ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow คลังหลวงแห่งประเทศไทย ตอนที่ 1 arrow ๑๖ ทุนสำรองเงินตรา ไม่ใช่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
๑๖ ทุนสำรองเงินตรา ไม่ใช่ของธนาคารแห่งประเทศไทย PDF พิมพ์ อีเมล์
p16.1.jpg



แผนภูมิแสดงบัญชีทุนสำรองทางการ ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

p16.2.jpg

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุ   ๑.   ทุนสำรองทั่วไป ฝ่ายการธนาคาร เป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น๒. ทุนสำรองเงินตรา ฝ่ายออกบัตร หรือ คลังหลวง มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยมีสถานะเป็นเพียง ผู้ดูแลรักษา เท่านั้น ทุนสำรองเงินตรา เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่คนไทยทุกคนเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของบูรพกษัตริย์ที่ทรงก่อตั้งและตามหลักกฎหมาย ๓. ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนฯ อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคลต่างหากจากธนาคารแห่งประเทศไทย

 

                ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ รัฐบาลมีความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายเงินตราว่า เหตุการณ์ในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ บางครั้งล่อแหลมต่ออธิปไตย จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ หลายวาระให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ ด้วยเหตุนี้ กฎหมายว่าด้วยเงินตราที่ใช้ตลอดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ จึงถูกนำมาแก้ไขเป็นระยะๆ รวมแล้วมีจำนวนมากมายหลายสิบฉบับ ทั้งตัวบทในพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวง มีหลักจัดการเงินตราระบบถาวรอันเป็นอยู่แต่ดั้งเดิม แต่ได้ถูกระงับการใช้บังคับไปโดยปริยายก็มี หรือหลักจัดการเงินตราในระบบชั่วคราวแต่ใช้บังคับแทนก็มี เป็นการสับสนปะปนกันอยู่และกระจัดกระจายไม่เป็นหมวดหมู่ 
                   
ดังนั้น ในเมื่อปัจจุบันนี้เป็นที่รับรองแล้ว และได้ใช้หลักจัดการเงินตราระบบชั่วคราวซึ่งมีการต่ออายุกันตลอดมากว่า ๑๕ ปีแล้วเช่นนี้ รัฐบาลจึงเห็นสมควรที่จะได้ปรับปรุงตัวบทกฎหมายว่าด้วยระบบเงินตราชั่วคราวโดยแก้ไขเล็กน้อย เพื่อใช้ถาวรสืบไปโดยไม่ต้องมีการต่ออายุกันเป็นคราว ๆ เช่นแต่ก่อน จึงได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ขึ้น มีสาระสำคัญสรุปดังนี้p16.3.jpg      
     ·  
เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษา ทุนสำรองเงินตรา ไว้ก้อนหนึ่ง สินทรัพย์ที่มีอยู่ในทุนสำรองเงินตรามีหลายประเภท ประกอบด้วยบัญชีสำคัญ  ๓ บัญชี คือ
      
๑. บัญชีทุนสำรองเงินตรา
[1]             ๒. บัญชีผลประโยชน์ประจำปี             ๓. บัญชีสำรองพิเศษ
[1] บัญชีทุนสำรองเงินตราคือสินทรัพย์ที่ใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้ ซึ่งจะต้องมีมูลค่าเท่ากับธนบัตรออกใช้ ๑๐๐% ตามหลักการที่ว่ามูลค่าของธนบัตรออกใช้จะต้องเท่ากับมูลค่าของสินทรัพย์ทุนสำรองเงินตรา เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าธนบัตรได้รับการประกันราคาให้มีค่าตามที่ระบุไว้บนธนบัตรนั้น
p16.4.jpg        ·   กำหนดให้กัน ทุนสำรองเงินตรา ไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากสินทรัพย์อื่นๆ บรรดาที่เป็นของธนาคารแห่งประเทศไทย  เป็นการกำหนดให้กันทุนสำรองเงินตราไว้ใน ฝ่ายออกบัตร โดยแยกไว้ต่างหากจากฝ่ายการธนาคาร ซึ่งเป็นสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
                       
·   ผลประโยชน์อันเกิดจากทุนสำรองเงินตราแต่ละปีหลังจากหักค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ธนบัตร การออกและจัดการธนบัตร ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ ให้รับขึ้น บัญชีสำรองพิเศษ ไว้
                       
·   การตีราคาสินทรัพย์ ถ้าสูงหรือต่ำกว่าที่ถือไว้เป็นทุนสำรองเงินตรา ให้รับขึ้นหรือจ่ายจากบัญชีสำรองพิเศษ ถ้ามีไม่พอจ่ายให้จ่ายรายได้ของแผ่นดินเท่าจำนวนที่ขาดนั้น ถ้าปีต่อๆ ไป มีผลประโยชน์เหลือก็ให้ใช้คืนเงินรายได้ของแผ่นดินจนครบจำนวน และเมื่อเหลือเท่าใดให้รับขึ้นบัญชีสำรองพิเศษไว้
 ทองคำแท่งบริสุทธิ์เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้หนุนหลังพิมพ์ธนบัตร  
         
                   
ในระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้มีการปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ หลายครั้ง เช่น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐, ๒๕๑๔, ๒๕๑๖ และ ๒๕๒๑ เป็นต้น การแก้ไขแต่ละครั้งมีความจำเป็น มีหลักการและเหตุผลต่างกันไป อย่างไรก็ตามการแก้ไขทุกครั้งมิได้กระทบกระเทือนในหลักการสำคัญของ
ทุนสำรอง ที่กำหนดให้เก็บสะสมไว้ด้วยความมั่นคงปลอดภัย และให้กันไว้มิให้ปะปนกับสินทรัพย์ใดๆ ในแผ่นดิน จึงสอดคล้องกับหลักการและเจตนารมณ์เดิมในอดีต
p16.5.jpgทุนสำรองทั้ง ๓ รวมกัน คือ ทุนสำรองระหว่างประเทศ            
            เนื่องจากเราใช้
ธนบัตร เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และออกใช้หมุนเวียนในท้องตลาด ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องสร้างหลักประกันให้ธนบัตรทุกฉบับมีค่าตามราคาที่ระบุไว้บนธนบัตร จึงกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่าธนบัตรจะนำออกใช้ได้มี ๒ กรณีเท่านั้น คือ
         
๑.   แลกเปลี่ยนทันทีกับธนบัตรที่ออกใช้ไปก่อนแล้ว ซึ่งถอนคืนจากธนบัตรออกใช้ในจำนวนเท่ากัน เช่น ถอนคืนธนบัตรออกใช้ชนิดราคา ๕๐๐ บาท จำนวน ๑ ล้านบาท แลกเปลี่ยนกับการออกใช้ธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท จำนวน ๑ ล้านบาท
            
๒.   รับสินทรัพย์ทุนสำรองเงินตราอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีค่าเท่ากันที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ เข้าไว้ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา แล้วจ่ายธนบัตรออกใช้ในมูลค่าเท่ากัน
             
โดยข้อกำหนดในพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๘๕ และ พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑   ทำให้การพิมพ์ธนบัตรออกใช้ทุกบาท ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องจัดให้มี ทุนสำรองเงินตรา หนุนหลัง ดังนั้น เพื่อเป็นการประกันค่าและรักษาเสถียรภาพของเงินตรา มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงกำหนดไว้ว่า  เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษาทุนสำรองเงินตราไว้กองหนึ่ง เรียกว่า ทุนสำรองเงินตรา ซึ่งทุนสำรองเงินตรานี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกันไว้ต่างหากจากทรัพย์สินอื่นๆ ที่เป็นของธนาคารแห่งประเทศไทย และสินทรัพย์ที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา จะต้องเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับแล้วว่ามีความมั่นคง ดังนั้น มาตรา ๓๐ จึงกำหนดให้สินทรัพย์ต่อไปนี้เป็นสินทรัพย์ที่รับเข้าเป็นทุนสำรองเงินตรา ได้แก่
           
๑.   ทองคำ
           
๒.   เงินตราต่างประเทศอันเป็นเงินตราที่พึงเปลี่ยนได้ หรือเงินตราต่างประเทศอื่นใดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้ ต้องเป็นรูปเงินฝากในธนาคารนอกราชอาณาจักรหรือในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
           
