ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow ข่าวจากสื่อ arrow "กรณ์"หนุนแนวคิดรวม 3 บัญชีแบงก์ชาติ หวังนำเงินออกมาใช้ลดภาระหนี้รัฐบาลชดเชยชำระดอกเบี้ยจากหนี้กองทุ
"กรณ์"หนุนแนวคิดรวม 3 บัญชีแบงก์ชาติ หวังนำเงินออกมาใช้ลดภาระหนี้รัฐบาลชดเชยชำระดอกเบี้ยจากหนี้กองทุ PDF พิมพ์ อีเมล์

กรนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมที่จะทบทวนปัญหาของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งมีภาระหนี้กว่า 1.1 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลต้องรับภาระในการนำเงินงบประมาณมาชำระดอกเบี้ยจากหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ปีละ 65,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีเงินสำรองระหว่างประเทศในจำนวนที่สูงมากถึง 1.4 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ที่ผ่านมามีการนำเงินสำรองระหว่างประเทศมาใช้ประโยชน์เพื่อประเทศชาติหรือไม่ อีกทั้ง ประชาชนจะต้องสูญเสียโอกาสจากการที่รัฐต้องจัดสรรเงินงบประมาณมาชำระดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯ แทนที่จะนำไปใช้พัฒนาสังคมและดูแลประชาชน

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ มีหลายแนวทาง ทั้งการแก้ไขกฎหมาย ธปท. ตามแนวคิดของนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เศรษฐกิจ ที่เสนอให้รวมบัญชีของ ธปท. ซึ่งเคยมีการเสนอมาในอดีต เพื่อนำเงินสำรองระหว่างประเทศมาชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ

รวมถึง แนวทางการให้กระทรวงการคลังออกพันธบัตรดอกเบี้ยต่ำ เพื่อแลกกับพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ที่มีดอกเบี้ยสูง โดยให้ ธปท.ใช้เงินสำรองระหว่างประเทศมารับซื้อพันธบัตรดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการลดภาระโดยไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย

"แนวคิดรวมบัญชีที่เคยพิจารณามาในอดีต ก็ต้องนำมาประเมินข้อดีข้อเสีย ผลต่อเศรษฐกิจ อธิบายให้ทุกฝ่ายเข้าใจ และเป็นที่ยอมรับ หนี้สินกองทุนฟื้นฟูฯ จะหมดต้องใช้เวลากว่า 10 ปี เพราะจะหมดไปปีละ 40,000 ล้านบาท เราจะชำระคืนก่อนกำหนดก็ไม่ได้ อีกทางก็เห็นว่า ธปท.มีบัญชีลงทุนในบัญชีสำรองเงินตรา ซึ่งไม่เคยเดือดร้อน เพราะปัจจุบันก็เอาเงินบัญชีนี้ซื้อพันธบัตรต่างประเทศ ดอกเบี้ยศูนย์ และดอลลาร์อ่อนค่าลง และตามกฎหมายก็มีช่อง 40% ให้นำเงินไปซื้อพันธบัตรของไทยได้"

นายกรณ์ กล่าวว่า ได้มีการหารือในเรื่องดังกล่าวกับนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และผู้ว่าการ ธปท.แล้ว และคงต้องศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกระยะว่าแนวทางใดมีความเหมาะสมเพื่อแก้ปัญหานี้ให้หมดไป และเพื่อสะท้อนให้ต่างชาติเห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วอย่างแท้จริง ทั้งจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 และวิกฤติซับไพร์ม

อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการแก้ปัญหาหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อลดภาระเงินงบประมาณของรัฐบาล ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องเข้าหารือ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับหลวงตามหาบัวที่เคยคัดค้านการนำเงินในคลังหลวงมาใช้  และไม่มีเหตุที่จะต้องต่อต้านเรื่องนี้

"เราไม่ได้บอกว่าจะรวมบัญชี แต่ปัญหาอยู่ตรงนี้ พวกเราก็วิเคราะห์ว่ามีปัญหา และมีหลายแนวทางที่จะแก้ ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของดีกรีปัญหา"
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >