ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow คลังหลวงแห่งประเทศไทย ตอนที่ 2 arrow ๑๙ วิกฤตเศรษฐกิจ ทุนสำรอง ๒ โอ่งย่อยยับ
๑๙ วิกฤตเศรษฐกิจ ทุนสำรอง ๒ โอ่งย่อยยับ PDF พิมพ์ อีเมล์

p19.5.jpg

               

                     “...เวลานี้คนกำลังวิ่งตามไอ้หลังลาย มันกำลังจะตายรู้ไหมล่ะ ไอ้หลังลายก็ธนบัตรนั่นแหละจะเป็นอะไร ท่านมีมาไว้สำหรับความจำเป็นในการแลกเปลี่ยนซื้อขายกันธรรมดา ท่านไม่ได้มีมาไว้ให้คนเป็นบ้าวิ่งตามไอ้หลังลายนะ ไอ้หลังลายก็ประสากระดาษจะมีอะไร มาสมมุติขึ้นใช้ธรรมดา แต่นี้มันไม่ได้เพียงเท่านี้มันดีดมันดิ้นเลยไอ้หลังลายไป ไอ้หลังลายเป็นเจ้าอำนาจใหญ่โตละทุกวันนี้ บีบบี้สีไฟโลกให้ดีดให้ดิ้นไปทั่วหน้ากันหมด
เศรษฐีก็ไม่พอ ไอ้หลังลายคว้าเรื่อยๆ เวลาตายแล้วไม่เห็นไอ้หลังลายไปเผา ก็มีแต่ฟืนแต่ไฟ มีแต่ถ่านมีแต่ไฟฟ้าเผากันเท่านั้น ไอ้หลังลายมันเฉยไม่เห็นมีอะไร เวลายังมีชีวิตอยู่ดิ้นกับมันจนจะเป็นจะตาย ได้มาเท่าไรไม่พอได้ไอ้หลังลายนี่ ไม่มีใครพอ ดีดตลอดเวลา นี่ละถึงได้ว่าพวกบ้ากับไอ้หลังลาย เอามาใช้เฉยๆ ก็รู้อยู่แล้วว่าเอามาใช้เป็นความสะดวกต่อกันเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงเอามาใช้จนกระทั่งไอ้หลังลายเผาหัวคนแทนไฟ...หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ความโลภจะทำลายชาติ ๒๑ พ.ย. ๒๕๔๘ ...มีแต่เรื่องของกิเลสทั้งนั้นเหยียบหัวคน ๆ อะไรก็ไม่รู้ ดินน้ำลมไฟต้นไม้ภูเขาแร่ธาตุต่าง ๆ ก็มีอยู่เต็มแผ่นดินแต่ไหนแต่ไรมา เอามาสมมุติเป็นเงินเท่านั้นก็เป็นบ้ากัน กระดาษเห็นไหมล่ะเอามาพิมพ์เป็นไอ้หลังลายมันเหยียบหัวคนแหลกหมด เวลานี้ไอ้หลังลายมีอำนาจมากนะ คนเอามาใช้ให้ได้ประโยชน์มันไม่ได้เป็นประโยชน์ มันเป็นโทษแก่คนเพราะคนไม่รู้จักประมาณ ถ้ารู้จักประมาณสิ่งเหล่านี้มาเป็นประโยชน์ทั้งนั้น เพราะท่านทำไว้เพื่อเป็นประโยชน์ไม่ใช่ทำเพื่อความฉิบหายอย่างที่เป็นอยู่เวลานี้ โถ เห่อเป็นบ้ากันเลยนะ กระดาษ ถ้าว่าเงินเหรียญก็แร่ธาตุต่าง ๆ เหมือนหินนั่นผิดแปลกอะไรกัน มันหากเป็นบ้ากันเฉย ๆ มนุษย์เรา อยู่ที่ไหนเหมือนกงจักรนะหมุนติ้ว ๆ อยู่ภายในใจ กิริยาอาการร่างกายภายนอกนี้เก็บไว้ประดับหน้าร้าน ดูว่าสงบเสงี่ยม ภายในเป็นไฟ ๆ อยู่ ดูภายในนั่นซิ นี่คิดภายในนะที่เอามาพูดนี่ไม่ได้คิดภายนอกนะ...หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

