ เมื่อมีความต้องการจะใช้พ.ร.บ.เงินตรา ๒๕๐๑ แก้ไขเพิ่มเติม ๒๕๑๖ นั้นดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปแก้ไขอะไร ถ้าจำเป็นจะหยิบยืมเงินไปใช้ ก็ออกเป็นพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เป็นคราวๆ ไป ไม่ต้องไปแก้ไขพระราชp35.6.jpgบัญญัติ         เรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้น ก็เพราะ ธปท.ปล่อย ให้เงินบาทแข็งขึ้นมามาก เมื่อต้องตีราคา ทรัพย์สินตอนสิ้นปีก็จะขาดทุนทุกบัญชี ก็เลย ไม่มีเงินเหลือจะไปชดเชยจากบัญชีผลประโยชน์ประจำปี และไม่มีเหลือให้โอนไปใช้ ก็เลยใช้วิธีแก้กฎหมายไปเลย ไม่ต้องปรับปรุงวิธีการ ทำงานของตัวเอง... บัญชีสำรองพิเศษ..ปราการด่านสุดท้ายในยามวิกฤตดร.ธีระบูลย์ อินทรกำธรชัย นักบริหารเงิน ได้ยกกรณีศึกษาหากประเทศชาติเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินขึ้น จะเห็นความสำคัญของบัญชีสำรองพิเศษว่ามีความจำเป็นที่ต้องรักษาไว้ และควรต้องสะสมเพิ่มพูนให้มากขึ้นอีกด้วย ดังเหตุผลในบทความเรื่อง คลังหลวงกับวิกฤตการณ์ทางการเงินในอนาคต ดังนี้          ...ทุนสำรองเงินตราหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าบัญชีฝ่ายออกบัตรเป็นส่วนหนึ่งของทุนสำรองระหว่างประเทศ (Official Foreign Reserves) ทุนสำรองเงินตราประกอบด้วย 3 บัญชีย่อยคือ บัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษ            วัตถุประสงค์หลักของทุนสำรองเงินตราคือรัฐต้องการให้สาธารณชนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศได้มั่นใจว่าจะไม่มีการพิมพ์ธนบัตรมากมายโดยไม่มีขีดจำกัด อันจะนำไปสู่สภาวะเงินเฟ้อที่ควบคุมไม่ได้  วิธีการจำกัดปริมาณธนบัตรออกใช้ก็กระทำโดยกำหนดให้ธนบัตรทุกบาทที่ออกใช้นั้น รัฐ(โดยธนาคารแห่งประเทศไทย)จะต้องหาทรัพย์สินที่มีความมั่นคงสูงในมูลค่าเท่ากันมาหนุน ได้แก่ ทองคำ เงินตราต่างประเทศ หลักทรัพย์มั่นคงสูงในสกุลเงินต่างประเทศ สำหรับหลักทรัพย์สกุลเงินบาทที่มีความมั่นคงสูง เช่นพันธบัตรรัฐบาลไทย ก็สามารถนำมาหนุนธนบัตรออกใช้ได้หากจำเป็นแต่ต้องไม่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด          โดยหลักการที่กำหนดไว้ บัญชีทุนสำรองเงินตราจะถูกบริหารจัดการให้มีค่าเท่ากับธนบัตรออกใช้เพราะเป็นบัญชีที่หนุนธนบัตรโดยตรง (ในการเทียบค่าจะต้องมีการแปลงมูลค่าเงินตราและหลักทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศเป็นบาท ซึ่งในปัจจุบันยังใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ ต้นปีปฏิทิน) ส่วนบัญชีสำรองพิเศษนั้น วัตถุประสงค์หลักของบัญชีนี้มีไว้เพื่อเป็นหลักประกันว่าบัญชีทุนสำรองเงินตราจะมีค่าไม่น้อยกว่าธนบัตรออกใช้เสมอ ยกตัวอย่างในกรณีที่เงินบาทแข็งค่าเมื่อคิดจากต้นปีถึงปลายปีใด มูลค่าของสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา (เมื่อเทียบค่าเป็นบาท ณ ต้นปี) ซึ่งได้ถูกจัดไว้ให้เท่ากับธนบัตรออกใช้จะต่ำกว่าธนบัตรออกใช้เมื่อคิดเทียบจากอัตราแลกเปลี่ยน ณ ปลายปี  แต่เดิมกฏหมายกำหนดให้ต้องโอนสินทรัพย์เข้าหนุนเพิ่มโดยโอนจากบัญชีผลประโยชน์ประจำปีเข้าบัญชีทุนสำรองเงินตราก่อน หากไม่พอจึงให้โอนจากบัญชีสำรองพิเศษเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษามูลค่าของบัญชีทุนสำรองเงินตราให้เท่ากับธนบัตรออกใช้เสมอ  บัญชีผลประโยชน์ประจำปีนั้นเป็นที่รวมผลประโยชน์(ดอกเบี้ย) ที่เกิดขึ้นในระหว่างปีจากสินทรัพย์ทั้งในบัญชีทุนสำรองเงินตราและบัญชีทุนสำรองพิเศษ (เหตุที่ต้องกันส่วนที่เป็นผลประโยชน์ออกจากบัญชีทุนสำรองเงินตราก็เพื่อรักษามูลค่าของสินทรัพย์ในบัญชีนี้ให้เท่ากับธนบัตรออกใช้คือไม่ให้ขาดหรือเกินนั่นเอง) แต่เดิมผลประโยชน์ระหว่างปีทั้งหมดที่สะสมอยู่ในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีหลังจากหัก ก) ค่าใช้จ่ายอันเนื่องจากกิจการการพิมพ์ธนบัตร และ ข) ส่วนที่โอนเข้าบัญชีทุนสำรองเงินตราเพราะมีการขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์หรืออัตราแลกเปลี่ยน(หากมีเหตุจำเป็นต้องมีการโอนเช่นนั้น) ส่วนที่เหลือ(หากมี) ก็จะถูกโอนไปบัญชีสำรองพิเศษเพื่อเก็บสะสมไว้ แต่ในพ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ขอเรียกสั้นๆ ว่า พ.ร.ก. เงินตรา พ.ศ. 2545) อนุญาตให้นำผลประโยชน์ดังกล่าวหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว โอนเข้าบัญชีสะสมพิเศษที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปชำระคืนเงินต้นพันธบัตรที่ออกเนื่องจากความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ และร่างพ.ร.บ. เงินตราฉบับล่าสุดซึ่งขอเรียกสั้นๆ ว่าร่างพ.ร.บ. เงินตรา พ.ศ. 2550 (ถูกชะลอไม่นำเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบัน แต่อาจจะนำเข้าสภาในสมัยหน้า) ได้กำหนดให้บัญชีผลประโยชน์ประจำปีไม่ต้องรับการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในบัญชีทุนสำรองเงินตรา (ข้อ ข) ข้างต้น แต่ให้บัญชีสำรองพิเศษรับแทน  โดยนัยนี้ โอกาสที่บัญชีสำรองพิเศษจะเพิ่มพูนขึ้นจากผลประโยชน์ประจำปีดังเช่นในอดีตจึงยากที่จะเกิดขึ้นอีก จนกว่าการชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯจะแล้วเสร็จซึ่งคาดว่าจะเป็นระยะเวลาประมาณ 20-30 ปี (ยกเว้นในปีที่เงินบาทอ่อนค่าทำให้มีสินทรัพย์ส่วนเกินในบัญชีทุนสำรองเงินตรา สามารถโอนมาที่บัญชีสำรองพิเศษได้ แต่ในกรณีนี้ผลรวมของทั้งสามบัญชีคือทุนสำรองเงินตราจะมีค่าเท่าเดิม ต่างจากเดิมซึ่งทุนสำรองเงินตรามีโอกาสเพิ่มพูนขึ้นจากผลประโยชน์ทุกๆ ปี)           ขนาดของบัญชีทั้งสามในทุนสำรองเงินตรา ณ ปัจจุบัน เป็นเท่าใด จากตัวเลขที่แถลงโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ปริมาณธนบัตรออกใช้ ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เท่ากับ 740,380 ล้านบาท หากคิดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ(โดยประมาณ) จะเห็นได้ว่าบัญชีทุนสำรองเงินตรามีขนาดประมาณ 21,775 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับบัญชีสำรองพิเศษนั้น ณ ปัจจุบันมีขนาดประมาณ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (จากการเปิดเผยของธปท.ในการทำประชาพิจารณ์ร่างพ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2550 เมื่อประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. 