ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home
๕ ๔๘ ชั่วโมง ขีดเส้นตาย..สยาม PDF พิมพ์ อีเมล์
p5.15.jpg            
            
             ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเผชิญกับวิกฤตการณ์ภายนอก
นับเป็นวิกฤตการณ์ที่หนักที่สุด คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) กรุงเทพมหานครถูกยึดครองด้วยกองเรือรบติดอาวุธของฝรั่งเศส อย่างหมดหนทางต้านทานจากฝ่ายไทย ชาวบ้านร้านตลาดพากันอพยพหนีภัยกันอลหม่านด้วยความแตกตื่นตกใจ แม้แต่พระองค์ยังทรงเสียพระราชหฤทัยจนประชวรหนัก และหยุดเสวยพระโอสถ ทรงสิ้นหวังรันทดท้อ ขนาดมีพระราชนิพนธ์โคลงฉันท์ ส่งไปลาเจ้านายพี่น้องบางพระองค์อย่างหมดอาลัยในพระชนม์ชีพ ไม่มีพระราชประสงค์ดำรงอยู่อีกต่อไป ทรงอดสูพระทัยที่ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้ายให้ดีขึ้นได้ p5.1.jpg 
                     ระหว่างการระดมพลเพื่อปกป้องพระนครไว้เป็นครั้งสุดท้ายก่อนถึงกำหนดเส้นตาย พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินลงมาแล้วยกพระหัตถ์วางบนบ่าท่านแม่ทัพ พร้อมกับมีพระราชดำรัสอย่างหวั่นพระทัยว่า 
ในวันนี้แหละไม่เราก็เขาแล้ว 
        เ
ส้นตายนั้นคือการตอบรับอย่างไม่มีเงื่อนไขใน
๔๘ ชั่วโมงตามข้อเรียกร้องอันไม่เป็นธรรมของฝรั่งเศส ในคำขาดนี้มีคำข่มขู่อันแข็งกร้าวปราศจากข้อต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น ให้ทรงตัดสินพระทัย ชนิดที่ไม่มีทางเลือก   โดยให้มอบผืนแผ่นดินของเมืองประเทศราชบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พร้อมด้วยเงินค่าไถ่เป็นค่าปรับไหมที่ฝ่ายไทยถูกกล่าวหาว่าก่อขึ้นก่อนโดยการเปิดฉากยิงเรือฝรั่งเศส คิดเป็นเงินสดจำนวนทั้งสิ้นรวม p5.2.jpg,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ 
และให้วางในทันทีก่อน ๑๘.๐๐ น. ของเย็นวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ มิฉะนั้นกระสุนจากปืนใหญ่บนเรือรบ ๓ ลำ ที่ทันสมัยที่สุดจะบุกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา และจะสั่งให้ระดมยิงเข้าไปในพระที่นั่งจักรีอย่างไม่ปรานีอีกต่อไป          
        
ในวันที่
๒๐ กรกฎาคม ศกนั้น ม. ปาวี ทูตฝรั่งเศส ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลฝรั่งเศส ได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลไทย ๖ ข้อ โดยให้ตอบภายใน p5.3.jpg๔๘ ชั่วโมง ว่าจะปฏิบัติหรือไม่ ดังนี้ 
            
๑.     รัฐบาลไทยยอมรับว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (คือ ลาว เขมร) เป็นของฝรั่งเศส๒.      
       
๒. รัฐบาลไทยจะถอนทหารออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงภายใน ๑ เดือน 
       ๓. รัฐบาลไทยจะต้องทำความพอใจให้กับฝรั่งเศสกรณีทุ่งเชียงคำและคำ
p5.4.jpg     ม่วน
(คดีพระยอด เมืองขวาง) ที่ทำให้มองสิเออร์โกรสกุแรงตาย และกรณีที่ไทยโจมตีเรือรบฝรั่งเศสที่ปากน้ำ๔.     
      ๔.
รัฐบาลไทยต้องลงโทษเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่ทำผิดตามข้อ ๓ และจ่ายเงินให้กับครอบครัวของผู้เสียหายในข้อ ๓
   
๕. ค่าเสียหายนี้ให้จ่ายเป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์[1] เป็นค่าปรับไหมในความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่ชนชาติฝรั่งเศส
   
๖.   ให้จ่ายเงินอีก ๓,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ โดยให้ชำระเป็นเงินเหรียญโดยทันที เป็นมัดจำ การจะชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ และเงินค่าทำขวัญในข้อ ๔ และ ๕ หรือถ้าไม่สามารถ ก็ต้องยอมให้รัฐบาลฝรั่งเศสมีสิทธิเก็บภาษีอากรในเมืองพระตะบองและเสียมราฐ
เรือหลวงมกุฏราชกุมาร ลำหนึ่งที่เตรียมพร้อมเข้าสู่สมรภูมิร่วมกับกองเรือรบของสยามในช่วงเวลานั้น
ทั้งนี้หากไทยไม่ยื่นคำตอบภายใน ๔๘ ชั่วโมง โดยยินยอมตามคำเรียกร้องข้างต้น ฝรั่งเศสจะปิดอ่าวไทยทันที

[1] อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น ๑ ฟรังก์ เท่ากับ ๐.๕๑๖ บาท


                       p5.5.jpg
เหตุวิกฤตการณ์ครั้งนั้น สยามประเทศแทบจะสูญสิ้นความเป็นเอกราชทีเดียว เนื่องจากขณะนั้นฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจและประสงค์จะยึดครองไทยเป็นอาณานิคม เหมือนดังที่ยึดครองดินแดนประเทศต่างๆ ในอินโดจีนไว้หมดแล้ว สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ซึ่งยึดมั่นอยู่กับความหวังสุดท้าย ว่าอังกฤษจะไม่ทอดทิ้งมิตรประเทศเช่นไทย ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะขัดขืนฝรั่งเศสและข้อเรียกร้องต่างๆ พระองค์ทรงคาดหวังและรอคอยความช่วยเหลือนาทีสุดท้ายจากอังกฤษ เพื่อเข้ามาช่วยคลี่คลายวิกฤตการณ์

          ความเฉยเมยของอังกฤษ และต่อมาเป็นคำปฏิเสธอย่างเด็ดขาดที่จะไม่ยอมเข้าแทรกแซงในความขัดแย้งระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ทำให้พระองค์ทรงผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง ทันทีที่ฝรั่งเศสเสนอเงื่อนไขทั้งหมดมา พระองค์และบรรดาที่ปรึกษาก็ถูกโจมตีด้วยบัตรสนเท่ห์หลายร้อยฉบับ กล่าวหาว่าขลาดกลัว ไร้กำลังที่จะปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของบ้านเมืองp5.6.jpgp5.7.jpg


              p5.8.jpg
                 ในบรรยากาศและความรู้สึกที่ถูกอังกฤษทอดทิ้งนี่เอง ที่กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศของพระองค์ ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องลงพระนามในสนธิสัญญาสงบศึก การลงนามครั้งนี้ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างพระองค์ กับกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันในวงข้าราชการชั้นสูงว่า ทรงลงพระนามไปโดยมิได้รับพระราชานุมัติ และขัดต่อพระราชประสงค์ของพระองค์          
             
เมื่อกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ทรงถูกทัดทานจากที่ประชุมเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่
อีกทั้งทรงสูญเสียความไว้วางพระทัยของพระเจ้าอยู่หัว   กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ก็ทรงยอมรับว่าได้ทรงกระทำการนอกพระบรมราชโองการ และมิได้ทรงรับพระราชานุมัติอย่างชัดเจนให้ลงพระนาม ในสภาพดังกล่าวพระองค์จึงขอกราบบังคมทูลขอลาออกจากตำแหน่ง ทว่าพระเจ้าอยู่หัวก็ยังคงให้พระองค์ทรงรั้งตำแหน่งหน้าที่เดิมอยู่ต่อไป ระหว่างนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเสนาบดีว่าการต่างประเทศกับนายโรแลง ชาเกอแมง นักกฎหมายชาวเบลเยียมที่ประเทศอังกฤษแนะนำให้มาเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ก็ตึงเครียดขึ้น ฝ่ายกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ทรงมีลายพระหัตถ์ถึงชาเกอแมง ตำหนิว่า
                 
ท่านเองก็ไว้ใจพวกอังกฤษมากเกินไป พระเจ้าอยู่หัวทรงเคยหวังพึ่งอังกฤษ ความผิดหวังอย่างรุนแรงในครั้งนั้นแทบจะทำให้พระทัยแตกสลาย หรือสิ้นพระชนม์ลงทีเดียวp5.9.jpg  ดังปรากฏเป็นพระราชหัตถเลขาว่า

          ฉันรู้ตัวชัดอยู่ว่า ถ้าความเปนเอกราชของกรุงสยามได้สุดสิ้นไปเมื่อใด ชีวิตรฉันก็คงจะสุดสิ้นไปเมื่อนั้น

           ครั้งนั้นราชสำนักกรุงเทพฯ ตกอยู่ในสภาพวุ่นวายและสับสนอลหม่าน บรรดาผู้ที่กำกับดูแลราชการงานเมืองต่างก็พากันท้อแท้สิ้นหวัง เมื่อมองเห็นการคุกคามอันหนักหน่วงต่อเอกราชและความเป็นปึกแผ่นของไทยปรากฏอยู่เบื้องหน้า p5.10.jpgราชสำนักเกิดความแตกแยกกันอย่างมาก ในระหว่างที่รอคำตอบทางราชสำนักสยามอยู่นั้น มีเรือรบฝรั่งเศสคุมเชิงอยู่ที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ริมท่าน้ำสี่พระยาถึง ๓ ลำ คือ รอการมาสมทบของกองเรือรบชุดใหม่ที่ถูกเรียกเข้ามาหนุนอีก ๙ ลำ ซึ่งทำให้ภายในอีก ๒-๓ วันข้างหน้าอ่าวไทยจะกลายเป็นฐานทัพเรือเล็กๆ ของฝรั่งเศส นอกดินแดนฝรั่งเศส และเต็มไปด้วยความได้เปรียบของฝ่ายศัตรูยิ่งนานวันเข้าเหตุการณ์ดูเหมือนจะยิ่งตึงเครียดและใกล้แตกหักเข้าทุกขณะ พระเจ้าอยู่หัวทรงปรารภกับกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ด้วยความกระวนกระวายพระทัยว่า “...เวลานี้ตกเป็นกบอยู่ในกะลาครอบอึดอัด...p5.11.jpgเป็นอย่างเดียวกับคนที่ตัดสินโทษว่าจะประหารชีวิต แล้วกำหนดไว้ให้ช้า ต้องได้เสวยความทุกขเวทนามากขึ้นกว่าที่จะลากเอาไปฟันเสียทันที...         
            
เมื่อกำหนดเส้นตายมาถึง ทางฝ่ายไทยยังคงแบ่งรับแบ่งสู้เกี่ยวกับเรื่องดินแดน ส่วนเรื่องเงินค่าไถ่ก้อนแรก ,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์นั้น ทรงแจ้งให้ทราบว่าจะไม่เน้นเรื่องหลักการและจะจ่ายให้ แต่ในประเด็นของเงินก้อนที่สองที่ระบุว่าเป็นเงินมัดจำอีก ๓,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์นั้น ทรงรับที่จะวางเป็นเงินเพียสต์แทน เนื่องจากเพียสต์เป็นเงินสกุลที่ใช้อยู่ในเขตอินโดจีน และพระองค์ก็ทรงหวังว่าจะได้เงินก้อนหลังคืนมาอย่างไม่มีการบิดพลิ้ว กล่าวคือไม่ทรงแน่พระทัยว่าฝรั่งเศสจะคืนให้ และทรงเห็นว่าเป็นการฉกฉวยโอกาสมากกว่า แต่ม.ปาวีไม่ยอมรับในเงื่อนไขนี้ และยังแสดงความไม่พอใจ หาว่าฝ่ายไทยมากเรื่อง จึงหาเรื่องประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย และเตรียมตัวปิดสถานทูตทันทีในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ครั้งนั้นม.ปาวีซึ่งถือว่าตนมีอำนาจต่อรองมากกว่า จึงเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ไปสมทบกับกองเรือรบฝรั่งเศส ที่ลอยลำอยู่เต็มไปหมดบริเวณน่านน้ำเกาะสีชังเพื่อประกาศปิดล้อมอ่าวไทยเป็นการตอบโต้  
p5.12.jpg
 p5.13.jpg


