ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow คลังหลวงแห่งประเทศไทย ตอนที่ 1 arrow ๕ ๔๘ ชั่วโมง ขีดเส้นตาย..สยาม
๕ ๔๘ ชั่วโมง ขีดเส้นตาย..สยาม PDF พิมพ์ อีเมล์
p5.15.jpg            
            
             ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเผชิญกับวิกฤตการณ์ภายนอก
นับเป็นวิกฤตการณ์ที่หนักที่สุด คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) กรุงเทพมหานครถูกยึดครองด้วยกองเรือรบติดอาวุธของฝรั่งเศส อย่างหมดหนทางต้านทานจากฝ่ายไทย ชาวบ้านร้านตลาดพากันอพยพหนีภัยกันอลหม่านด้วยความแตกตื่นตกใจ แม้แต่พระองค์ยังทรงเสียพระราชหฤทัยจนประชวรหนัก และหยุดเสวยพระโอสถ ทรงสิ้นหวังรันทดท้อ ขนาดมีพระราชนิพนธ์โคลงฉันท์ ส่งไปลาเจ้านายพี่น้องบางพระองค์อย่างหมดอาลัยในพระชนม์ชีพ ไม่มีพระราชประสงค์ดำรงอยู่อีกต่อไป ทรงอดสูพระทัยที่ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้ายให้ดีขึ้นได้ p5.1.jpg 
                     ระหว่างการระดมพลเพื่อปกป้องพระนครไว้เป็นครั้งสุดท้ายก่อนถึงกำหนดเส้นตาย พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินลงมาแล้วยกพระหัตถ์วางบนบ่าท่านแม่ทัพ พร้อมกับมีพระราชดำรัสอย่างหวั่นพระทัยว่า 
ในวันนี้แหละไม่เราก็เขาแล้ว 
        เ
ส้นตายนั้นคือการตอบรับอย่างไม่มีเงื่อนไขใน
๔๘ ชั่วโมงตามข้อเรียกร้องอันไม่เป็นธรรมของฝรั่งเศส ในคำขาดนี้มีคำข่มขู่อันแข็งกร้าวปราศจากข้อต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น ให้ทรงตัดสินพระทัย ชนิดที่ไม่มีทางเลือก   โดยให้มอบผืนแผ่นดินของเมืองประเทศราชบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พร้อมด้วยเงินค่าไถ่เป็นค่าปรับไหมที่ฝ่ายไทยถูกกล่าวหาว่าก่อขึ้นก่อนโดยการเปิดฉากยิงเรือฝรั่งเศส คิดเป็นเงินสดจำนวนทั้งสิ้นรวม p5.2.jpg,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ 
และให้วางในทันทีก่อน ๑๘.๐๐ น. ของเย็นวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ มิฉะนั้นกระสุนจากปืนใหญ่บนเรือรบ ๓ ลำ ที่ทันสมัยที่สุดจะบุกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา และจะสั่งให้ระดมยิงเข้าไปในพระที่นั่งจักรีอย่างไม่ปรานีอีกต่อไป          
        
ในวันที่
๒๐ กรกฎาคม ศกนั้น ม. ปาวี ทูตฝรั่งเศส ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลฝรั่งเศส ได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลไทย ๖ ข้อ โดยให้ตอบภายใน p5.3.jpg๔๘ ชั่วโมง ว่าจะปฏิบัติหรือไม่ ดังนี้ 
            
๑.     รัฐบาลไทยยอมรับว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (คือ ลาว เขมร) เป็นของฝรั่งเศส๒.      
       
๒. รัฐบาลไทยจะถอนทหารออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงภายใน ๑ เดือน 
       ๓. รัฐบาลไทยจะต้องทำความพอใจให้กับฝรั่งเศสกรณีทุ่งเชียงคำและคำ
p5.4.jpg     ม่วน
(คดีพระยอด เมืองขวาง) ที่ทำให้มองสิเออร์โกรสกุแรงตาย และกรณีที่ไทยโจมตีเรือรบฝรั่งเศสที่ปากน้ำ๔.     
      ๔.
รัฐบาลไทยต้องลงโทษเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่ทำผิดตามข้อ ๓ และจ่ายเงินให้กับครอบครัวของผู้เสียหายในข้อ ๓
   
๕. ค่าเสียหายนี้ให้จ่ายเป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์[1] เป็นค่าปรับไหมในความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่ชนชาติฝรั่งเศส
   