2550) ส่วนบัญชีผลประโยชน์ประจำปีนั้นพออนุมานได้คร่าวๆ โดยสมมติให้อัตราผลตอบแทนประมาณร้อยละ 4  ผลประโยชน์รวมของทั้งบัญชีทุนสำรองเงินตราและบัญชีสำรองพิเศษจะเท่ากับ 1,470 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยประมาณ (หรือประมาณ 50,000 ล้านบาท)          หากจะถามว่าบัญชีสำรองพิเศษซึ่งมีขนาด 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นเพียงพอที่จะเสริมความมั่นใจให้กับธนบัตรออกใช้ได้ดีเพียงไร?  คำตอบก็คือ หากค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่องดังที่คาดการณ์กันอยู่ บัญชีสำรองพิเศษจะมีขนาดลดลงเรื่อยๆ หากร่างพ.ร.บ. เงินตรา พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้   ทั้งนี้เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทจะทำให้ต้องส่งสินทรัพย์หนุนบัญชีทุนสำรองเงินตราที่หนุนธนบัตรออกใช้ทุกสิ้นปีเพื่อชดเชยผลขาดทุนจากการตีราคาของบัญชีดังกล่าว หรืออีกนัยหนึ่งเพื่อทำให้มูลค่าบัญชีทุนสำรองเงินตรามีค่าเท่ากับปริมาณธนบัตรออกใช้ นอกจากนี้ร่างพ.ร.บ. เงินตรา พ.ศ. 2550 ยังคงรักษาความใน พ.ร.ก. เงินตรา พ.ศ. 2545 p35.7.jpg  ที่ระบุให้สามารถนำเงินและสินทรัพย์จากบัญชีผลประโยชน์ประจำปีไปเสริมบัญชีสะสมพิเศษเพื่อใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯได้ด้วย  เมื่อกฎหมายเป็นดังนี้ ธปท.ก็จะนำสินทรัพย์จากบัญชีสำรองพิเศษเข้าชดเชยผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนในบัญชีทุนสำรองเงินตรา(หากเกิดขึ้นจริง) เพราะเงินและสินทรัพย์ในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีถูกนำเข้าบัญชีสะสมพิเศษทั้งหมด          ในกรณีหลังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่าบัญชีสำรองพิเศษจะลดลงเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น ขอให้ดูตัวอย่างจากตารางที่ 1 โดยตั้งสมมติฐานให้ยอดธนบัตรออกใช้ขยายตัวร้อยละ 5 ต่อปี ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องระหว่างปี พ.ศ.  2551-2553 จาก 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สมมติฐานนี้น่าจะอยู่ในภาวะวิสัยที่เป็นไปได้เมื่อมองสภาพเศรษฐกิจของไทยและภาวะการเงินระหว่างประเทศ ณ ต้นปี พ.ศ.  2551  จากตารางดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ณ ปลายปี พ.ศ.  2553 บัญชีสำรองพิเศษจะลดลงจาก 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(ณ ปลายปี พ.ศ.  2550 หรือต้นปี พ.ศ.  2551) เหลือเพียงประมาณ 10,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือลดลงร้อยละ 28 โดยประมาณซึ่งนับว่าไม่น้อยในช่วงระยะเวลาเพียง 3 ปี  (หากคิดในกรณีเดิมที่ไม่มีการตั้งบัญชีสะสมพิเศษเพื่อใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ บัญชีสำรองพิเศษจะมีค่าเกือบไม่เปลี่ยนแปลงเลยภายใต้สมมติฐานภาวะเศรษฐกิจเดียวกัน และข้อสมมติฐานเพิ่มที่ให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของบัญชีทุนสำรองเงินตราและบัญชีสำรองพิเศษเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี)
ตารางที่ 1 พ.ศ.
2550 2551 2552 2553
ปริมาณธนบัตรออกใช้ ณ ปลายปี  (ล้านบาท)  (ขยายตัว 5% ต่อปี) 750,000 787,500 826,875 868,219
อัตราแลกเปลี่ยน  (บาท/ดอลลาร์)   ปลายปี 34 32 30 29
ปริมาณสินทรัพย์ที่ธปท.นำมาแลกเปลี่ยนธนบัตรในระหว่างปี  (ล้านดอลลาร์)   1103 1230 1378
บัญชีทุนสำรองเงินตราจากปีก่อนรวมกับสินทรัพย์ที่เพิ่มระหว่างปี (ล้านดอลลาร์) 22,059 23,162 25,840 28,941
มูลค่าบัญชีทุนสำรองเงินตราที่ต้องดำรง    ปลายปี (ล้านดอลล่าร์) 22,059 24,609 27,563 29,939
ส่วนที่ต้องหนุนเพิ่มจากบัญชีสำรองพิเศษ(ล้านดอลลาร์)   1,448 1,723 998
ยอดคงเหลือในบัญชีสำรองพิเศษ (ล้านดอลลาร์) 15,000 13,552 11,830 10,832
 การวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ภายใต้สมมติฐานที่น่าจะเป็นไปได้พอสมควร แต่หากลองวางการวิเคราะห์ภายใต้สมมติฐานที่เลวร้ายที่สุด เพื่อจะตรวจสอบความสามารถของบัญชีสำรองพิเศษในการรับมือกับภาวะการเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้น(แม้จะมีโอกาสน้อย) โดยลองสมมติให้อัตราแลกเปลี่ยน ณ ปลายปี พ.ศ.  2553 เป็น 27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และในปีดังกล่าวภาวะเศรษฐกิจของประเทศอ่อนตัวลงอย่างมากเนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากทำให้การส่งออกมีปัญหา ส่งผลให้ภาคธุรกิจเอกชนโดยรวมเกิดวิกฤต ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจในความมั่นคงของสถาบันการเงิน ประกอบกับความกังวลที่เงินฝากอาจจะไม่ได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวนดังเช่นในอดีต ทำให้ประชาชนพากันถอนเงินจากธนาคารและถือเงินสดp35.8.jpg  (ธนบัตร)มากขึ้น(อย่างน้อยเป็นการชั่วคราว) ปัจจุบันฐานเงินฝากทั้งระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ประมาณ 8 ล้านล้านบาท สมมติว่าร้อยละ 10 ของเงินฝากทั้งระบบถูกถอนเป็นเงินสด ทำให้ธปท.ต้องเพิ่มธนบัตรออกใช้เกินกว่ากรณีปกติอีกประมาณ 800,000 ล้านบาท ผลที่เกิดกับบัญชีสำรองพิเศษจะเป็นไปดังแสดงในตารางที่ 2 คือจะเหลือเพียงประมาณ 5,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือลดลงไปเกือบร้อยละ 60 จากระดับปัจจุบัน และในภาวะการณ์ดังกล่าว บัญชีสำรองพิเศษจะมีขนาดเพียงร้อยละ 9 ของบัญชีทุนสำรองเงินตราเท่านั้น ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างอันตราย แม้ว่าสถานการณ์เลวร้ายข้างต้นจะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย แต่การศึกษาผลกระทบจากกรณีดังกล่าวย่อมเป็นสิ่งที่สมควรกระทำเพราะเป็นการตรวจสอบความสามารถของบัญชีสำรองพิเศษในการทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ที่ถูกกำหนดไว้แต่เดิม  ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นเพื่อชี้ให้เห็นว่าขนาดของบัญชีสำรองพิเศษมิได้มีขนาดใหญ่พอที่จะทำให้เกิดความน่าไว้วางใจเท่าใดนัก  ยิ่งไปกว่านั้น พ.ร.ก. เงินตรา พ.ศ. 2545 ยังอนุญาตให้นำสินทรัพย์จากบัญชีสำรองพิเศษเข้าหนุนในบัญชีทุนสำรองเงินตราเพื่อพิมพ์ธนบัตรเพิ่มได้โดยตรงโดยไม่จำกัด ซึ่งธปท.ยอมรับว่ามีความจำเป็นในขณะออกพ.ร.ก.นั้น แต่ปัจจุบันไม่มีการกระทำเช่นนั้นแล้ว อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่เปิดช่องให้กระทำเช่นนั้นยังอยู่  สมควรที่จะได้มีการแก้กฎหมายในประเด็นนี้โดยเร็ว  เพราะหากมีการใช้ช่องทางนี้พิมพ์ธนบัตรอีกในอนาคต ผลกระทบที่ตามมาจะทำให้บัญชีสำรองพิเศษลดลงอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะแทนที่จะใช้บัญชีสำรองพิเศษเพื่อกันผลกระทบจากการขาดทุนจากการตีราคาตามอัตราแลกเปลี่ยน กลับเพิ่มวัตถุประสงค์อีกหนึ่งประการคือนำไปใช้พิมพ์ธนบัตรได้ด้วย ทำให้เจตนารมย์ของกฎหมายเดิมถูกบิดเพี้ยนไปอย่างมาก   สำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบต่อบัญชีสำรองพิเศษในกรณีนี้จะละเว้นไว้ เนื่องจากธปท.อ้างว่าไม่ได้กระทำเช่นนั้นแล้วและได้โอนคืนธนบัตรที่เกิดจากการใช้บัญชีสำรองพิเศษหนุนโดยตรงกลับคืนให้ฝ่ายออกบัตรหมดแล้ว
ตารางที่ 2 พ.ศ.