 ความพอดี ๗ ก.ค. ๒๕๓๘

 p19.1.jpg

[1]วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยเกิดจากการพัฒนาอย่างรวดเร็ว แบบก้าวกระโดด ขณะที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศยังไม่เข้มแข็ง จุดตั้งต้นของวิกฤตครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยเริ่มตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เมื่อได้มีการตัดสินใจจะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค และมีความชัดเจนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เมื่อได้เริ่มดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน ในขณะที่ยังคงรักษาช่วง (band) อัตราการแลกเปลี่ยนที่แคบมากไว้ (ประมาณ ๒๕ บาท เท่ากับ ๑ เหรียญสหรัฐ) แทนที่จะเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นมากกว่านี้  ทำให้หลายฝ่ายมองว่า เป็นความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายทางการเงินครั้งสำคัญ และกลายเป็นระเบิดเวลาที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. ๒๕๔๐


[1]                     อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเอกสารรายงานผลการวิเคราะห์และวินิจฉัย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจ (ผลสอบธนาคารแห่งประเทศไทย) เสนอโดย คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.)

p19.01.jpg





















 

*วิเทศธนกิจ (BIBF: Bangkok International Banking Facility)  หมายถึง กิจการการกู้ยืมเงินโดยมีแหล่งเงินจากต่างประเทศ

           วิกฤตการณ์เศรษฐกิจไทยครั้งนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากการก่อหนี้ของภาคเอกชน ประกอบกับการดำเนินนโยบายการเงินของรัฐดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความไม่สมดุลของระบบการเงินการคลัง การเปิดเสรีทางการเงินมีส่วนทำให้การก่อหนี้บานปลายโดยเฉพาะหนี้สินต่างประเทศ บริษัทต่างๆ ในประเทศไทยขยายการลงทุนจนเกินความต้องการ ขณะที่ความอ่อนแอของระบบสถาบันการเงิน ความตกต่ำในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และนโยบายอัตราค่าเงินบาทคงที่ ทำให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ กระทั่งขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ความผิดพลาดในเชิงนโยบายทางการเงินและการใช้นโยบายการคลังที่ผ่อนปรน เป็นเหตุจูงใจให้บรรดากองทุนเพื่อการลงทุนขนาดใหญ่หรือกองทุนเก็งกำไรที่เรียกว่า เฮจฟันด์ (Hedge Fund) เห็นโอกาสเข้าโจมตีค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จนกระทั่งเข้าสู่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มสูญเสียทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ  
             
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นประชาชนผู้ออมก็เกิดความไม่มั่นใจในด้านคุณภาพของสินทรัพย์และความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินและของธนาคารพาณิชย์บางแห่งอีกด้วย และเมื่อมีข่าวลือแพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางว่าสถาบันการเงินบางแห่งประสบปัญหาจนถึงขั้นไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปอีกได้ ยิ่งทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น และพากันระดมถอนเงินที่ฝากไว้

          ในขณะนั้นสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ก็มีปัญหาขาดสภาพคล่องในการไถ่ถอนเงินฝากของประชาชน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุนฟื้นฟูฯ)ให้การสนับสนุนสภาพคล่องด้วยการให้กู้ยืมตามความต้องการทุกกรณี แต่ได้กำหนดให้ผู้กู้ยืม(คือสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์) นำเอาสินทรัพย์ ๒ เท่ามาเป็นหลักประกัน อย่างไรก็ตามแม้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยจะพยายามเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวแต่เนื่องจากมีการวิเคราะห์และมีข่าวลือต่างๆ สะพัดออกมามากมาย กลายเป็นการเร่งให้ประชาชนเกิดความไม่เชื่อมั่นและพากันระดมถอนเงินฝากมากขึ้นไปอีก ตกเป็นภาระของกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งทวีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะต่อมา

p19.02.jpg         










            จากจุดนี้ทำให้รัฐบาลโดยข้อเสนอสุดท้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย จำเป็นต้องสั่งปิดกิจการสถาบันการเงินเป็นการชั่วคราว โดยสั่งปิดรอบแรกจำนวน ๑๖ แห่งในวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และรอบที่ ๒ อีก ๔๒ แห่งในวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ รวม ๕๘ แห่ง และรัฐบาลยังได้ประกาศนโยบายค้ำประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินอีกด้วย ทั้งนี้ได้ตั้งกฎเกณฑ์ด้วยว่าผู้ฝากบางประเภทยังคงสามารถถอนเงินฝากได้ และสำหรับผู้ฝากเงินอีกบางประเภทได้ให้ย้ายเงินฝากไปยังสถาบันการเงินของรัฐ คือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย
               อย่างไรก็ตาม แม้จะกำหนดให้เปิดรับการชำระหนี้คืนได้ แต่เนื่องจากสถาบันการเงินทั้ง ๕๘ แห่งไม่สามารถให้บริการด้านธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ ซึ่งถือเป็นปกติวิสัยของลูกค้าสินเชื่อโดยทั่วไป จึงทำให้ฐานะและการดำเนินงานของลูกค้าด้านสินเชื่อได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงทันที คุณภาพของสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเหล่านี้จึงเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปถึงคุณภาพสินทรัพย์ของระบบการเงินของประเทศที่เหลือจึงเสื่อมคุณภาพไปด้วย เท่ากับเป็นการซ้ำเติมการถดถอยของระบบเศรษฐกิจไทยในช่วงภาวะวิกฤตให้หนักยิ่งขึ้น และเนื่องจากกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นนิติบุคคลในธนาคารแห่งประเทศไทย ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด จึงกลาย เป็นหนี้สาธารณะ และเป็นภาระของชาติ
เงินบาทไม่เป็นเศษกระดาษ..เพราะโอ่งคลังหลวง
              ในด้านทุนสำรองระหว่างประเทศ จากการโจมตีค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่องของกองทุนเก็งกำไรตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จนกระทั่งเข้าสู่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ลอยตัวค่าเงินหรือทำให้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนยืดหยุ่นขึ้นทำให้ต้องสูญเสียทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ และรุนแรงมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐  ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แก้ไขปัญหาการโจมตีค่าเงินบาทโดยการทุ่มเททุนสำรองระหว่างประเทศเป็นมูลค่ามหาศาลเข้ามาพยุงหรือปกป้องค่าเงินบาทอย่างขาดความรอบคอบ ส่งผลให้สูญเสียทุนสำรองระหว่างประเทศจากเดิมที่เคยมีถึงประมาณ ๓๙,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ในสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เหลือ ๒๖,๖๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ (เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐) และลดลงเหลือ ๒,๘๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ (เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐) ประเทศไทยจึงต้องประสบกับภาวะล้มละลายทางการเงินจนต้องยอม ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ จนกระทั่งในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ นับจากต้นปีได้เพียง ๗ เดือนเศษ ทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิก็ได้ลดลงเหลือเพียง ๑๕๘ ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น
 ตารางที่ 1
องค์ประกอบของทุนสำรองทางการของไทย
ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

  p19.03.jpg

 







 

 
ประเภทบัญชี/ทุนสำรอง    ปริมาณเงิน
(
พันล้านเหรียญสหรัฐ)  
ร้อยละของ
ทุนสำรองทางการ
ร้อยละของ
ทุนสำรองทางการสุทธิ
1. บัญชีทุนสำรองเงินตรา[1]  21.32   55.1 80.15
2. บัญชีทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน    0.69   1.8 2.59
3. บัญชีทุนสำรองทั่วไป              16.64  4. หัก: ภาระผูกพันล่วงหน้า       12.05   4.59    43.0  17.26
5. เงินทุนสำรองทางการ  (1) + (2) + (3)   38.65   100.0 100.0
6. เงินทุนสำรองทางการสุทธิ  (5) – (4)    26.60    
 ส่วนหนึ่งจาก : บันทึกเลขที่ 135/2540 จากหัวหน้าส่วนธุรกิจต่างประเทศถึงผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร 14 ก.พ.2540
 

               สภาพการเงินของประเทศในตอนนั้นจึงถูกรุมเร้าด้วยปัญหาสารพัดอย่าง เช่น ปัญหาความไม่เพียงพอของทุนสำรองระหว่างประเทศ ปัญหาความไม่มั่นใจของประชาชนผู้ออมในระบบการเงินไทย ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวเป็นภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเป็นการทั่วไป และมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย ความมั่นคงของระบบการเงิน สภาพการประกอบการของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง การขาดรายได้ของประชาชนทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของประชาชนที่มีรายได้น้อย อันส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านสังคม และสภาพของเศรษฐกิจสังคมไทย มิหนำซ้ำยังต้องประสบกับภาวะการขาดความไม่มั่นใจทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ กล่าวได้ว่าเป็นภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศ  


 (ล้านเหรียญ)  
สิ้นปี
2539

 กุมภาพันธ์ 2540

 
มิถุนายน
2540
 
สิงหาคม
2540
 ทุนสำรองทางการสุทธิ  39,000  26,600  2,800  158
(ข้อมูลส่วนหนึ่งจากหนังสือ ข้อเท็จจริงในด้านนโยบายเกี่ยวกับ ปรส..”: ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์))

[1] ภาระผูกพันล่วงหน้า (คือการทำธุรกรรม swap 12.05 พันล้านเหรียญฯ) ไม่ส่งผลกระทบทุนสำรองเงินตรา(โอ่งคลังหลวง) เนื่องจากพ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 ห้ามนำทุนสำรองเงินตราไปใช้เพื่อการอื่นนอกจากเป็นทุนหนุนหลังการออกธนบัตร โอ่งคลังหลวงจึงยังมั่นคงปลอดภัยและมีบทบาทสูงสุดในขณะนั้นในการพยุงค่าเงินบาทไว้มิให้พังพินาศไปยิ่งกว่านี้

p19.8.jpg











กู้ IMF เพิ่มทุนสำรอง                
           เมื่อทุนสำรองทางการลดน้อยลงจนอยู่ในขั้นวิกฤต ต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในความสามารถชำระเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาว หากรัฐบาลไม่เร่งแก้ไขหรือหามาตรการใดมารองรับผลเสียหายอาจถึงขั้นต่างประเทศไม่ยอมรับเลตเตอร์ออฟเครดิต (
Letter of Credit) ซึ่งใช้สั่งสินค้าและวัตถุดิบเพื่อการผลิต เศรษฐกิจไทยก็จะต้องประสบกับภาวะชะงักงัน เพราะไม่มีวัตถุดิบเพื่อการผลิตสำหรับส่งออก และผลิตเพื่ออุปโภคบริโภคสำหรับประชาชนภายในประเทศ รัฐบาลจึงต้องยอมลดค่าเงินเพื่อดึงความเชื่อถือของต่างประเทศให้กลับมาในระดับหนึ่งด้วยการประกาศให้ค่าเงินบาทลอยตัว แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด          
 

            
ดังนั้น รัฐบาลจึงตัดสินใจขอความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF) โดยกู้ในวงเงิน ๑๔,๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อนำเงินที่กู้ไปทดแทนทุนสำรองซึ่งร่อยหรอลงจากภาวะวิกฤต โดยรัฐบาลมิได้นำเงินกู้นี้ไปใช้จ่ายแต่อย่างใด ทั้งนี้รัฐบาลได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) ขอความช่วยเหลือจาก IMF เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ทำให้รัฐบาลต้องผูกพันเงื่อนไขกับ IMF ไว้หลายประการ โดยถือเป็นการผูกพันต่อภาครัฐด้วย ทำให้รัฐบาลต้องมีวาระการพิจารณาร่างหนังสือแสดงเจตจำนงก่อนลงนามผูกพันโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะรัฐมนตรียังมีมติแต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกำกับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจตามเงื่อนไขของ IMF ดังนี้ 

              “
ให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลตามเงื่อนไขเวลาและเป้าหมายที่ได้ตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศต่อไป

           

p19.05.jpg 

    

 

 

 

 

p19.06.jpg



















             เงื่อนไขหนึ่งที่ถูกกำหนดในหนังสือแสดงเจตจำนงกับ IMF ก็คือจะดำเนินนโยบายการคลังที่เข้มงวดโดยได้กำหนดว่าจะต้องมีงบประมาณเกินดุล และหากรายได้ของรัฐมีไม่พอจะต้องขึ้นภาษี (ต่อมาได้ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ ๗ เป็นร้อยละ ๑๐) ควบคู่ไปกับนโยบายการเงินตึงตัว คือให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศคงไว้ในระดับสูงเพื่อหยุดยั้งการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ นอกจากนี้ต้องจัดตั้งองค์กรอิสระที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ และปลอดจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองให้เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ มาทำหน้าที่แก้ปัญหา ๕๘ สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ โดยแยกสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดีออกจากสินทรัพย์ที่ไม่มีคุณภาพ และมีมาตรการให้รัฐคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน บางส่วนไปด้วย รวมทั้งได้กำหนดให้รัฐเป็นผู้รับความเสียหายทั้งหมดในอนาคตต่อมา รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ จัดตั้ง องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นไป เพื่อดำเนินการกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการทั้ง ๕๘ แห่ง ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะกรรมการปรส.มีมติว่า สามารถฟื้นฟูให้ดำเนินกิจการต่อไปได้เพียง ๒ แห่ง ที่เหลืออีก ๕๖ แห่งไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้ และนำเข้าสู่กระบวนการชำระบัญชี ต่อไป   
         สำหรับผลกระทบจากการปิดกิจการสถาบันการเงิน ๕๘ แห่งนานถึง ๗-๙ เดือน ทำให้ลูกหนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก กลายเป็นลูกหนี้เสียเกือบทั้งหมด จากนั้น ปรส. ได้ดำเนินการต่อ โดยนำสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้ตกไปเป็นสินทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูฯ และเข้าสู่กระบวนการ ปรส. โดยจัดจำหน่ายด้วยวิธีการประมูลขายสินทรัพย์ทั้งหมดออกไป เพื่อให้สินทรัพย์เหล่านั้นถูกถ่ายโอนไปสู่มือของเอกชน หวังช่วยให้การแก้ปัญหาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำได้โดยเร็ว ช่วยให้กิจการของลูกหนี้ฟื้นตัวได้เร็ว และจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมด้วยในแง่ของการจ้างงาน สร้างรายได้และรักษารายได้ของประชาชนที่เกี่ยวข้อง
          จากปัญหาในด้านทุนสำรองระหว่างประเทศ ปัญหาในด้านภาวะอัตราดอกเบี้ยสูง ปัญหาในด้านสภาพคล่องและการประกอบธุรกรรมทางด้านการเงิน ปัญหาวงจรธุรกิจที่ได้เคยมีกับลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการได้ขาดสะบั้นลง ปัญหาค่าเงินบาทที่ได้ลดลงทำให้ภาระหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศสูงขึ้น และปัญหาความไม่สามารถอำนวยสภาพคล่องของระบบสถาบันการเงินเป็นการทั่วไป ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ย่อมจะกระทบต่อฐานะและการดำเนินงานของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ทั้งในด้านการเงิน การผลิต การตลาด และการจ้างงาน รวมทั้งความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งในท้ายที่สุดจะมีผลในด้านคุณภาพของลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ทำให้ความมั่นคงของระบบการเงินไทยทรุดลงอีก เพราะปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไปคือหนี้เสียจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้สถาบันการเงินไทยซึ่งเพิ่งผ่านวิกฤตปัญหาความไม่มั่นใจของประชาชนผู้ออม เกิดปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงในด้านหนี้เสียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย
         