          






              
เมื่อไม่ได้รับการเหลียวแลจากมหาอำนาจชาติต่างๆ และผิดหวังที่ถูกอังกฤษทอดทิ้งอย่างกะทันหันทั้งที่เคยเชื่อมั่นว่าจะพึ่งพาได้ และเมื่อการเจรจาตกลงกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศสไม่เป็นผล ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจำต้องรับเงื่อนไขคำขาดโดยไม่ต่อรองใดๆ อีกในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ยอมเสียน้อยเพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้ โดยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศสตามคำเรียกร้อง ไทยต้องสละสิทธิในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน ซึ่งยึดไว้เป็นเวลานานถึง ๑๐ ปี           
             
นายเฮนรี นอร์แมน อดีตกงสุลอังกฤษประจำสยาม ซึ่งนอกจากจะไม่มีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือไทยในเวลานั้น ยังซ้ำเติมโดยการเรียกประวัติศาสตร์ไทยในยุคนั้น (ร.ศ. ๑๑๒) ว่า
เป็นการล่มสลายของคนไทย ในเวลานั้นพระมหากษัตริย์อีกทั้งเหล่าเสนาบดีทั้งหลายดูจะเป็นอัมพาตกันไปหมด พวกเขาไม่หวังอะไรอีกแล้ว ไม่ว่าจะจากการปฏิรูป หรือการพัฒนาในภายภาคหน้า ความแข็งแกร่งสูญสลายไปจนสิ้น หมดความสามารถที่จะป้องกันตัว p5.14.jpgสัญญาสงบศึกระหว่างไทยกับฝรั่งเศส     ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร. ศ. ๑๑๒)

๑.
    
รัฐบาลไทยยอมสละกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้น ที่มีอยู่เหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตลอดจนเกาะทั้งหลายในแม่น้ำนั้น
๒.   
 รัฐบาลไทยจะไม่ใช้เรือและพาหนะที่ติดอาวุธเดินในลำน้ำโขง
๓.   
 รัฐบาลไทยจะไม่สร้างค่ายทหารในรัศมี  ๒๕ กิโลเมตร จากเขตแดนของฝรั่งเศส
๔.     ภายในเขตที่ระบุไว้ในข้อ ๓ ฝ่ายไทยจะมีกำลังตำรวจไว้รักษาความสงบได้พอสมควรเท่านั้น
๕.   
 รัฐบาลไทยยินยอมที่จะแก้ไขสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีการค้าขายและการเดินเรือกับรัฐบาลฝรั่งเศสเสียใหม่
๖.    
 เพื่อความเจริญแห่งการเดินเรือในลำน้ำโขง รัฐบาลไทยยินยอมให้ฝรั่งเศสสร้างที่ท่าเรือบนฝั่งแม่น้ำโขง
๗.   
 บุคคลสัญชาติหรือในบังคับฝรั่งเศสมีสิทธิจะทำการค้าได้โดยสะดวกในเขตที่ระบุในข้อ ๓
๘.   
 รัฐบาลฝรั่งเศสจะสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะตั้งกงศุล ณ ที่ใดก็ได้
๙.    
 ในกรณีที่จะต้องตีตวามแห่งสัญญาฉบับนี้ ฉบับภาษาฝรั่งเศสเท่านั้นจะใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาได้
             