2550 2551 2552 2553
ปริมาณธนบัตรออกใช้ ณ ปลายปี  (ล้านบาท)  (ขยายตัว5% ต่อปี) 750,000 787,500 826,875 1,668,219
 อัตราแลกเปลี่ยน  (บาท/ดอลลาร์)    ปลายปี 34 32 30 27
ปริมาณสินทรัพย์ที่ธปท.นำมาแลกเปลี่ยนธนบัตรในระหว่างปี  (ล้านดอลลาร์)   1103 1230 28045
บัญชีทุนสำรองเงินตราจากปีก่อนรวมกับสินทรัพย์ที่เพิ่มระหว่างปี(ล้านดอลลาร์) 22,059 23,162 25,840 55,607
มูลค่าบัญชีทุนสำรองเงินตราที่ต้องดำรง    ปลายปี(ล้านดอลลาร์) 22,059 24,609 27,563 61,786
ส่วนที่ต้องหนุนเพิ่มจากบัญชีสำรองพิเศษ(ล้านดอลลาร์)   1,448 1,723 6,179
ยอดคงเหลือในบัญชีสำรองพิเศษ (ล้านดอลลาร์) 15,000 13,552 11,830 5,651
 กล่าวโดยสรุป บัญชีสำรองพิเศษ นั้นมิได้มีขนาดใหญ่มากหรือเหลือเฟือสำหรับการทำหน้าที่เป็นปราการด่านสุดท้ายในการรักษาค่าเสมอภาคของธนบัตรออกใช้ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์เดิมของบัญชีนี้  ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยแต่ประสบวิกฤตการณ์ที่ค่าเงินบาทอ่อน ซึ่งส่งผลให้บัญชีสำรองพิเศษเพิ่มพูนขึ้นโดยที่สาธารณชนไม่ค่อยได้รับทราบ  แต่ในวิกฤตการณ์ที่จะเกิดในวันข้างหน้าอาจเป็นไปในทางกลับกันคือเป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดจากเงินบาทแข็งค่า ซึ่งจะเป็นโอกาสที่บัญชีสำรองพิเศษได้ทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์เดิม แต่เนื่องจากมีการโอนผลประโยชน์จากบัญชีในฝ่ายออกบัตรไปเข้าบัญชีสะสมพิเศษเพื่อใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ทำให้บัญชีสำรองพิเศษอาจไม่มีโอกาสได้เติบโตตามการขยายตัวของบัญชีทุนสำรองเงินตรา ส่งผลให้ความสามารถของบัญชีสำรองพิเศษในการรองรับวิกฤตการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าต้องลดลงอย่างน่าเสียดาย                    ควรแก้โครงสร้างภาษี  เป็นธรรมกับประชาชนชั้นล่างและกลาง          ดร.วิวัฒน์ชัย  อัตถากร นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สรุปโดยย่อดังนี้          ...ภาระกิจหลักของ ธปท. คือ การดูแลความมั่นคงทางการเงินของชาติ รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ไม่ให้เกิด เงินเฟ้อ / เงินฝืด / เงินตึงจนเกินไป กำหนดนโยบายการเงินอย่างเหมาะสม กำกับตลาดการเงิน ตลาดทุน และสถาบันการเงิน ดูแลค่าเงินบาทหรืออัตราแลกเปลี่ยนให้มีค่าถูกต้องสม่ำเสมอ ไม่ผันผวน มีเสถียรภาพ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน                          ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคือ หลักการ หากแต่ในทางการปฏิบัติอาจทำได้บ้าง หรือทำไม่ได้บ้าง หรือทำไม่ได้เลย หรือทำแล้วประสบความล้มเหลวดังเช่นวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อปี พ.ศ. 2540 กลายเป็น โศกนาฏกรรมต้มยำกุ้ง ที่ยังเป็นเหตุการณ์ฝังใจคนไทยอย่างไม่รู้ลืม ประเทศไทยขาดทุนจากการปกป้องค่าบาทนับแสนล้านบาท และขาดทุนหลายแสนล้านบาทจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทเงินทุน 56 แห่งที่ปิดกิจการ ดำเนินการโดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน(ปรส.)