๖ สละเงินถุงแดง ไถ่ถอนชาติ |
การตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดังกล่าวทำให้บรรยากาศโดยทั่วไปอึมครึม เกิดการไม่ลงรอยกัน และความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างบรรดาผู้ปกครองประเทศของไทย ฝ่ายชาตินิยมกล่าวหาพระองค์ว่าทรงอ่อนแอและต้องรับผิดชอบในการที่ราชอาณาจักรถูกเฉือนดินแดนออกไปเพราะทรงพึ่งที่ปรึกษาชาวยุโรปมากเกินไป และยังเห็นด้วยว่าการสูญเสียดินแดนและทรัพย์สมบัติของแผ่นดินน่าจะหลีกเลี่ยงได้เพราะการเตรียมการทางทหารก็พรักพร้อมอยู่แล้ว
“เงินถุงแดง” ของพระองค์เป็นคล้ายเงินทุนสำรองก็คงว่าได้ เนื่องจากทรงพระราชทานพระราชทรัพย์สำหรับใช้ในราชการแผ่นดิน มิได้พระราชทานให้เป็นประโยชน์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อพระราชทานแก่แผ่นดินแล้ว ก็คงเก็บไว้อย่างเดิมโดยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ มิได้ทรงนำออกใช้เลยตลอดรัชกาลของพระองค์ โดยยอมให้ขุนนางกล่าวร้ายพระองค์ และเมื่อไม่มีเงินเบี้ยหวัดก็เลาะทองเบ็ญจาออกจ่ายแทนเงินสดโดยไม่แตะต้องเงินก้อนนี้ พระคุณและพระเนตรอันกว้างไกลของพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทำให้เงินก้อนนี้ยังคงอยู่ตลอดมาจนกระทั่งได้นำออก “ไถ่บ้านไถ่เมือง” ช่วยรักษา “เอกราช” ของชาติไว้ได้ ช่วยกอบกู้บ้านเมืองไทยให้รอดพ้นจากการคุกคามและยึดครองของฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ ๕ เหตุการณ์ในครั้งนั้น ฝรั่งเศสตั้งเงื่อนไขให้ยากลำบากขึ้นอีก เนื่องจากไม่ต้องการให้ไทยจ่ายค่าเสียหายเป็นธนบัตร แต่ต้องการเป็นเงินเหรียญ ทำให้ต้องเท “เงินถุงแดง” ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงเก็บไว้จนหมดสิ้น แม้กระนั้นก็ยังไม่เพียงพอกับจำนวนเงินที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง เวลาผ่านไปจวนถึงกำหนดเวลาเข้าทุกที พระองค์ต้องเร่งรีบหาเงินไถ่ถอนส่วนที่ยังขาดอยู่จำนวนไม่น้อยมาให้ทันเวลาให้ได้โดยด่วน และด้วยจิตสำนึกของคนไทยที่รักแผ่นดินและพร้อมจะเสียสละทุกอย่างช่วยบ้านเมืองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้เจ้านายเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินต่างก็เทเงินถวายกันจนหมด ข้าราชบริพารทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายได้เอาสร้อย เงินทอง เพชรนิลจินดาไปขายเพื่อรวบรวมให้ได้เงินจำนวนนี้มาไถ่ และนำใส่ถุงขนออกจากในวังทางประตูต้นสน ไปลงเรือทางท่าราชวรดิษฐ์กันทั้งกลางวันกลางคืนรวมเป็นน้ำหนักหลายตัน ในที่สุดก็สามารถไถ่บ้านเมืองคืนมาได้ ในหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส Le Monde Illustre ฉบับเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๘๙๓ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ได้บันทึกเหตุการณ์ในครั้งนั้นไว้ดังนี้ “...ในที่สุด จันทบูร(ปัจจุบันคือจังหวัดจันทบุรี) ก็อยู่ในเงื้อมมือของพวกเรา ภายใต้การดูแลของปืนใหญ่ของเราและเรือลูแตงของเราอย่างสง่างาม ข้าหลวงใหญ่จากราชสำนักสยามถูกแต่งตั้งโดยตรงจากในหลวง ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ มายังเราเพื่อให้ความร่วมมือ และให้ความสะดวกในการส่งมอบจันทบูรให้อยู่ในอำนาจของเราอย่างไม่มีเงื่อนไขอีกต่อไป
กองกำลังอันสามารถของเรา ประกอบไปด้วยนายทหาร ในบรรดาเงินเหรียญที่ร่วมกันบริจาคนี้มีทั้งเงินจีน เงินเม็กซิโก เงินเหรียญอเมริกัน เงินปอนด์สเตอร์ลิง ที่พระองค์ได้ทรงเก็บไว้จากการค้าก็ถูกนำมาให้ฝรั่งเศสขนลงเรือรบไปทั้งหมด เมื่อนับรวม “เงินถุงแดง” และ “เงินบริจาค” ในครั้งนั้นไทยต้องสูญเสียเงินไปจำนวนมาก กล่าวกันว่าเจ้านายฝ่ายในทรงสละทรัพย์สินเงินทองช่วยบ้านเมืองกันมากมาย และต้องขนเงินเหรียญเงินพดด้วงใส่รถออกไปหลายเที่ยวจนถึงกับทำให้หินปูนถนนเป็นรอยสึกเพราะรถขนแต่ละเที่ยวๆ นั้นมีน้ำหนักมาก ในเหตุการณ์ครั้งนั้นมีสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูรและสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงบริจาคมากมายยิ่งกว่าพระองค์อื่นๆ จึงนับได้ว่า “เงินถุงแดง” ที่เก็บรักษาเป็นทุนสำรองไว้แต่อดีตในรัชกาลที่ ๓ และ ๔ และ “ทรัพย์สินเงินทองบริจาค” จากความเสียสละและสามัคคีในรัชกาลที่ ๕ ได้ร่วมผนึกกำลังกันพิทักษ์รักษา “เอกราช” ของชาติเอาไว้ได้ หาไม่แล้วความพยายามหลากหลายวิธีของฝรั่งเศสก็จะต้องสัมฤทธิผลและไทยจะต้องตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ |
< ก่อนหน้า | ถัดไป > |
---|