๑๔ ภาวะสงคราม กับ แนวทางแก้ปัญหาการเงินชาติ |
แนวทางแก้ปัญหาการเงินการคลังของชาติในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้นั้น รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยต้องใช้ความสามารถและร่วมกันแก้ปัญหาหลากหลายวิธีการ ดังนี้
Ø ต้องหาเงินบาทจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายของกองทัพญี่ปุ่นและการค้าญี่ปุ่น ซึ่งจำเป็นต้องจ่ายตามสัญญาและตามนโยบายทางการเมืองในขณะนั้น โดยหาทางปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่รัฐบาลได้ทำไว้กับญี่ปุ่น เช่น ตั้งแหล่งกลางปฏิวัติเงิน และทำข้อตกลงในการที่ญี่ปุ่นจะต้องใช้หนี้ทดแทนเงินบาทที่เบิกจ่ายในประเทศไทย ด้วยวิธีเครดิตบัญชีเงินฝากของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเรียกว่า “บัญชีเงินเยนพิเศษ” ทั้งนี้เพื่อทำให้หนี้สินของญี่ปุ่นที่มีอยู่ต่อประเทศไทยนั้นมีหลักฐานแน่ชัด สะดวกแก่การเรียกร้องคืนในภายหลัง
Ø ต้องแก้ปัญหาเรื่องธนบัตรไม่พอใช้ ทั้งนี้ด้วยเหตุในภาวะสงครามที่ไม่มีทางจะพิมพ์ธนบัตรในต่างประเทศได้ และฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งรับพิมพ์ธนบัตรให้รัฐบาลไทยแต่ก็ไม่สามารถจะจัดส่งธนบัตรเข้ามาได้ ดังนั้น รัฐบาลจึงแก้ปัญหาโดยให้โรงพิมพ์ต่างๆ ที่สามารถพิมพ์ได้ เป็นผู้จัดพิมพ์ธนบัตรขึ้นในประเทศ ทั้งนี้ต้องวางระเบียบควบคุมการพิมพ์ธนบัตรนี้ไว้อย่างรัดกุม เมื่อสงครามยุติลง โดยญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ประเทศไทยแม้ว่าจะได้ลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาอย่างเปิดเผยก็ตาม แต่จากการเคลื่อนไหวของคนไทยที่ดำเนินการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น และทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับว่า การประกาศสงครามของไทยที่มีต่อพันธมิตรเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ นั้น เป็นการกระทำอันผิดจากเจตจำนงมิใช่เป็นความประสงค์ของคนไทยทั้งชาติ ทำให้ประเทศไทยไม่ตกอยู่ในสภาพผู้แพ้สงคราม ทั้งยังสามารถรักษาอธิปไตยและเอกราชของชาติไว้ได้
อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ แม้สงครามจะสิ้นสุดลง แต่ปัญหาการขาดแคลนธนบัตรก็ยังไม่หมดสิ้นไป เพราะสภาพเศรษฐกิจในช่วงปลายสงครามที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ และการกักตุนสินค้า ราคาสินค้าจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลจึงแก้ปัญหาโดยประกาศใช้บังคับ “พระราชกำหนดพันธบัตรออมทรัพย์ในภาวะคับขัน พ.ศ. ๒๔๘๘” เพื่อดึงธนบัตรชนิดราคาสูงจากมือประชาชน และยับยั้งการซื้อขายสินค้าเพื่อเก็งกำไร โดยทำการเปลี่ยนสภาพธนบัตรราคาสูงเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ ถือว่าธนบัตรดังกล่าวได้ถอนคืนมาแล้วจากธนบัตรออกใช้ และไม่เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จากมาตรการนี้สามารถถอนคืนธนบัตรจากการหมุนเวียนได้ถึง ๓๗๑.๕ ล้านบาท หรือประมาณหนึ่งในสามของธนบัตรที่ออกใช้ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งที่ควรจะได้กล่าวไว้ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ยุติลง รัฐบาลได้ส่งคณะทูตไทยไปเจรจาทำสัญญาเลิกสถานะสงครามกับฝ่ายประเทศที่ชนะสงครามหลายวาระ โดยแต่งตั้งพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยเป็นหัวหน้าคณะทูต ในระหว่างการเจรจานั้น ผู้แทนประเทศมหาอำนาจที่ชนะสงครามประเทศได้เรียกร้องให้ประเทศไทยส่ง “พระแก้วมรกต” คืนไปยังเมืองเวียงจันทน์ เมื่อพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้ทรงทราบข้อเรียกร้องนั้นในที่ประชุม ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า “...ในฐานะที่พระองค์เป็นขัตติยะในราชสกุล และในฐานะที่พระองค์เป็นคนไทย ไม่ทรงสามารถรับฟังข้อเรียกร้องนั้นได้เลย และจะไม่ทรงเจรจาด้วยอีกจนกว่าจะได้มีการถอนข้อเรียกร้องนั้นไปแล้ว...”
เกี่ยวกับการจัดพิมพ์ธนบัตรภายหลังสงครามนั้น กระทรวงการคลังไทยได้ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยมอบให้ บริษัท Tudor Press Inc. เป็นผู้จัดพิมพ์ธนบัตรให้ เรียกว่า “ธนบัตรแบบ ๘” โดยนำออกใช้ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ และเมื่อรัฐบาลทราบว่า บริษัท Thomas De
ถึงจุดนี้ หากจะย้อนดูความพยายามจะจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเองภายในประเทศนั้น กล่าวได้ว่ามีแนวความคิดเริ่มแรกมายาวนานกว่า ๗๐ ปี โดยกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ รองอธิบดีกรมพระคลัง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ในรัชกาลที่ ๕ จนกระทั่งถึงความพยายามครั้งสุดท้าย ซึ่งเป็นครั้งที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ก็บรรลุผลสำเร็จในที่สุดในสมัยดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ในการจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตร แม้ในขั้นต้นจะต้องลงทุนมาก และยังต้องประสบกับปัญหาทางเทคนิคที่ยุ่งยากก็ตาม แต่จะให้ผลคุ้มค่าในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศ หรือความปลอดภัยของเงินตรา และยังได้ประโยชน์ด้านชื่อเสียงของประเทศอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติรับหลักการเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๔ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการจัดตั้ง ใช้ทุนริเริ่มมากถึง ๑๐๐ ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีผลประโยชน์ทุนสำรองเงินตราหรือจากดอกผลของทุนสำรองเดิมนั่นเอง ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเป็นการขอเงินเก็บสะสมจากบูรพกษัตริย์ อันเป็นผลให้การจัดตั้งดำเนินต่อไปได้จนเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ และเริ่มพิมพ์ “ธนบัตรแบบ ๑๑” รวมทั้งแบบอื่นๆ เป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน
ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (๑๑ มิ.ย. ๒๕๐๒ - ๑๕ ส.ค. ๒๕๑๔) ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในคำประกาศเกียรติประวัติ มีข้อความตอนหนึ่งว่า "บุคคลสำคัญผู้แสดงบทบาทอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธนาคารแห่งประเทศไทยในการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีเสถียรภาพการเงินควบคู่กันไป นายธนาคารระหว่างประเทศยกย่องว่านายป๋วยเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางที่มีความสามารถดีเด่นคนหนึ่งของโลก ...
|
< ก่อนหน้า | ถัดไป > |
---|