... อันเป็นผลสืบเนื่องจากการจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในกรอบคิดที่ผิด โดยเฉพาะp35.9.jpg  ปรัชญาว่าด้วยสถาบันการเงินล้มไม่ได้ต้องอุ้ม ถึงแม้ว่าการบริหารนั้นขาดประสิทธิภาพและมีการฉ้อฉลปนอยู่ด้วยก็ตามแต่  ความจริงจะโทษเป็นความล้มเหลวของ ธปท.ฝ่ายเดียวคงไม่ได้ อันที่จริงเป็นผลจากความผิดพลาดของแนวทางและการพัฒนาของฝ่ายการเมืองในหลายๆ รัฐบาลรวมอยู่ด้วยจนนำมาซึ่งฟองสบู่แตก รวมไปถึงการฉ้อฉลคดโกงในภาคการเงิน ภาคบรรษัท ภาคการเมือง ภาคราชการ ตลอดจนกิเลสอันล้นเกินของภาคประชาชนอีกด้วย          อย่างไรก็ตามธปท.คงปฏิเสธความรับผิดชอบในฐานะ “ปราการทางการเงิน” ของชาติได้ยากยิ่ง ในภาวะวิกฤตธปท.ย่อมเป็นประหนึ่งปราการด่านสุดท้ายทางเศรษฐกิจ ที่คนไทยหวังเป็นที่พึ่งพิงได้ ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับจนถึงประมาณ 33 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นค่าที่ไม่สะท้อนปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ แต่การเข้าไปแทรกแซงเพื่อชะลอค่าที่แข็งขึ้นครั้งนั้น กล่าวกันว่าธปท.ขาดทุนกว่า 170,000 ล้านบาท อันที่จริงหลังวิกฤตการณ์ปี พ.ศ. 2540 ธปท.เองก็มีความตั้งใจที่จะปรับตัวเองและพัฒนาขนานใหญ่ เพื่อเรียกศรัทธากลับคืนมา หากย้อนมองความจริงในอดีตถึงการบริหารยุคผู้ว่าการธปท. ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย  อึ้งภากรณ์ ได้เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการต่างประเทศอย่างกว้างขวางว่า เงินบาทเป็นเงินสกุลหนึ่งที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในโลกนานนับสิบปีอันเป็นผลจากการบริหารยึดหลักความซื่อสัตย์สุจริตอย่างเคร่งครัดในยุคนั้น   p35.10.jpgธปท.มีหน่วยงานสองฝ่ายดูแลค่าเงินบาท ได้แก่ ฝ่ายการธนาคารและฝ่ายออกบัตร รายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศจากการขายสินค้าและบริการส่งออกให้นำเข้าบัญชีฝ่ายการธนาคาร  ฝ่ายนี้รับผิดชอบด้านการปกป้องค่าเงิน รวมถึงการเก็งกำไรในตลาดเงินตราต่างประเทศ ส่วนฝ่ายออกบัตรมีหน้าที่หลักในการผลิตธนบัตร     ตามหลักกฎหมายกำหนดให้ทุกบาทที่พิมพ์ออกมาจะต้องหนุนหลังโดยทุนสำรองเงินตราในรูปทองคำและเงินตราต่างประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และพันธบัตรรัฐบาลได้ไม่เกินร้อยละ 40 ฝ่ายออกบัตรประกอบด้วยสามบัญชีคือ บัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษ ในทางปฏิบัติจะโอนเงินตราต่างประเทศจากฝ่ายการธนาคาร มาเข้าบัญชีทุนสำรองเงินตรา ยามใดเมื่อมีการพิมพ์ธนบัตร          ปัจจุบันบัญชีทุนสำรองเงินตรามีทรัพย์สินประมาณเกือบ 8 แสนล้านบาท สำหรับดอกผลจากทุนสำรองเงินตรา จะถูกนำเข้าบัญชีผลประโยชน์ประจำปี ตอนนี้มีรวม 1 หมื่นล้านบาทเศษ ส่วนที่เหลือจากค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบัญชีผลประจำปี จะโยกไปไว้ในบัญชีทุนสำรองพิเศษ ซึ่งมีรวมกันกว่า 7 แสนล้านบาท บัญชีนี้รวมถึงบัญชีผ้าป่ามหากุศลกู้ชาติของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานีอยู่ด้วย เงินทั้ง 3 บัญชีมีรวมกันอยู่p35.11.jpg   ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ในอดีตด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลด้านความมั่นคงทางการคลังของประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงิน 12 ล้านบาท (เมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีที่แล้วมีมูลค่ามหาศาล) เป็นทุนประเดิมในคลังหลวง เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจักต้องจารึกและจดจำ เพราะเงินจำนวนนี้เป็นเสมือน เงินขวัญถุง” อันเป็นสิริมงคลอเนกอนันต์ที่รักษาไว้เรื่อยมา เป็นเงินเริ่มต้นเข้าคลังหลวงเพื่อสร้างรากฐานความมั่นคงให้กับประเทศซึ่งจัดอยู่ในบัญชีสำรองพิเศษ เรื่องอดีตที่ทรงคุณค่าน่าจดจำอย่างนี้ กลับไม่ได้รับการบอกกล่าวเล่าต่อ ถ่ายทอดให้ลูกหลานไทยได้รับรู้รับทราบ จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมคนไทยสมัยนี้จึงทำตัวเป็นคนไร้ราก          ปรับแก้ให้รอบด้านบนฐานคิดที่รอบด้าน เรื่องของการปรับปรุงกฎหมายเพื่อก้าวให้ทันโลก คงไม่มีใครเถียงว่า ถ้าดีจริง?!? ทำนองกลับกันธปท.ก็ควรใส่ใจรับฟังเสียงท้วงติงเสนอแนะจากสังคมอย่างจริงจังด้วยเช่นกัน อย่างนี้แล้ว การพัฒนาตัวบทกฎหมายจึงจะสามารถนำพาการบริหารนโยบายการเงินของชาติยกระดับสู่ คุณภาพใหม่ ได้ไม่ยาก ควรเลื่อนพิจารณา ร่างพ.ร.บ.เงินตราออกไปอีกซัก 3 ถึง 4 สัปดาห์ เปิดเวทีสาธารณะถกกันปรับปรุงให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงเสนอต่อสนช.ใหม่ ไม่ใช่ไปเร่งรีบรวบรัดอย่างที่ รมช.คลัง ผลักดันอย่างเต็มเหนี่ยวจะให้ผ่านสนช.ในวันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550 นี้ให้จงได้ ของดีจริงต้องผ่านการกลั่นกรองให้มีส่วนร่วมจากสาธารณะในวงกว้าง โดยเฉพาะกฎหมายการเงินฉบับนี้ จะผูกพันกับการได้เสียบนชีวิตของคนไทยในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ รัฐบาลจึงควรทำความเข้าใจกับประชาชนให้ดีกว่านี้           เป็นที่น่าสังเกตว่าหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ธปท.ขาดทุนสะสมแทบทุกปี ผลขาดทุน 1,742 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2548 เพิ่มเป็น 102,287 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2549 เป็นผลจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และดอกเบี้ยจ่ายจากการเข้าดูแลค่าเงินบาทเป็นหลัก ธปท.ยังมีภาระต้องชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูเพื่อการพัฒนาสถาบันการเงิน(กรส.)ในส่วนเงินต้น และกระทรวงการคลังในส่วนดอกเบี้ย การที่ธปท.ดำเนินงานขาดทุนจึงไม่สามารถนำเงินส่งกระทรวงการคลังได้ ส่วนเงินต้นของกรส. มีค้างชำระอยู่หลายแสนล้านบาท อีกทั้งกระทรวงการคลังต้องแบกภาระดอกเบี้ยถึงปีละ 6 หมื่นล้านบาท       ผมมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้          ๑. แก้กฎหมายให้ธปท.นำเงินเฉพาะของฝ่ายการธนาคารลงทุนได้มากขึ้น โดยจัดความเสี่ยงให้เหมาะสม อย่าแก้กฎหมายให้นำทุนสำรองจากสามบัญชีในฝ่ายออกบัตร ไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ควรเก็บรักษาไว้เพื่อแนวทางเดิมจะดีกว่า          ๒. ออกกฎหมายเก็บภาษีมรดก ภาษีกำไรจากการขายหุ้น และแก้ภาษีกำไรจากการเก็งกำไรที่ดินให้มีอัตราก้าวหน้ายิ่งขึ้น นำเงินภาษีดังกล่าวมาแก้ไขความเสียหายจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน ในส่วนดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังรับภาระอยู่  ส่วนภาระเงินต้นให้ กรส.รับผิดชอบครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งนำมาจากภาษีทางตรงตัวใหม่ดังกล่าว ทำอย่างนี้เป็นธรรมกับประชาชนคนชั้นกลางและชั้นล่างมากกว่า ไม่ต้องแบกรับจนเกินไป เพราะไม่ใช่ ตัวการ ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ในครั้งนั้นเลย โครงสร้างภาษีที่ดำรงอยู่ไม่ยุติธรรม เพราะพึ่งพาภาษีทางอ้อมทุกยุคทุกรัฐบาล จนป่านนี้ยังไม่มีพรรคการเมืองใดๆ กล้าหาญชาญชัยคิดจะปฏิรูปภาษีที่ทางตรงตัวใหม่ดังกล่าวเลยมาช้านานแล้ว การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจการเมือง จึงมักสร้างภาวะให้คนชั้นล่างที่หมดทางไป มายาวนานชั่วนาตาปีก็ว่าได้
ว๊าก..เอะอะก็มาลงที่ห่านไปถอนขนนกกระจอกเทศบ้างซิ...
          ๓. ไม่ปฏิเสธการมอบบทบาทสำคัญแก่ ธปท.ในการบริหารนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนแต่ควรมีการคาดคะเนให้ดี การมีคณะกรรมการหลายชุด มิใช่จะมีหลักประกันอย่างดีพร้อมเสมอไปอย่างที่ธปท.อ้าง ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบชำระเงิน ซึ่งจะมีคนภายนอกมากกว่ากรรมการจากธปท. แต่มักครอบงำด้วยจิตสำนึกคิดยึดติดคัมภีร์การเงินของฝรั่งอย่างไม่จำแนกแยกแยะ ขาดความลึกซึ้งในกระบวนการโลกาภิวัฒน์ที่มีทั้งโอกาสและภัยคุกคามดีไม่ดีอาจมีp35.12.jpg ประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นได้ไม่ยาก ดังนั้นจึงควรมีกลไกคัดค้านจากภาคประชาชน นักวิชาการอิสระ และรัฐสภา อย่างเป็นจริงเสมอๆ                          ๔. ที่รมช.คลังอ้างความเร่งด่วน บอกให้เร่งผ่าน สนช.วาระแรกเลย แล้วค่อยไปแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ ในสมัยรัฐบาลชั่วคราวอยากผลักดันกฎหมายไหนให้ผ่านเร็วๆ ก็จะเล่นมุขนี้ทั้งนั้น ผมกลับมองต่างมุมว่า กฎหมายที่มีความสำคัญต่ออนาคตของชาติอย่างนี้ ควรทำให้เรียบร้อยก่อนนำเข้า สนช.จะดีกว่า โดยการเปิดเวทีสาธารณะเคารพการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง ปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ให้สมบูรณ์เสียก่อน มากกว่าจะไปทำกันในกรรมาธิการไม่กี่สิบคน อย่าให้คนเขาวิจารณ์กันเลยว่า จะเร่งรีบรวบรัดเพื่ออะไรไปถึงไหน ก็รู้อยู่แก่ใจว่ายุคนี้เป็นยุครวบอำนาจ คมช.สภาเดียวอยู่แล้ว                ควรเลื่อนการพิจารณา พ.ร.บ. เงินตราออกไป ทำให้สมบูรณ์เสียก่อนแล้วนำสู่สนช.พิจารณาต่อไปหากอยากได้ของดีเป็นที่ยอมรับกันทุกฝ่าย เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่มีอะไรล่าช้าไปหรอกครับ…”          จากการที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน คณะสงฆ์ นักวิชาการ ตลอดจนพี่น้องประชาชนชาวไทยได้เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกร่างพระราชบัญญัติเงินตราฉบับดังกล่าว ด้วยความเข้าใจในเหตุผลทำให้รัฐบาลถอนร่างกฎหมายดังกล่าวออกจากกระบวนการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในที่สุด

p35.13.jpg