ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow คลังหลวงแห่งประเทศไทย ตอนที่ 1 arrow ๑๑ จาก กรมธนบัตร... เป็น กองเงินตรา
๑๑ จาก กรมธนบัตร... เป็น กองเงินตรา PDF พิมพ์ อีเมล์
p11.8.jpg

                 
              ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗)
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๔๗๑มีสาระสำคัญดังนี้
    
๑.   เปลี่ยนนามจากกรมธนบัตร เป็นกรมเงินตรา เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ มีหน้าที่กระทำกิจทั้งปวงอันเกี่ยวแก่การจำหน่ายและถอนคืนธนบัตร โดยยังมีอธิบดีกรมบาญชีกลางเป็นผู้บังคับบัญชากรมเงินตรา
    
๒.   กำหนดให้เงินตราของประเทศประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์มีหน่วยเป็นบาทและสตางค์ จึงเป็นการเปลี่ยนลักษณะของ ธนบัตร จากตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นเงินตราอย่างสมบูรณ์  โดยกำหนดให้ธนบัตรและเหรียญบาทนั้นเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายโดยไม่จำกัดจำนวน p11.1.jpg
       
๓.   กำหนดให้โอนสินทรัพย์ในทุนสำรองธนบัตรออกใช้ตามพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.๑๒๑ และโอนสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองพิเศษตามพระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ. ๑๒๗ เข้ารวมกันเป็น บัญชีทุนสำรอง ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๔๗๑ นี้
      
๔.      ให้กัน ทุนสำรอง นี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากเงินแผ่นดินประเภทอื่นทั้งหลาย และห้ามไม่ให้จ่ายทุนสำรองนี้
     
๕.   ผลดอกเบี้ยอันเกิดจากทุนสำรองทุกปีหลังจากหักเงินเดือนและค่าใช้สอยของกรมเงินตรา รวมทั้งหักค่าจ้างพิมพ์ธนบัตร ถ้ายังมีเงินคงเหลืออีกเท่าใด ให้รักษาไว้ต่างหากจากเงินคงเหลือธรรมดาของแผ่นดิน
      
๖.   การตีราคาสินทรัพย์สิ้นปี ถ้ามีค่าต่ำกว่าที่ถือไว้เป็นเงินสำรอง ให้จ่ายเงินรายได้แผ่นดินเท่าจำนวนที่ต่ำอยู่นั้นไปใช้บัญชีทุนสำรอง ถ้าปีต่อไปการตีราคาหลักทรัพย์รวมมีค่าสูงกว่าที่ถือไว้เป็นเงินสำรอง จะจ่ายเงินที่สูงดังกล่าวใช้คืนเงินรายได้ของแผ่นดินที่จ่ายเมื่อปีก่อนก็ได้p11.3.jpg

p11.2.jpg

ปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นปัญหาใหญ่ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อันสืบเนื่องมาจากวิกฤตการณ์หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ภาวะเศรษฐกิจของโลกกำลังตกต่ำอย่างหนักและได้ลามมาถึงประเทศไทย โดยที่การค้าระหว่างประเทศของโลกลดลง เนื่องจากการตั้งกำแพงภาษีสินค้า ทำให้เกิดปัญหาคนว่างงานจำนวนมากในประเทศต่างๆ และก่อให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองขึ้นในประเทศไทยด้วยเช่นกัน เนื่องจากส่งข้าวไปขายยังต่างประเทศได้ราคาต่ำมาก ทางราชการจัดเก็บภาษีได้ลดลง งบประมาณแผ่นดินขาดดุล จึงมีการตัดทอนงบประมาณ ยุบกรมกองที่ไม่สำคัญลง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาทางการเงินที่ประเทศอังกฤษประกาศออกจากมาตราทองคำ ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ เงินปอนด์ของประเทศอังกฤษจึงลดค่าลง ในขณะที่เงินบาทยังคงอยู่ในมาตรฐานทองคำตามเดิม ทำให้จากที่เคยแลกเงินได้ ๑๒ บาทต่อ ปอนด์ เปลี่ยนเป็น ๘-๙ บาทต่อปอนด์  ส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรจากการขายข้าวและรายรับของรัฐบาล

ปัจจัยหลายประการที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหา ได้แก่ ความไม่มั่นคงทางการคลัง ความยากลำบากในการพัฒนาประเทศ ความปั่นป่วนทางการเงินระหว่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกใน พ.ศ.๒๔๗๒ ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาซึ่งเป็นภาระอันหนักมากของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงแก้ไขด้วยวิธีต่าง ๆ หลายประการได้แก่การย้ายทองคำแท่งจากปารีสไปฝากที่อังกฤษ p11.4.jpg

การจ่ายเงินประเภทลดหนี้เงินกู้เพื่อรับซื้อพันธบัตรไทย  ถอนเงินปอนด์  ซื้อทองคำ  ขายเหรียญบาทที่มีอยู่เกินความต้องการให้แก่พ่อค้าเนื้อเงินในตลาดลอนดอน  ใช้หนี้เงินกู้  การตัดทอนรายจ่ายของแผ่นดินโดยยุบเลิกกรมกองต่าง ๆ ให้ข้าราชการออกบางส่วน ตลอดจนการเปลี่ยนระบบการเงินที่ผูกพันกับมาตราทองคำเข้าสู่มาตรฐานปอนด์สเตอร์ลิงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยกำหนดให้เงินบาทมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่กับเงินปอนด์ทั้งนี้เพื่อเพิ่มรายได้เป็นเงินบาท และเพื่อความแน่นอนในอัตราแลกเปลี่ยนที่จำเป็นสำหรับการค้าขาย พร้อมกันนั้นทุนสำรองของไทยทั้งหมดก็เปลี่ยนไปเป็นปอนด์สเตอร์ลิง
               จากการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดผลดี เช่น ทำให้ค่าเงินบาทมั่นคงมากขึ้น การค้ากับต่างประเทศดำเนินไปได้ด้วยดีสามารถแก้ไขงบประมาณที่ขาดดุลได้ p11.5.jpg













แต่จากผลกระทบที่เกิดขึ้นก็ทำให้การพัฒนาประเทศหยุดชะงักและเป็นผลสืบเนื่องให้เกิดการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ มีรัฐสภาเป็นองค์กรตัวแทนของประชาชนเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
             
สำหรับหน่วยงานที่ดูแลรักษาทุนสำรองของชาติก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน คือในวันที่  ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้น กำหนดให้แยกหน้าที่กรมพระคลังมหาสมบัติซึ่งเดิมรวมอยู่ในกรมบาญชีกลาง ไปตั้งเป็นกรมใหม่ขึ้นอีกกรมหนึ่ง เรียกชื่อกรมใหม่นี้ว่า กรมพระคลังพร้อมกับได้รวมกรมพระคลังมหาสมบัติ กรมเงินตรา กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา และกรมกษาปณ์สิทธิการเข้าด้วยกัน ต่อมาในวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๔๗๖ และพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงการคลัง พ.ศ. ๒๔๗๖ กำหนดให้แก้ไขนาม กระทรวงพระคลัง เป็น กระทรวงการคลังและแก้ไขนาม กรมพระคลัง เป็น กรมคลัง และ กรมเงินตรา จึงได้ลดฐานะลงเป็น กองเงินตรา สังกัดกรมคลังโดยมีหน้าที่เกี่ยวกับธนบัตรและเหรียญกษาปณ์p11.7.jpg

 
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

Website ที่เกี่ยวข้อง

 

ติดต่อ

www.luangta.com