ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow ข่าวจากสื่อ arrow แค่คิดก็สะเทือนแล้ว
แค่คิดก็สะเทือนแล้ว PDF พิมพ์ อีเมล์
  

แค่คิดก็สะเทือนแล้ว - ข่าวไทยรัฐออนไลน์

 

ไทยรัฐออนไลน์วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2554 

 

แค่คิดก็สะเทือนแล้วกำลังเป็นหัวข้อสำคัญที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากทั้งสนับสนุนและคัดค้าน ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ก็มีแนวคิดที่ต้องการดำเนินการในการจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติ  (Sovereign Wealth Fund) หรือ SWF เพื่อนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ  เป็นบริษัทของรัฐบาล แต่ดำเนินการแบบเอกชนสำหรับเม็ดเงินที่จะนำไปลงทุนนั้น จะมีหลายลักษณะ  เช่น มาจากเงินทุนสำรองของประเทศ มาจากเงินกองทุนสะสมจากธุรกิจที่ได้กำไรมาก เช่น  น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ สินทรัพย์จากเงินตราต่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะเลือกใช้เม็ดเงินจากแหล่งไหน  แต่ที่สำคัญการตั้งกองทุนมั่งคั่งนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นประเทศที่มีเงินคงคลังเหลือเฟือ เช่น สิงคโปร์  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุฯ คูเวต จีน ฯลฯ กองทุนอาบู ดาบิ อินเวสต์เมนต์ ออทอริตี้ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  ถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก  และกองทุนเทมาเสกของสิงคโปร์ก็โด่งดังด้วยการเข้ามาซื้อหุ้นชินคอร์ป จนมีเรื่องมีราวทำให้เกิดการเปลี่ยนทางการเมืองในประเทศไทยมาแล้ว

เมืองไทยนั้นยังไม่เคยมี กองทุนมั่งคั่งเกิดขึ้นมาก่อน  แต่หาใช่ว่าจะไม่มีแนวคิดนี้ เพียงแต่ว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะมีเสียงคัดค้านมาตลอดว่าไม่ควรนำเงินทุนสำรองประเทศไปใช้  เพราะสุ่มเสี่ยงกับหลักประกันสำคัญของประเทศ สมัยรัฐบาล สมัครโดย นพ.สุรพงษ์  สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีคลัง สมัยนั้น ก็คิดที่จะทำแต่ไม่สำเร็จ แน่นอนว่าแนวคิดนี้หากมองในแง่ดี ก็เพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากเงินที่กองเอาไว้เฉยๆเป็นการสร้างผลกำไรของประเทศ แต่อีกด้านหนึ่ง  เห็นว่าเป็นการเสี่ยงเกินไปที่จะนำทุนสำรองไปใช้ เพราะหากผิดพลาดก็จะเกิดความเสียหายใหญ่หลวงแก่ประเทศได้

นอกจากนั้น อาจจะเกิดความเสี่ยงหากนำไปลงทุนแล้วเกิดขาดทุนขึ้นมาได้  เพราะมันเป็นเรื่องการเก็งกำไรมากกว่า ที่สำคัญก็คือ การนำเงินของชาติ  นำเงินภาษีของประชาชนไปใช้ หากเกิดผิดพลาดขึ้นมาก็เท่ากับว่าเอาเงินไปเสี่ยงให้กับคนทั้งประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นเมืองไทยก็หาใช่ว่าจะร่ำรวยล้นฟ้า  แถมยังมีหนี้ก้อนใหญ่ที่ยังเป็นปัญหาสำหรับทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ พูดง่ายๆว่ายังไม่มีความพร้อมพอ

ขณะเดียวกัน การบริหารกองทุน การตัดสินใจลงทุนในต่างประเทศ  สำหรับประเทศไทยยังไม่มีความชำนาญพอ  ที่เสี่ยงที่สุดก็คือ เรื่องความโปร่งใส ธรรมาภิบาล  ซึ่งประเทศไทยนั้นรู้กันดีว่ามีปัญหาในเรื่องนี้มาตลอด และยังไม่สามารถแก้ไขได้ ต่างกับสิงคโปร์ที่โปร่งใสทั้งระบบ คนของเขาก็มีความพร้อมในเชิงบริหารและจัดการ

นอกจากนี้ คนสิงคโปร์โดยรวมแล้วยังมี ความรอบรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ดี  ผิดกับคนไทยส่วนใหญ่ที่ยังไม่สันทัดรู้กันแค่งูๆปลาๆเท่านั้น  กระทรวงคลังได้จุดพลุเรื่องนี้ขึ้นมาและรัฐบาลชุดนี้ก็ขานรับและเน้นไปที่การลงทุนด้านพลังงาน   แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินการหรือไม่ หรือจะนำไปลงทุนในทิศทางไหนกันแน่

หากคิดจะทำกันจริงๆ ก็ต้องฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ ว่าจะเอาด้วยหรือไม่  เพราะเชื่อเลยว่าจะเกิดปัญหาขัดแย้งกันแน่

นอกจากนั้น จะต้องมีระบบตรวจสอบที่เข้มแข็ง ทั้งบุคลากรที่จะเข้ามาบริหารและจัดการ  รวมถึงกฎ ระเบียบต่างๆ ที่ต้องชัดเจนตรวจสอบได้อย่างครอบคลุมทั่วถึงทุกขั้นตอน เอาเข้าจริงแล้วคงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่หากรัฐบาลจะตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ  ด้วยการนำเงินจากกองทุนสำรองของประเทศมาใช้ในการนี้ เพราะที่ผ่านมา แค่ยังเป็นเพียงแนวคิดก็เกิดเสียงคัดค้านไปรอบด้าน  แม้แต่ผู้นำประเทศที่ซื่อสัตย์สุจริต เก่งกาจแค่ไหนก็ตาม

เพราะแม้เพียงแค่คิดเก้าอี้ก็สะเทือนแล้ว.

  

"สายล่อฟ้า"ไทยรัฐออนไลน์

  โดย สายล่อฟ้า

 http://www.thairath.co.th/column/pol/gladai/197454

แค่คิดก็สะเทือนแล้วกำลังเป็นหัวข้อสำคัญที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากทั้งสนับสนุนและคัดค้าน ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ก็มีแนวคิดที่ต้องการดำเนินการในการจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติ  (Sovereign Wealth Fund) หรือ SWF เพื่อนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ  เป็นบริษัทของรัฐบาล แต่ดำเนินการแบบเอกชนสำหรับเม็ดเงินที่จะนำไปลงทุนนั้น จะมีหลายลักษณะ  เช่น มาจากเงินทุนสำรองของประเทศ
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >