ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow คลังหลวงแห่งประเทศไทย ตอนที่ 1 arrow ๑๓ ตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ย้าย กองเงินตรา เป็น ฝ่ายออกบัตร
๑๓ ตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ย้าย กองเงินตรา เป็น ฝ่ายออกบัตร PDF พิมพ์ อีเมล์
p13.1.jpg

               สาระสำคัญของ พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๘๕
และ พระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๘๕ นั้น กำหนดให้จัดตั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการของธนาคารกลาง โดยรับมอบกิจการของสำนักงานธนาคารชาติไทยมาดำเนินการทั้งหมด พร้อมทั้งรับมอบงานที่เกี่ยวข้องกับธนบัตร ซึ่งเดิมเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังด้วย โดยรัฐอุดหนุนเป็นทุนประเดิมให้จำนวน ๒๐ ล้านบาท และเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นต้นไป  กำหนดให้มี ๒ ฝ่ายหลัก ดังนี้p13.2.jpg
             
1.   ฝ่ายออกบัตรธนาคาร  ทำหน้าที่ในกิจการเกี่ยวกับธนบัตร โดยรับมอบงานจาก กองเงินตรา กรมคลัง กระทรวงการคลัง พร้อมรับมอบ ทุนสำรอง ที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๔๗๑  มาเป็น ทุนสำรองเงินตรา ในฝ่ายออกบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย
              
2.   ฝ่ายการธนาคาร  ทำหน้าที่ในการประกอบธุรกิจประเภทที่พึงเป็นงานธนาคารกลาง โดยรับมอบกิจการของส่วนราชการ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และ กรมคลัง กระทรวงการคลัง บางส่วน 

ตั้งทุนสำรองที่ ๒ ฝ่ายการธนาคาร
                 ผลของกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับนี้ทำให้ประเทศไทยมีทุนสำรองถึง ๒ กอง คือ
               
๑. ทุนสำรองเดิม เป็นทุนสำรองกองแรก เกิดขึ้นตั้งแต่โบราณกาลที่บูรพมหากษัตริย์ทรงไม่ประมาทในเหตุการณ์บ้านเมือง จึงทรงกันพระราชทรัพย์ในคลังหลวงเก็บสะสมไว้ใช้ในยามคับขัน โดยมิให้ปะปนกับพระราชทรัพย์อื่น ดังเช่นเงินถุงแดงในสมัยรัชกาลที่ ๓, ๔ และ ๕ ต่อมาเมื่อนำเงินถุงแดงออกไถ่บ้านไถ่เมือง รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงเริ่มต้นเก็บสะสมขึ้นใหม่ตามเจตนารมณ์เดิม และเมื่อเริ่มนำธนบัตรออกใช้ก็ทำให้ ทุนสำรองเดิม มีบทบาทหน้าที่เพิ่มขึ้นโดยใช้หนุนหลังธนบัตร ต่อมาเมื่อการค้าขายเจริญก้าวหน้ามีการติดต่อระหว่างประเทศมากขึ้นก็ทรงเพิ่มปริมาณ ทุนสำรองเดิม มากยิ่งขึ้นเพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสยามและเงินตราต่างประเทศให้มีเสถียรภาพเป็นที่ยอมรับในสายตาชาวโลก
             
ด้วยเหตุที่ ทุนสำรองเดิม นี้ก่อตั้งขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์ และแยกเก็บรักษาไว้ในคลังหลวงมาโดยตลอด ต่อมาภายหลังเมื่อมีการก่อตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นจึงเรียก ทุนสำรองเดิม นี้อย่างเป็นทางการว่า ทุนสำรองเงินตรา โดยมีฝ่ายออกบัตรทำหน้าที่ดูแลรักษาทุนสำรองและสืบสานเจตนารมณ์เดิมของบูรพกษัตริย์ต่อไป
              ๒. ทุนสำรองฝ่ายการธนาคาร เป็นทุนสำรองกองที่ ๒ ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นใหม่พร้อมธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อทำหน้าที่รองรับงานของธนาคารกลางโดยเฉพาะ จึงมิให้นำมาปะปนกับ ทุนสำรองเดิม เพราะมีหลักการและเจตนารมณ์ที่ต่างกัน p13.3.jpg
      p13.4.jpg

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพแสดงว่า ทุนสำรองฝ่ายออกบัตร มีมาก่อนการก่อตั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย                 
            ทุนสำรองเดิมนั้นมีหลักการ เจตนารมณ์ การก่อตั้ง ความเป็นมา การเก็บรักษา ตลอดจนมีกฏเกณฑ์ข้อปฏิบัติตามหลักโบราณราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ที่ยาวนาน และเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย กฎหมายก็ยังรักษาหลักการและเจตนารมณ์เดิมอย่างเคร่งครัดโดยแยกทุนสำรองนี้ไว้มิให้ปะปนกับทรัพย์กองอื่นและจำกัดธนาคารแห่งประเทศไทยให้มีสถานะเพียงผู้ดูแลรักษาเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้ทุนสำรองเดิมนี้มีความมั่นคงปลอดภัยเป็นสำคัญ ในขณะที่ทุนสำรองฝ่ายการธนาคารมุ่งหมายเพื่องานธนาคารกลางเพียงอย่างเดียว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีอำนาจบริหารจัดการได้เต็มที่
               