เพื่อที่จะให้ไทยปฏิบัติตามสัญญา ฝ่ายฝรั่งเศสได้เข้ายึดจังหวัดจันทบุรีไว้จนกว่ารัฐบาลไทยจะได้ปฏิษัติตามนั้นโดยตลอด และแม้ไทยจะได้ปฏิษัติตามคำบังคับนั้นครบถ้วนทุกประการแล้ว ฝ่ายฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมออกจากจังหวัดจันทบุรี กาลล่วงมาแล้วถึง  ๑๐ ปี ฝ่ายฝรั่งเศสก็ยังยึดจังหวัดจันทบุรีไว้เรื่อยไป จังหวัดจันทบุรีเป็นดินแดนสำคัญยิ่ง ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศไทยทางด้านตะวันออก เมื่อไทยไม่มีกำลังที่จะไล่ฝรั่งเศสไปจากจังหวัดจันทบุรีได้ก็ต้องขอแลกเปลี่ยน ฝ่ายฝรั่งเศสเรียกร้องข้ามมาเอาดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงอีก ไทยจึงต้องเสียแคว้นหลวงพระบางเมืองมโนไพรและจำปาศักดิ์ให้ฝรั่งเศส โดยฝ่ายฝรั่งเศสอ้างว่าถ้ายกดินแดนดังกล่าวนี้ให้แล้วจะถอนทหารไปจากจังหวัดจันทบุรีทันที     
     
          
แต่ปรากฏว่าฝ่ายฝรั่งเศสได้ถอนทหารไปจากจังหวัดจันทบุรี แล้วไปยึดจังหวัดตราดแทน เพื่อเรียกร้องต่อไปอีก การไปยึดจังหวัดตราดนั้นก็ไม่ผิดอะไรกับการยึดจังหวัดจันทบุรีด้วย เพราะเกาะทั้งหลายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดยังคงอยู่ในความยึดครองของฝรั่งเศสด้วย และเพื่อให้ฝรั่งเศสไปจากจังหวัดตราดทำให้ไทยต้องเสียพระตะบอง เสียมราฐและศรีโสภณอีก เป็นอันว่านับแต่เกิดการรบที่ปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ ๑๓
กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) จนถึง วันที่  
กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ ซึ่งเป็นวันที่ฝรั่งเศสถอนทหารออกไปจากจังหวัดตราด นับเป็นเวลาถึง ๑๔ ปี ที่ไทยเราได้ตกอยู่ในฐานะถูกบีบบังคับจากฝ่ายฝรั่งเศสเรื่อยมา และต้องเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสมากมายเพื่อรักษาไว้ ซึ่งสิทธิในความเป็นเอกราชของเราต่อไป     
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >
บทความที่น่าสนใจ
  • Pause
  • Previous
  • Next
1/45
bangkokobiz.jpg พื้นฐานความเข้าใจเงินสำรองระหว่างประเทศ แจงสี่เบี้ย กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

 

 

 

 

 

 

เงินสำรองระหว่างประเทศ ตอนที่ 1 : พื้นฐานความเข้าใจ   แจงสี่เบี้ย กรุงเทพธุรกิจ  วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

แจงสี่เบี้ย : ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย  กรุงเทพธุรกิจ  วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

สวัสดีท่านผู้อ่านอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ได้มีโอกาสสื่อสารกับผู้อ่านผ่านทางคอลัมน์แจงสี่เบี้ยนี้ ครั้งที่แล้ว กระผมได้เขียนถึงหลักพื้นฐานในการวินิจฉัยอาการของเศรษฐกิจว่าดีหรือไม่ดีดูจากอะไร ประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่ได้หยิบยกไว้คราวก่อน คือ เรื่องเสถียรภาพและความสมดุลในการเติบโต

วันนี้จะเป็นรายละเอียดของปัจจัยอันหนึ่งที่เป็นตัววัดเสถียรภาพเศรษฐกิจด้านต่างประเทศที่สำคัญ คือ เงินสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve) ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันค่อนข้างยาว คงไม่สามารถเขียนได้หมดในคราวเดียว แต่จะต้องทยอยเขียนให้ผู้อ่านเป็นระยะๆ ตามโอกาสอำนวย

เงินสำรองเป็นเงินตราต่างประเทศของประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับมอบหมายตามกฎหมาย ให้เป็นผู้ดูแลรักษาและนำไปลงทุนเพื่อให้เกิดดอกออกผลตามสมควร มีที่มาจาก 2-3 แหล่งหลักๆ คือ

1) ทำมาหาได้จากการส่งสินค้าออก หรือคนต่างชาติมาบริโภคสินค้าและบริการในประเทศไทย มากกว่าที่เรานำเข้าสินค้า และบริการ หรือเราไปใช้จ่ายในต่างประเทศ

