ปัจจันตคิรีเขตร (เกาะกง) ไปแล้วไปลับไม่กลับคืน |
|
|
|
จังหวัดเกาะฮ์กงหรือเกาะกง(Koh Kong) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศกัมพูชา ที่มีพื้นที่ ๑๑,๑๖๐ ตารางกิโลเมตร เกาะกงอยู่ติดชายฝั่งทะเล บริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศเหนือติดกับจังหวัดโปสัตหรือโพธิสัต (Pursat) ส่วนทิศตะวันออกติดกับจังหวัดก็อมปงซปือ หรือกัมปงสปือ (Kangpong Speu) และจังหวัดก็อมโปต หรือกำปอต (Kampot) ส่วนทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเมืองสิหนุวิลล์ และอ่าวไทย เมืองหลวง คือ กรุงเขมรรัฐภูมินทร์ บ้างก็เรียกว่า กรุงเกาะกง
จังหวัดเกาะกง แบ่งเป็น ๘ อำเภอ ๓๓ ตำบล และ ๑๓๑ หมู่บ้าน เกาะกงถือเป็นจังหวัดขนาดเล็ก มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น ๑๓๐,๕๘๖ คน (พ.ศ.๒๕๕๑) **หมายเหตุ : สำหรับชื่อจังหวัดเกาะฮ์กง ในหนังสือเล่มนี้ทั้งหมดจะเขียนอย่างไทยคือ เกาะกง***หนังสือ “คนสองแผ่นดิน” พิมพ์ครั้งที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ หน้า ๒๒-๒๓* ปัจจันตคิริเขตร เมื่อเอ่ยชื่อเมืองปัจจันตคิรีเขตร คนส่วนใหญ่จะไม่รู้จัก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์มีพระบรมราชโองการประกาศขนานนาม “เมืองประจวบคิริขันธ์” และ “เมืองปัจจันตคิรีเขตร” เมื่อวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก หรือพ.ศ. ๒๓๙๘ (จ.ศ. ๑๒๑๗) ซึ่งเป็นปีที่ ๕ แห่งการขึ้นครองราชย์ ความว่า “...ขุนสารประเสริฐรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า” สั่งว่า เมืองบางนางรมย์นั้น โปรดเกล้าฯให้เรียกเมืองประจวบคิรีขันธ์ กับที่เกาะกงนั้น โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า เมืองปัจจันตคิริเขตร ให้กรมวัง หมายไปยังกรมพระกลาโหม กรมท่า กรมพระศุภรัต สัสดีซ้ายขวาให้เรียกชื่อเมืองทั้ง ๒ ให้ถูกต้องตามรับสั่ง” ข้อความข้างต้นนี้ ผู้เขียนคัดมาจากหนังสือ ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๕-๒๔๐๐ (๒๕๐๓, หน้า ๑๕๘) ที่คัดจากหมายรับสั่งมาอีกทอดหนึ่ง “...เมืองประจวบคิรีขันธ์” ก็คือ ส่วน “เมืองปัจจันตคิรีเขตร” ที่เดิมชื่อ “เกาะกง” และเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดตราดมาก่อนนั้น มาถึงเวลานี้ทุกคนก็รู้จักกันในชื่อของ “เกาะกง” ดังเดิม ขณะที่ชื่อ “เมืองปัจจันตคิรีเขตร” กลายเป็นชื่อของ “เกาะกง” ดังเดิม ขณะที่ชื่อ “เมืองปัจจันตคิรีเขตร” กลายเป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก เว้นเสียแต่เป็นนักประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาตร์ นอกจากนั้น ในเอกสารต่างๆ ก็สะกดชื่อเมืองนี้ต่างกันไป แต่ยังคงรากเดิมอยู่ อาทิ ปัตจันตคิรีเขตร์ บ้าง ประจันต์คิรีเขตต์ บ้าง อย่างไรก็ตาม ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนขอใช้ตามหมายรับสั่งข้างต้น เว้นเสียแต่เป็นการอ้างอิงตามเอกสารบางชิ้นเป็นกรณีๆ ไป สำหรับการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการขนานนามเมืองทั้งสองพร้อมกันและคล้องจองกันนี้ มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระปรีชาสามารถยิ่งในด้านดาราศาสตร์ ได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของทั้งสองเมืองในการป้องกันอ่าวสยาม เนื่องจากเมืองประจวบคีรีขันธ์ และปัจจันตคิรีเขตร นั้นอยู่ในแนวเส้นรุ้ง (Latitude) เดียวกัน เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลทางแผนที่ กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุดให้ข้อมูลกับผู้เขียนว่า ตามแผนที่สัดส่วน ๑ ต่อ ๒ แสน ๕ ระบุว่า จังหวัดเกาะกงของราชอาณาจักรกัมพูชาในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในแนวเส้นรุ้ง ๑๑ํ ๑๕’ N ถึง ๑๑ํ ๒๕’ N แนวเดียวกับอำเภอบางสะพาน และอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ป้องกันทะเลนั้น ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๒๒ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (หม่อมเจ้าสาย) จัดตั้งสถานีทหารเรือขึ้นตลอดฝั่งทะเลตะวันออก รวมทั้งที่เมืองปัจจันตคิรีเขตรด้วย ทั้งนี้เพื่อปราบปรามโจรสลัด และเพื่อป้องกันคุกคามทางทะเลของบรรดามหาอำนาจในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษหรือฝรั่งเศส ย้อนไปในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนอกจากจะทรงประกาศขนานนามชื่อเมืองเกาะกงเป็นปัจจันตคิรีเขตรแลัว ยังได้ทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมืองกรมการอีกด้วย “...เมืองประจันตคิรีเขตต์ เดิมหลวงเกาะกง ทรงตั้งใหม่ว่า พระพิไชยชลธี หลวงคิรีเนมิทวีปปลัด...” ความตอนนี้จากพระราชพงศาวดาลรัชกาลที่ ๔ เล่ม ๒ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) (๒๕๐๔, หน้า ๑๘๒) จะเห็นว่า ชื่อเมืองก็ได้เขียนเพี้ยนไปจากที่หมายรับสั่งข้างต้น เมืองปัจจันตคิรีเขตรนี้ถึงแม้จะเป็นเมืองชายแดน “ปลายพระราชอาณาเขต” แต่ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้และของป่า อาทิ ยางต้นรงค์ทอง และแก่นไม้กฤษณา โดยเฉพาะยางต้นรงค์ทอง นับเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้ให้กับไทยอย่างมากในเวลานั้น จนถึงขนาดมีตำแหน่ง “นายกองส่วยรงค์” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ครั้งหนึ่งที่ผู้ว่า เมืองปัจจันตคิรีเขตรว่างลง ก็ได้มีการตั้งให้ “หลวงโยธาพิรม” (เขียนตามเอกสารดั่งเดิม ต่อมาเขียนเป็นหลวงโยธาภิรมย์) ซึ่งเป็น “นายกงส่วยรงค์” ในพระราชวังบวรสถานมงคลขึ้นเป็น พระพิไชยชลธี ผู้ว่าราชการเมือง เหตุผลสำคัญนอกจากความสัตย์ซื่อแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งก็เพราะ “หลวงโยธาพิรม” พื้นเพเป็นคนที่นั่น ในเอกสารไมโครฟิล์มของกระทรวงการต่างประเทศ ที่นำมาอ้างอิงเรื่อง “นายกองส่วยรงค์” นี้ เขียนชื่อเมืองปัจจันตคิรีเขตร เป็น “เมืองปัตจันตคิรีเขตร” ความห่วงใยในดินแดนชายทะเลตะวันออกนี้ มีม่โดยตลอดตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เคยเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออกนานถึงเดือนเศษ ทั้งนี้ตามประกาศการรักษาพระนคร คราวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ณ วันเสาร์ เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ ปีมะเส็ง นพศก ดังปรากฏในหนังสือ ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๔ (๒๕๐๓, หน้า ๒๙๘) ความห่วงใยในดินแดนชายทะเลตะวันออกนี้ มีมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด้๗พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เคยเสด็จประพาสหัวเมืงอชายทะเลตะวันออกนานถึงเดือนเศษ ทั้งนี้ตามประกาศการักษาพระนคร คราวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ณ วันเสาร์ เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ ปีมะเส็ง นพศก ดังปรากฏในหนังสือ ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๐๐ (๒๕๐๓, หน้า ๒๙๘) |