๓.   หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ใน
           
๔.   ทองคำ สินทรัพย์ต่างประเทศ และสิทธิพิเศษถอนเงิน ทั้งนี้ที่นำส่งสมทบกองทุนการเงิน
            
๕.    ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง
           
๖.    ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน
           
๗.   หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ใน ๒ หรือเป็นบาท
                  
๘.    ตั๋วเงินในประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงซื้อหรือรับช่วงซื้อลดได้ แต่ต้องมีค่ารวมกันไม่เกินร้อยละยี่สิบของจำนวนธนบัตรออกใช้
           
สินทรัพย์ตาม ๑ ถึง ๖ นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องจัดดำรงไว้ให้มีค่ารวมกันทั้ง สิ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ของจำนวนธนบัตรออกใช้         
          
สำหรับการจ่ายสินทรัพย์ทุนสำรองเงินตรานั้น พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ ยังกำหนดไว้ ห้ามมิให้จ่ายทุนสำรองเงินตรา เว้นแต่ ๒ กรณี ดังนี้
         
๑.   จ่ายทุนสำรองเงินตราโดยถอนคืนธนบัตรจำนวนเท่ากันคืนจากการออกใช้หมุนเวียน  เช่น ถอนคืนธนบัตรจากการออกใช้หมุนเวียน ๑๐๐ ล้านบาท ก็จ่ายทุนสำรองเงินตราออกจากบัญชีทุนสำรองเงินตรา ๑๐๐ ล้านบาท
         
๒.   จ่ายทุนสำรองเงินตราประเภทหนึ่งและรับทุนสำรองเงินตราอีกประเภทหนึ่ง ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๐ ซึ่งมีมูลค่าเท่ากันขึ้นบัญชีทุนสำรองเงินตรา
         
การจ่ายทุนสำรองเงินตราเป็นอำนาจของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้แทนซึ่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ สาระสำคัญของพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณค่าแห่งสินทรัพย์ที่เป็น หรือรับเป็นทุนสำรองเงินตรา การตีราคาสินทรัพย์ที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา ตลอดจนวิธีการจัดการเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากทุนสำรองเงินตราไว้ด้วย
         
สำหรับการพิจารณาถึงฐานะการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องจัดทำบัญชีแยกตามลักษณะของธุรกรรมหลักของธนาคาร และทำการวิเคราะห์ทั้งสองบัญชีควบคู่กันไป กล่าวคือ
 ๑. จัดทำบัญชีของฝ่ายการธนาคาร เพื่อแสดงฐานะการเงินที่เกิดจากการประกอบธุรกรรมธนาคารกลาง
๒. จัดทำบัญชีของฝ่ายออกบัตรธนาคารแยกบัญชีต่างหาก เพื่อแสดงฐานะการเงินของเงินสำรองที่ใช้หนุนหลังธนบัตร พร้อมดอกผลและกำไรจากการตีราคาทรัพย์สินp16.6.jpg 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

p16.7.jpg สำหรับทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งมีทุนเริ่มแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยได้รับโอนมาจากสินทรัพย์ทุนสำรองเงินตราส่วนที่เกินจำนวนธนบัตรออกใช้เป็นมูลค่า ๖๓ ล้านเหรียญสหรัฐ นั้น ต่อมาในปื พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐบาลได้ออกกฎหมายโอนทุนสำรองเงินตราส่วนที่เกินธนบัตรออกใช้ที่เกิดจากการกำหนดค่าเสมอภาคของเงินบาทเข้าเป็นสินทรัพย์ของทุนรักษาระดับแลกเปลี่ยนเงินตราอีกเป็นจำนวน ๑๒,๒๗๓,๙๗๖.๑๙ เหรียญสหรัฐ รวมเป็นทุนดำเนินการทั้งสิ้น ๗๕,๒๗๓,๙๗๖.๑๙ เหรียญสหรัฐ หรือ ๑,๕๖๕,๖๙๘,๗๐๔.๗๕ บาท ตามอัตราค่าเสมอภาค ๑.๐๐ เหรียญสหรัฐ เท่ากับ ๒๐.๘๐ บาท
p16.0.jpg
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

Website ที่เกี่ยวข้อง

 

ติดต่อ

www.luangta.com