๖.   ให้จ่ายเงินอีก ๓,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ โดยให้ชำระเป็นเงินเหรียญโดยทันที เป็นมัดจำ การจะชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ และเงินค่าทำขวัญในข้อ ๔ และ ๕ หรือถ้าไม่สามารถ ก็ต้องยอมให้รัฐบาลฝรั่งเศสมีสิทธิเก็บภาษีอากรในเมืองพระตะบองและเสียมราฐ
เรือหลวงมกุฏราชกุมาร ลำหนึ่งที่เตรียมพร้อมเข้าสู่สมรภูมิร่วมกับกองเรือรบของสยามในช่วงเวลานั้น
ทั้งนี้หากไทยไม่ยื่นคำตอบภายใน ๔๘ ชั่วโมง โดยยินยอมตามคำเรียกร้องข้างต้น ฝรั่งเศสจะปิดอ่าวไทยทันที

[1] อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น ๑ ฟรังก์ เท่ากับ ๐.๕๑๖ บาท


                       p5.5.jpg
เหตุวิกฤตการณ์ครั้งนั้น สยามประเทศแทบจะสูญสิ้นความเป็นเอกราชทีเดียว เนื่องจากขณะนั้นฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจและประสงค์จะยึดครองไทยเป็นอาณานิคม เหมือนดังที่ยึดครองดินแดนประเทศต่างๆ ในอินโดจีนไว้หมดแล้ว สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ซึ่งยึดมั่นอยู่กับความหวังสุดท้าย ว่าอังกฤษจะไม่ทอดทิ้งมิตรประเทศเช่นไทย ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะขัดขืนฝรั่งเศสและข้อเรียกร้องต่างๆ พระองค์ทรงคาดหวังและรอคอยความช่วยเหลือนาทีสุดท้ายจากอังกฤษ เพื่อเข้ามาช่วยคลี่คลายวิกฤตการณ์

          ความเฉยเมยของอังกฤษ และต่อมาเป็นคำปฏิเสธอย่างเด็ดขาดที่จะไม่ยอมเข้าแทรกแซงในความขัดแย้งระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ทำให้พระองค์ทรงผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง ทันทีที่ฝรั่งเศสเสนอเงื่อนไขทั้งหมดมา พระองค์และบรรดาที่ปรึกษาก็ถูกโจมตีด้วยบัตรสนเท่ห์หลายร้อยฉบับ กล่าวหาว่าขลาดกลัว ไร้กำลังที่จะปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของบ้านเมืองp5.6.jpgp5.7.jpg


              p5.8.jpg
                 ในบรรยากาศและความรู้สึกที่ถูกอังกฤษทอดทิ้งนี่เอง ที่กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศของพระองค์ ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องลงพระนามในสนธิสัญญาสงบศึก การลงนามครั้งนี้ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างพระองค์ กับกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันในวงข้าราชการชั้นสูงว่า ทรงลงพระนามไปโดยมิได้รับพระราชานุมัติ และขัดต่อพระราชประสงค์ของพระองค์          
             
เมื่อกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ทรงถูกทัดทานจากที่ประชุมเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่
อีกทั้งทรงสูญเสียความไว้วางพระทัยของพระเจ้าอยู่หัว   กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ก็ทรงยอมรับว่าได้ทรงกระทำการนอกพระบรมราชโองการ และมิได้ทรงรับพระราชานุมัติอย่างชัดเจนให้ลงพระนาม ในสภาพดังกล่าวพระองค์จึงขอกราบบังคมทูลขอลาออกจากตำแหน่ง ทว่าพระเจ้าอยู่หัวก็ยังคงให้พระองค์ทรงรั้งตำแหน่งหน้าที่เดิมอยู่ต่อไป ระหว่างนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเสนาบดีว่าการต่างประเทศกับนายโรแลง ชาเกอแมง นักกฎหมายชาวเบลเยียมที่ประเทศอังกฤษแนะนำให้มาเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ก็ตึงเครียดขึ้น ฝ่ายกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ทรงมีลายพระหัตถ์ถึงชาเกอแมง ตำหนิว่า
                 
ท่านเองก็ไว้ใจพวกอังกฤษมากเกินไป พระเจ้าอยู่หัวทรงเคยหวังพึ่งอังกฤษ ความผิดหวังอย่างรุนแรงในครั้งนั้นแทบจะทำให้พระทัยแตกสลาย หรือสิ้นพระชนม์ลงทีเดียวp5.9.jpg  ดังปรากฏเป็นพระราชหัตถเลขาว่า

          ฉันรู้ตัวชัดอยู่ว่า ถ้าความเปนเอกราชของกรุงสยามได้สุดสิ้นไปเมื่อใด ชีวิตรฉันก็คงจะสุดสิ้นไปเมื่อนั้น