ในด้านภาคประชาชน สำหรับประชาชนผู้ออมซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศมากนัก ก็ได้มีพฤติกรรมในการลดการจับจ่ายใช้สอยลง สำหรับภาคประชาชนที่อยู่ในตลาดแรงงานซึ่งรวมถึงทั้งระดับบริหารและลูกจ้าง ทั้งในภาคเอกชนและลูกจ้างราชการ ก็มีความพะวงต่อสถานภาพในการจ้างงาน นำไปสู่การจับจ่ายใช้สอยที่ลดลง สำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งมีฐานะยากจนและเป็นลูกจ้างรายวันก็มีปัญหาจากการถูกให้ออกจากงานและการลดลงของรายได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่ชัดเจนว่าการอุปโภคบริโภคในระบบเศรษฐกิจมหภาคก็จะลดลงไปด้วยอย่างมาก จะคงเหลือเพียงแต่ในด้านภาคการเกษตรที่ยังพอได้รับประโยชน์บ้างจากการขายผลิตผลทางการเกษตรที่มีมูลค่าเป็นเงินบาทมากขึ้น จึงทำให้ภาคเกษตรสามารถรองรับสภาพการณ์พ้นจากงานโดยทั่วไปได้ในระดับหนึ่ง
ประวัติความเป็นมาของกองทุน             
         
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528  โดยมีเจตนารมณ์เพื่อดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือในทางการเงินเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ  โดยเฉพาะเมื่อมีวิกฤตการณ์ร้ายแรงเกิดขื้นในระบบสถาบันการเงิน  ภายใต้กรอบนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐบาล  รวมถึงการให้ประกันความเสียหาย และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามสมควรแก่กรณีสำหรับผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน เนื่องจากสถาบันการเงินประสบวิกฤตการณ์ทางการเงินอย่างร้ายแรง การบริหารจัดการทรัพย์สิน หนี้สินและพันธบัตรกองทุน การกำกับดูแลการจัดการด้านนโยบายบริหารสินทรัพย์ และสถาบันการเงินที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้น ตลอดจนดำเนินการเพื่อเรียกเก็บหนี้ บังคับชำระหนี้และหลักประกันในส่วนที่บุคคลภายนอกเป็นหนี้กองทุน ศึกษาและเตรียมการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
สถานะของกองทุน             
           
กองทุนมีฐานะทั้งเป็นส่วนหนึ่งและเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากธนาคารแห่งประเทศไทย  ในส่วนของการบริหารงานกองทุนเป็นฝ่ายหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยสายจัดการกองทุนและหนี้ทำหน้าที่ในการบริหารภายใต้กรอบของคณะกรรมการจัดการกองทุน มีการจัดทำบัญชีและงบประมาณเป็นของกองทุนเอง และมีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจบัญชี  โดยได้รายงานผลการสอบบัญชีนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อทราบ
 