การก่อตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นนี้ หากรัฐบาลมิได้รีบเร่งดำเนินการจัดตั้งให้เสร็จทันการ นโยบายการเงินและการเครดิตของไทยก็อาจต้องเป็นไปตามนโยบายของชนต่างชาติ ซึ่งย่อมจะต้องมีผลร้ายแรงอย่างแน่นอน สำหรับการดำเนินงานเริ่มแรกนั้น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยพระองค์แรก  และถึงแม้จะดำเนินการก่อตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อรักษาอิสรภาพทางการเงินของประเทศให้แคล้วคลาดปลอดภัยได้ในด้านหนึ่งแล้ว ผลกระทบอีกด้านหนึ่งของสงครามมหาเอเชียบูรพา ยังส่งผลให้การสั่งพิมพ์ธนบัตรจาก บริษัท Thomas De La Rue เป็นอันต้องยุติลง p13.5.jpgเนื่องจากประเทศอังกฤษเป็นคู่สงครามกับญี่ปุ่น และเมื่อจำนวนธนบัตรเริ่มขาดแคลนเพราะประชาชนและกองทหารญี่ปุ่นมีความต้องการใช้ธนบัตรเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจึงขอให้ทางการญี่ปุ่นช่วยจัดพิมพ์โดยมอบให้ บริษัท Mitsui Bussun Kaisha เป็นตัวแทนดำเนินการติดต่อกับโรงพิมพ์ธนบัตรของรัฐบาลญี่ปุ่นให้เป็นผู้จัดพิมพ์ เรียกว่า ธนบัตรแบบ ๕” 
                      
ในช่วงนี้การจัดพิมพ์ข้อความในธนบัตรจำเป็นต้องแก้ไขอย่างกะทันหัน โดยจำเป็นต้องใช้ภาษาไทยที่สะกดตัวอักษรแบบใหม่แตกต่างไปจากรากศัพท์ภาษาไทยที่ถูกต้อง เช่น รัถบาลไทย ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกดหมาย รัถมนตรีว่าการกะซวงการคลัง เป็นต้น ที่ต้องเขียนเช่นนี้เนื่องจากp13.6.jpg ทางญี่ปุ่นแจ้งให้ทางนายกรัฐมนตรีทราบว่า ภาษาไทยเรียนยากเพราะมีพยัญชนะและสระมากมายเหลือเกิน จึงเห็นว่าควรใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการแทน นายกรัฐมนตรีได้หาทางออกโดยการตอบเลี่ยงไปว่า ไทยเรามีหนังสือเป็น ๒ ชุด ชุดหนึ่งใช้ในราชการ ซึ่งเรียนยากหน่อย ส่วนชุดที่เรียนง่ายมีอีกชุดหนึ่งสำหรับสามัญชนทั่วไป ญี่ปุ่นต้องการที่ง่าย ซึ่งความจริงขณะนั้นมีเพียงชุดเดียว p13.7.jpg
     

              ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงต้องรีบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องนี้เป็นการด่วน โดยประกาศใช้เป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ให้งดใช้สระ ๕ ตัว และงดใช้พยัญชนะ ๑๓ ตัว อย่างไรก็ตาม มีการใช้อยู่เพียงสองปีเศษ ก็ยกเลิกกลับไปใช้การเขียนภาษาไทยอย่างเดิม
              
การแก้ปัญหาอีกเรื่องหนึ่งในยามที่สงครามทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเป็นลำดับจนสถานการณ์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจนั้น รัฐบาลเห็นว่า หากประเทศญี่ปุ่นซึ่งในระยะนั้นเป็นผู้จัดพิมพ์ธนบัตรให้รัฐบาลไทยไม่สามารถขนส่งธนบัตรเข้ามาภายในประเทศได้ ก็จะทำให้ประเทศไทยขาดแคลนธนบัตรออกใช้ และจะต้องตกอยู่ในฐานะที่ลำบากเป็นอย่างยิ่ง  ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ตัดสินใจพิมพ์ธนบัตรขึ้นเอง โดยใช้วัตถุดิบที่พึงหาได้ในประเทศ และให้ กรมแผนที่ทหารบก กรมอุทกศาสตร์ กรมทางหลวง กรมรถไฟ และโรงพิมพ์เอกชนบางแห่งเป็นผู้พิมพ์ และถึงแม้การพิมพ์จะมีคุณภาพต่ำและมีการปลอมแปลงมาก แต่ก็ได้ใช้แก้ขัดกันไปตลอดช่วงสงคราม เรียกธนบัตรระยะนี้ว่า ธนบัตรแบบ ๖ และ ธนบัตรแบบ ๗p13.10.jpg
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

Website ที่เกี่ยวข้อง

 

ติดต่อ

www.luangta.com