2) มีเงินลงทุนไหลเข้ามาไม่ว่าจะในรูปเงินลงทุน (ในตลาดหลักทรัพย์, ลงทุนสร้างโรงงาน) หรือเงินให้กู้ก็ตาม มากกว่าที่เราเอาเงินไปลงทุน หรือให้กู้กับต่างประเทศ

เมื่อเกิดเงินไหลเข้ามาไม่ว่าจะจาก 1) หรือ 2) ผู้มีเงินได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศต้องนำมาขายต่อให้กับธนาคารพาณิชย์ และรับเป็นเงินบาทเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าแรงหรือวัตถุดิบต่อไป

ทั้งนี้ ก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เราใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนโดยอิงกับตะกร้าเงินสกุลหลัก โดยมีดอลลาร์เป็นสัดส่วนมากที่สุด และทุกๆ เช้า ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะประกาศอัตรารับซื้อขายเงินตราต่างประเทศ และเมื่อประกาศแล้วภายใต้ระบบนี้ ธนาคารพาณิชย์จะมาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้เงินตราต่างประเทศมาก็จะมาขายต่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยในอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อเข้ามาแล้ว เงินดังกล่าวก็จะมีสถานะเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม หลังวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เราเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ พูดง่ายๆ คือ โดยหลักการค่าเงินบาทจะถูกกำหนดโดยตลาดตามความต้องการซื้อขาย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเข้าแทรกแซงโดยเข้ารับซื้อหรือรับขายเงินตราต่างประเทศดังกล่าวเท่าที่จำเป็น

ภายใต้ระบบนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีสิทธิเลือกได้ว่า จะเข้าไปรับซื้อเงินตราต่างประเทศดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ตามสมควร ถ้าเงินไหลเข้ามาตาม 1) และ 2) มาก แล้วธนาคารแห่งประเทศไทยนั่งเฉยๆ ตลาดก็จะปรับตัวเพราะว่ามีแต่คน (ผู้ส่งออก, ผู้มาลงทุน) ต้องการขายดอลลาร์และต้องการรับบาท ราคาเงินบาทก็จะสูงขึ้น (ดอลลาร์ถูกลง) หรือที่เราเรียกว่าเงินบาทแข็งขึ้น

ถ้าเทียบช่วงวิกฤติปี 2540 กับปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า

(ก) เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

(ข) อัตราแลกเปลี่ยนเราในปี 2541 ช่วงหลังวิกฤติที่ค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 41.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ได้ปรับตัวแข็งขึ้นเป็น 34.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน

ตัวเลขเหล่านี้บอกเราว่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมามีเงินไหลเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง (ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขายสินค้า และบริการได้มากกว่าที่ซื้อมา) จากแรงกดดันดังกล่าวทำให้ราคาของเงินบาทหรืออัตราแลกเปลี่ยนปรับตัวสูงขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ช่วยบรรเทาแรงกดดันบางส่วน ซึ่งสะท้อนจากการเข้าไปซื้อเงินตราต่างประเทศ ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศสูงขึ้น

ทีนี้ก็มาถึงประเด็นที่ว่าเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูงขึ้นถึงปัจจุบัน มีเพียงพอหรือไม่ ทำให้เราอุ่นใจได้ไหมในยามที่วิกฤติเกิดขึ้น

เอาไว้คุยกันต่อไปครับ

**********

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(แทน)


เงินสำรองระหว่างประเทศ ตอนที่ 2 : ประเทศเรามีเงินสำรองอยู่เท่าไรแน่?

แจงสี่เบี้ย : ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย  กรุงเทพธุรกิจ  วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

คราวก่อน กระผมได้พาท่านผู้อ่านไปทำความเข้าใจที่มาของเงินสำรองระหว่างประเทศ (International Reserves) ซึ่งถ้าหากท่านผู้อ่านสนใจอาจเข้า website ของ ธปท. www.bot.or.th แล้ว click ไปที่ Economic Data และ International Reserves (weekly) ก็จะเห็นข้อมูลดังกล่าว อาทิเช่น ณ 29 มิ.ย. 2550 เรามีเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวน 72.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของหลักทรัพย์ และเงินตราต่างประเทศ (71.1 พันล้านดอลลาร์) นอกจากนี้ ก็เป็นทองคำและสิทธิพิเศษถอนเงินจาก IMF อีกนิดหน่อย