 การที่ค่าเงินบาทได้ลดลงจากเดิมที่เคยอยู่ในระดับ ๒๕-๒๖ บาทต่อ ๑ เหรียญสหรัฐ มาอยู่ในระดับ ๔๐ กว่าบาทต่อ ๑ เหรียญสหรัฐ ก็ได้ก่อเกิดปัญหาต่อภาคการลงทุนที่ได้มีการกู้ยืมเป็นเงินตราต่างประเทศเนื่องจากทำให้มีภาระหนี้สินมากขึ้น ส่วนปัญหาภาคการส่งออกในส่วนของต้นทุนวัตถุดิบและการบริการ รวมทั้งการต่อรองของผู้ซื้อในต่างประเทศก็มีความเข้มข้นมากขึ้น ส่งผลให้ราคาส่งออกก็ย่อมที่จะได้รับผลกระทบ มีเพียงภาคธุรกิจการท่องเที่ยวขาเข้าที่จะได้รับประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม สำหรับภาคประชาชนโดยทั่วไป ภาวะการครองชีพก็จะถูกกระทบจากการที่ราคาสินค้าที่มีส่วนประกอบจากต่างประเทศสูงขึ้น ราคาน้ำมัน ราคาเวชภัณฑ์สูงขึ้น แม้กระทั่งภาคเกษตรเองก็จะมีปัญหาในด้านต้นทุนสูงขึ้น เพราะราคาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชสูงขึ้นเช่นกัน    
p19.12.jpg
             จากสภาพที่ได้เกิดขึ้นมาทั้งหมดนี้ ทำให้เศรษฐกิจมหภาคของประเทศได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ต้องติดลบอย่างรุนแรง ความมั่นใจทั้งในและนอกประเทศอยู่ในสภาพที่เปราะบาง ประชาชนต่างก็เดือดร้อนกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่ยากจน และเนื่องจากกองทุนฟื้นฟูฯ มีภาระมากในการแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินของประเทศ ขณะที่กองทุนฟื้นฟูฯ เองก็ไม่มีทรัพยากรเป็นของตัวเอง จึงต้องอาศัยการกู้ยืมเงินระยะสั้นในตลาดเงินเพื่อรองรับภาระของตนเกือบทั้งหมด หนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ จึงกลายเป็นหนี้สาธารณะซึ่งเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นก็จะต้องตกเป็นภาระของรัฐบาลต่อไป         
           
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มิได้เป็นปรากฏการณ์แต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ยังได้ลุกลามไปอีกหลายประเทศในทวีปนี้ ทำให้เกิดเป็นวิกฤตภูมิภาคเอเชีย และได้ส่งผลต่อกำลังซื้อและความมั่นใจของผู้ประกอบการทั้งจากภายในและภายนอกประเทศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ผลของวิกฤตยังกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก  โดยความรุนแรงที่สุดจะอยู่ในประเทศแถบเอเชีย ผลของเหตุการณ์ส่งผลร้ายต่อการล้มละลายของภาคการเงินและตลาดทุนของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นในเอเชีย อเมริกาใต้ ยุโรปตะวันออก รวมทั้งประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป ต่างก็ประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
            สำหรับประเทศที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ รวมถึงไทยก็จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจาก
IMF หลังจากที่ประเทศไทยได้เข้ารับความช่วยเหลือจาก IMF ไปได้ระยะหนึ่งก็ได้ถูกวิจารณ์อย่างแพร่หลายว่า ประเทศไทยประสบกับความตกต่ำอย่างรุนแรงเกินความจำเป็น  เพราะนโยบายของ IMF ดังกล่าวนอกจากจะไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้แล้วกลับเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้หนักขึ้น และเกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจอย่างมาก  อย่างไรก็ตาม วิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นั้นได้ถูกบ่มเพาะมาก่อนหน้านั้นเป็นเวลาหลายปีแล้ว การชี้นำให้หลงเดินทางผิดของ IMF จึงไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะการที่คนไทยใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย หลงในอำนาจเงิน อำนาจทุน ฟุ้งเฟ้อ สุรุ่ยสุร่าย เปรียบได้กับแมลงเม่าที่หลงแสงไฟย่อมยินดีที่จะบินเข้าหาภัย ซึ่งในข้อนี้ก็เป็นต้นเหตุวิกฤตการณ์ของชาติด้วยเช่นกัน
ลำดับเหตุการณ์ล่มสลายสถาบันการเงิน

p19.14.jpg 

 

 

 

 

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

Website ที่เกี่ยวข้อง

 

ติดต่อ

www.luangta.com