           ครั้งนั้นราชสำนักกรุงเทพฯ ตกอยู่ในสภาพวุ่นวายและสับสนอลหม่าน บรรดาผู้ที่กำกับดูแลราชการงานเมืองต่างก็พากันท้อแท้สิ้นหวัง เมื่อมองเห็นการคุกคามอันหนักหน่วงต่อเอกราชและความเป็นปึกแผ่นของไทยปรากฏอยู่เบื้องหน้า p5.10.jpgราชสำนักเกิดความแตกแยกกันอย่างมาก ในระหว่างที่รอคำตอบทางราชสำนักสยามอยู่นั้น มีเรือรบฝรั่งเศสคุมเชิงอยู่ที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ริมท่าน้ำสี่พระยาถึง ๓ ลำ คือ รอการมาสมทบของกองเรือรบชุดใหม่ที่ถูกเรียกเข้ามาหนุนอีก ๙ ลำ ซึ่งทำให้ภายในอีก ๒-๓ วันข้างหน้าอ่าวไทยจะกลายเป็นฐานทัพเรือเล็กๆ ของฝรั่งเศส นอกดินแดนฝรั่งเศส และเต็มไปด้วยความได้เปรียบของฝ่ายศัตรูยิ่งนานวันเข้าเหตุการณ์ดูเหมือนจะยิ่งตึงเครียดและใกล้แตกหักเข้าทุกขณะ พระเจ้าอยู่หัวทรงปรารภกับกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ด้วยความกระวนกระวายพระทัยว่า “...เวลานี้ตกเป็นกบอยู่ในกะลาครอบอึดอัด...p5.11.jpgเป็นอย่างเดียวกับคนที่ตัดสินโทษว่าจะประหารชีวิต แล้วกำหนดไว้ให้ช้า ต้องได้เสวยความทุกขเวทนามากขึ้นกว่าที่จะลากเอาไปฟันเสียทันที...         
            
เมื่อกำหนดเส้นตายมาถึง ทางฝ่ายไทยยังคงแบ่งรับแบ่งสู้เกี่ยวกับเรื่องดินแดน ส่วนเรื่องเงินค่าไถ่ก้อนแรก ,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์นั้น ทรงแจ้งให้ทราบว่าจะไม่เน้นเรื่องหลักการและจะจ่ายให้ แต่ในประเด็นของเงินก้อนที่สองที่ระบุว่าเป็นเงินมัดจำอีก ๓,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์นั้น ทรงรับที่จะวางเป็นเงินเพียสต์แทน เนื่องจากเพียสต์เป็นเงินสกุลที่ใช้อยู่ในเขตอินโดจีน และพระองค์ก็ทรงหวังว่าจะได้เงินก้อนหลังคืนมาอย่างไม่มีการบิดพลิ้ว กล่าวคือไม่ทรงแน่พระทัยว่าฝรั่งเศสจะคืนให้ และทรงเห็นว่าเป็นการฉกฉวยโอกาสมากกว่า แต่ม.ปาวีไม่ยอมรับในเงื่อนไขนี้ และยังแสดงความไม่พอใจ หาว่าฝ่ายไทยมากเรื่อง จึงหาเรื่องประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย และเตรียมตัวปิดสถานทูตทันทีในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ครั้งนั้นม.ปาวีซึ่งถือว่าตนมีอำนาจต่อรองมากกว่า จึงเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ไปสมทบกับกองเรือรบฝรั่งเศส ที่ลอยลำอยู่เต็มไปหมดบริเวณน่านน้ำเกาะสีชังเพื่อประกาศปิดล้อมอ่าวไทยเป็นการตอบโต้  
p5.12.jpg
 p5.13.jpg


          






              
เมื่อไม่ได้รับการเหลียวแลจากมหาอำนาจชาติต่างๆ และผิดหวังที่ถูกอังกฤษทอดทิ้งอย่างกะทันหันทั้งที่เคยเชื่อมั่นว่าจะพึ่งพาได้ และเมื่อการเจรจาตกลงกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศสไม่เป็นผล ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจำต้องรับเงื่อนไขคำขาดโดยไม่ต่อรองใดๆ อีกในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ยอมเสียน้อยเพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้ โดยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศสตามคำเรียกร้อง ไทยต้องสละสิทธิในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน ซึ่งยึดไว้เป็นเวลานานถึง ๑๐ ปี           
             
นายเฮนรี นอร์แมน อดีตกงสุลอังกฤษประจำสยาม ซึ่งนอกจากจะไม่มีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือไทยในเวลานั้น ยังซ้ำเติมโดยการเรียกประวัติศาสตร์ไทยในยุคนั้น (ร.ศ. ๑๑๒) ว่า
เป็นการล่มสลายของคนไทย ในเวลานั้นพระมหากษัตริย์อีกทั้งเหล่าเสนาบดีทั้งหลายดูจะเป็นอัมพาตกันไปหมด พวกเขาไม่หวังอะไรอีกแล้ว ไม่ว่าจะจากการปฏิรูป หรือการพัฒนาในภายภาคหน้า ความแข็งแกร่งสูญสลายไปจนสิ้น หมดความสามารถที่จะป้องกันตัว p5.14.jpgสัญญาสงบศึกระหว่างไทยกับฝรั่งเศส     ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร. ศ. ๑๑๒)

๑.
    
รัฐบาลไทยยอมสละกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้น ที่มีอยู่เหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตลอดจนเกาะทั้งหลายในแม่น้ำนั้น
๒.   
 รัฐบาลไทยจะไม่ใช้เรือและพาหนะที่ติดอาวุธเดินในลำน้ำโขง
๓.   
 รัฐบาลไทยจะไม่สร้างค่ายทหารในรัศมี  ๒๕ กิโลเมตร จากเขตแดนของฝรั่งเศส
๔.     ภายในเขตที่ระบุไว้ในข้อ ๓ ฝ่ายไทยจะมีกำลังตำรวจไว้รักษาความสงบได้พอสมควรเท่านั้น
๕.   
 รัฐบาลไทยยินยอมที่จะแก้ไขสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีการค้าขายและการเดินเรือกับรัฐบาลฝรั่งเศสเสียใหม่
๖.    
 เพื่อความเจริญแห่งการเดินเรือในลำน้ำโขง รัฐบาลไทยยินยอมให้ฝรั่งเศสสร้างที่ท่าเรือบนฝั่งแม่น้ำโขง
๗.   
 บุคคลสัญชาติหรือในบังคับฝรั่งเศสมีสิทธิจะทำการค้าได้โดยสะดวกในเขตที่ระบุในข้อ ๓
๘.   
 รัฐบาลฝรั่งเศสจะสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะตั้งกงศุล ณ ที่ใดก็ได้
๙.    
 ในกรณีที่จะต้องตีตวามแห่งสัญญาฉบับนี้ ฉบับภาษาฝรั่งเศสเท่านั้นจะใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาได้
             
เพื่อที่จะให้ไทยปฏิบัติตามสัญญา ฝ่ายฝรั่งเศสได้เข้ายึดจังหวัดจันทบุรีไว้จนกว่ารัฐบาลไทยจะได้ปฏิษัติตามนั้นโดยตลอด และแม้ไทยจะได้ปฏิษัติตามคำบังคับนั้นครบถ้วนทุกประการแล้ว ฝ่ายฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมออกจากจังหวัดจันทบุรี กาลล่วงมาแล้วถึง  ๑๐ ปี ฝ่ายฝรั่งเศสก็ยังยึดจังหวัดจันทบุรีไว้เรื่อยไป จังหวัดจันทบุรีเป็นดินแดนสำคัญยิ่ง ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศไทยทางด้านตะวันออก เมื่อไทยไม่มีกำลังที่จะไล่ฝรั่งเศสไปจากจังหวัดจันทบุรีได้ก็ต้องขอแลกเปลี่ยน ฝ่ายฝรั่งเศสเรียกร้องข้ามมาเอาดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงอีก ไทยจึงต้องเสียแคว้นหลวงพระบางเมืองมโนไพรและจำปาศักดิ์ให้ฝรั่งเศส โดยฝ่ายฝรั่งเศสอ้างว่าถ้ายกดินแดนดังกล่าวนี้ให้แล้วจะถอนทหารไปจากจังหวัดจันทบุรีทันที     
     
          
แต่ปรากฏว่าฝ่ายฝรั่งเศสได้ถอนทหารไปจากจังหวัดจันทบุรี แล้วไปยึดจังหวัดตราดแทน เพื่อเรียกร้องต่อไปอีก การไปยึดจังหวัดตราดนั้นก็ไม่ผิดอะไรกับการยึดจังหวัดจันทบุรีด้วย เพราะเกาะทั้งหลายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดยังคงอยู่ในความยึดครองของฝรั่งเศสด้วย และเพื่อให้ฝรั่งเศสไปจากจังหวัดตราดทำให้ไทยต้องเสียพระตะบอง เสียมราฐและศรีโสภณอีก เป็นอันว่านับแต่เกิดการรบที่ปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ ๑๓
กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) จนถึง วันที่  
กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ ซึ่งเป็นวันที่ฝรั่งเศสถอนทหารออกไปจากจังหวัดตราด นับเป็นเวลาถึง ๑๔ ปี ที่ไทยเราได้ตกอยู่ในฐานะถูกบีบบังคับจากฝ่ายฝรั่งเศสเรื่อยมา และต้องเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสมากมายเพื่อรักษาไว้ ซึ่งสิทธิในความเป็นเอกราชของเราต่อไป     
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

Website ที่เกี่ยวข้อง

 

ติดต่อ

www.luangta.com