ในตารางยังมีข้อมูลที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งคือ Net Forward Position (ฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ) ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 9.5 พันล้านดอลลาร์ เครื่องหมายเป็นบวกหมายความว่าในอนาคตเรามีสิทธิที่จะได้รับเงินตราต่างประเทศอีก 9.5 พันล้านดอลลาร์ ในการวิเคราะห์จึงควรรวม Net Forward Position ด้วย สิ่งที่ควรระวังคือ Net Forward Position อาจเป็นลบได้ ในกรณีที่เรามีภาระต้องจ่ายคืนเงินตราต่างประเทศ

การดูแต่ข้อมูลเงินสำรองระหว่างประเทศอย่างเดียว โดยไม่ดูข้อมูล Net Forward Position ประกอบจึงอาจส่งผลให้ดูเสมือนว่า เงินสำรองระหว่างประเทศเราสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง คำถามที่น่าสนใจคือ รายการ Net Forward Position มีความเป็นมาอย่างไร แสดงถึงความไม่โปร่งใสในการรายงานข้อมูลหรือไม่

ข้อเท็จจริงก็คือ Net Forward Position เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือของ ธปท. ในการบริหารสภาพคล่องโดยปกติ การเพิ่มขึ้นของเงินสำรองระหว่างประเทศส่วนใหญ่มาจากการเข้าไปซื้อดอลลาร์ เมื่อ ธปท. เข้าไปซื้อดอลลาร์ ก็จะส่งมอบเงินบาทให้กับธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) ส่งผลให้เงินบาทในระบบเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้า ธปท. ไม่ดูดซับเงินบาทกลับ ก็จะทำให้เงินบาทในระบบมีมากขึ้น ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำลง ทำให้อัตราดอกเบี้ย ไม่เป็นไปตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน ซึ่งจะใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมเงินเฟ้อ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย

เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ ธปท. เข้าไปซื้อดอลลาร์จึงต้องมีเครื่องมือที่จะใช้ดูดสภาพคล่องเงินบาท เพื่อไม่ให้กระทบต่อดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่ง ธปท.อาจดูดเงินบาทออกจากระบบโดยออกพันธบัตรขายให้กับภาคเอกชน หรืออาจใช้วิธีขายดอลลาร์ในตลาดทันที (Spot) และซื้อดอลลาร์กลับในอนาคต (Forward) พร้อมๆ กัน หรือที่เรียกว่า การทำสัญญา Swap (ซึ่งการดูดสภาพคล่องแต่ละวิธีก็มีต้นทุนเกิดขึ้นที่แตกต่างกัน)

การขายดอลลาร์ในตลาดทันที จะทำให้ ธพ. ต้องส่งเงินบาทให้กับ ธปท. จึงเท่ากับว่าสภาพคล่องเงินบาทโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลง เพราะจะไปหักล้างกับเงินบาทที่ ธพ.ได้ไปจากการที่ ธปท.เข้าไปแทรกแซงซื้อดอลลาร์ในตอนแรก และยอดที่ปรากฏเป็น Net Forward Position ก็คือยอดสัญญาซื้อดอลลาร์ในอนาคต (Forward) ดังกล่าวนั่นเอง ส่วนธนาคารพาณิชย์ ก็จะนำเงินดอลลาร์ที่ได้ไปลงทุนหรือฝากไว้ในต่างประเทศเสมือนกับมีเงินไหลออกช่วยลดเเรงกดดันจากดอลลาร์ ที่ไหลเข้ามาได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการลดเเรงกดดันต่อค่าเงินบาท ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยด้วย

และเมื่อถึงกำหนดตามสัญญาและ ธปท. ไม่ต่อสัญญา นั้น ธพ.ก็จะนำเงินดอลลาร์ที่ไปลงทุนนั้นกลับมาส่งมอบให้กับ ธปท. ทำให้ยอดเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเท่ากับยอด Net Forward Position ที่ลดลง

นี่เป็นเหตุผลว่าในการวิเคราะห์เราจึงต้องรวมยอดทั้ง International Reserve และ Net Forward Position เข้าด้วยกัน เเละเพื่อประโยชน์ และความโปร่งใส และสร้างความเข้าใจของสาธารณชน ธปท. ได้เผยแพร่ทั้ง 2 ยอดรายการดังกล่าวใน website ทุกๆ สัปดาห์มาตั้งแต่ปี 2542

นอกจาก Net Forward Position เเล้ว ยังมีรายการที่สำคัญอีกรายการหนึ่ง ที่ควรนำมาพิจารณา วิเคราะห์เงินสำรองระหว่างประเทศ คือ หนี้เงินตราต่างประเทศที่ ธปท. กู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งตอนนี้ยอดเป็นศูนย์ เพราะชำระคืนหนี้ IMF หมดแล้ว ก่อนปี 2547 เรามียอดคงค้างหนี้ต่างประเทศของ ธปท. ที่กู้จาก IMF เท่ากับ 1.7 พันล้านดอลลาร์ และเนื่องจากวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมดังกล่าวก็เพื่อเสริมเงินสำรองระหว่างประเทศ เมื่อ ธปท. ได้เงินมาจาก IMF เงินสำรองระหว่างประเทศก็จะเพิ่มขึ้น ในการวิเคราะห์ดู Net International Reserve จึงควรนำรายการดังกล่าวมาลบออกด้วย

โดยสรุป ในการวิเคราะห์ควรดูจาก Net International Reserve = International Reserve ? Net Forward Position - หนี้ที่ ธปท. กู้จากองค์กรระหว่างประเทศ ณ 29 มิ.ย. 2550 เราจึงมี Net International Reserve เท่ากับ 72.9 + 9.5 - 0 = 82.4 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นประมาณ 8 เท่าของการนำเข้า ส่วนจำนวนดังกล่าวพอไหม มากไปหรือยัง ต้องขอยกยอดไปคราวหน้าอีกครั้งครับ

 ข้อมูลจาก  http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q3/2007july03p1.htm 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม...
 
เทศนาหลวงตา(คลังหลวง)
เหตุการณ์สำคัญ(คลังหลวง)
 
บทความนักวิชาการ
drklong.jpg "ดร.โกร่ง" เปิดปากโต้ข้อหายุยง "หลวงตามหาบัว" หนังสือพิมพ์มติชน     "ดร.โกร่ง"เปิดปากโต้ข้อหา"หลวงตามหาบัว" หนังสือพิมพ์มติชน       อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม...
เกร็ดความรู้เรื่องคลังหลวง
photo_ion4gkflpc230jb.jpg ภาวะเงินเฟ้อยิ่งในประเทศซิมบับเว เป็นสถานการณ์เงินเฟ้อที่สูงเป็นอันดับที่สองในประวัติศาสตร์การเงิน นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ถ้าใครได้ติดตามข่าวเรื่องนี้เมื่อ 2-3 ปีก่อน น่าจะพอผ่านหูผ่านตาได้  ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเวเป็นสถานการณ์เงินเฟ้อที่สูงเป็นอันดับที่สองในประวัติศาสตร์การเงินโลก (รองจากภาวะเงินเฟ้อในประเทศฮังการี ใน พ.ศ. 2489) ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดครั้งนี้ เกิดขึ้นกับเงินสกุล ดอลลาร์ซิมบับเว (Zimbabwean Dollar, ZWD) อันเนื่องมาจากการบริหา... อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม...
 
ข่าวจากสื่อ
bangkokobiz.jpg พื้นฐานความเข้าใจเงินสำรองระหว่างประเทศ แจงสี่เบี้ย กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550             เงินสำรองระหว่างประเทศ ตอนที่ 1 : พื้นฐานความเข้าใจ   แจงสี่เบี้ย กรุงเทพธุรกิจ  วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 แจงสี่เบี้ย : ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย  กรุงเทพธุรกิจ  วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 สวัสดีท่านผู้อ่านอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ได้มีโอกาสสื่อสารกับผู้อ่าน... อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม...
 

Website ที่เกี่ยวข้อง

 

ติดต่อ

www.luangta.com

 

 
คุณได้รับความรู้เรื่องคลังหลวง จากบทความใดมากที่สุด