ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow คลังหลวงแห่งประเทศไทย ตอนที่ 2 arrow ๒๘ คลังหลวง ตามหลักรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์
๒๘ คลังหลวง ตามหลักรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ PDF พิมพ์ อีเมล์
p28.5.jpg

p28.1.jpg

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สยามในอดีตเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงเหตุการณ์ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งขณะนั้นพระมหากษัตริย์ทรงเก็บรักษา เงินถุงแดงเป็นทุนสำรองแผ่นดินต่อเนื่องยาวนานถึง ๓ รัชกาล จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้นำ เงินถุงแดง ออกปกป้องเอกราชได้อย่างน่าอัศจรรย์ เทียบเคียงกับเงิน คลังหลวง ปกป้องเอกราชในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้อย่างหวุดหวิด

ในการปกครองประเทศ ผู้ปกครองทุกยุคสมัยที่มีใจเป็นธรรมจักคำนึงถึงประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ มีเป้าหมายเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างผาสุกร่มเย็น ผู้ปกครองพยายามจัดหารายได้เพื่อนำมาพัฒนาประเทศให้เกิดความเจริญในด้านต่างๆ มีการวางกฎเกณฑ์ในสังคมเพื่อให้เกิดความสงบสุขและศีลธรรมอันดีงาม การตรากฎหมายก็เป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน จุดไหนที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงของชาติท่านจะตรากฎหมายคุ้มครองรักษาไว้อย่างเข้มงวดเพื่อความไม่ประมาท โดยเฉพาะในการปฏิบัติต่อ คลังหลวง ท่านก็ใช้หลักเกณฑ์อันเดียวกันนี้ครั้งอดีตท่านอารักขา คลังหลวง ด้วยกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดและน่าเกรงขามตามหลักโบราณราชประเพณีของพระมหากษัตริย์จึงไม่มีผู้ใดกล้าล่วงละเมิด ครั้นสมัยต่อมาเมื่อจัดระเบียบการเงินการคลังแผ่นดินแล้ว การตรากฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับ คลังหลวง ก็ยังเป็นไปด้วยความเคารพยำเกรงต่อสมบัติของแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์ท่านวางรากฐานไว้ไม่มีผู้ใดเข้ามาเกี่ยวข้องหรือเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เหล่านี้ จึงทำให้ คลังหลวง มีความมั่นคงปลอดภัยตลอดมาต่อเมื่อมี ร่างกฎหมายรวมบัญชี เกิดขึ้น สมบัติค้ำชาติที่ท่านเทิดทูนไว้ในที่สูงก็เริ่มถูกดึงลงมาต่ำให้แปดเปื้อนโคลนตม อีกทั้งเนื้อหาของกฎหมายก็ทำให้คุณค่าและศักดิ์ศรีของคณะรัฐบาลต้องเสื่อมถอยลง กฎหมายซึ่งเป็นสื่อแทนพระบรมราชโองการของกษัตริย์ที่แต่เดิมท่านตราไว้เพื่อรักษาสมบัติของชาติกลับกลายเป็นกฎหมายที่ทำลายสมบัติชาติและทำลายความมั่นคงของชาติเสียเอง คณะรัฐบาลซึ่งควรจะออกแนวหน้าแห่งการเสียสละชีวิต เลือดเนื้อ หรือทรัพย์สิน เพื่อปกป้องชาติและสมบัติของชาติเหมือนครั้งอดีตที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงกล้าหาญชาญชัยออกทัพหน้าทำการศึกสงคราม กลับกลายเป็นการออกแนวหน้าเพื่อความล่อแหลมอันตรายต่อสมบัติของชาติเสียเอง และด้วยความห่วงใยชาติทำให้นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และนักกฎหมายได้ออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ นักรัฐศาสตร์ : “คลังหลวง หลักธรรมนูญทางเศรษฐกิจแห่งชาตินักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ท่านหนึ่งแสดงความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายรวมบัญชี ดังนี้...สินทรัพย์ในคลังหลวงนี้มีการสะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง .. ๒๔๗๕ และก่อนที่จะมีการจัดองค์กรของรัฐใหม่ รวมทั้งก่อนการจัดตั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย อีกด้วย สินทรัพย์ในคลังหลวงนี้ถูกแยกไว้ต่างหากมิให้ปะปนกับเงินแผ่นดินประเภทอื่น จึงมิได้เป็นของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเป็นของรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใด หากเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของชาติ ของประชาชนทั้งประเทศ เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของประชาชนชาวไทย เป็นสมบัติของชาติที่อยู่เหนือนโยบายเฉพาะหน้าของรัฐบาล เพราะการมีอยู่ของคลังหลวงนี้ ตั้งอยู่บนหลักการสำคัญตามเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษ หลักการนี้ได้มีการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร จึงถือได้ว่าเป็นหลักธรรมนูญทางเศรษฐกิจของชาติทั้งนี้ในเวลาต่อมา ก็ได้มีการยอมรับในความสูงสุดของหลักการนี้ โดยมีพระราชบัญญัติเงินตรา พ.. ๒๔๗๑ มาตรา ๑๕ ได้ระบุให้กันคลังหลวงไว้ต่างหากจากเงินแผ่นดินประเภทอื่นทั้งหลาย ต่อมามีพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.. ๒๔๘๕ และพระราชบัญญัติเงินตรา พ.. ๒๕๐๑ ก็ยังกำหนดให้แยกสินทรัพย์ของคลังหลวงไว้ต่างหากจากสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่อยู่ใน ฝ่ายการธนาคารสินทรัพย์ของคลังหลวงในปัจจุบันมีชื่อเรียกว่า ทุนสำรองเงินตรา ซึ่งเก็บรักษาไว้ใน ฝ่ายออกบัตร ประกอบด้วยบัญชีสำคัญ ๓ บัญชี คือ. บัญชีทุนสำรองเงินตรา   . บัญชีผลประโยชน์ประจำปี   . บัญชีสำรองพิเศษการที่รัฐบาลถือโอกาสอ้างความจำเป็นในการแก้ไขวิกฤตภาวะการคลังของรัฐ คิดสั้น พยายามใช้วิธีการอ้างเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และอาศัยกระบวนการนิติบัญญัติทำลายหลักการและเจตนารมณ์ของบรรพชน โดยมิได้คำนึงถึงทางเลือกอื่น แต่อาศัยอำนาจหน้าที่พยายามเสนอมาตรการทางกฎหมายแปรเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีการสะสมไว้ อันเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของชาติ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเพียงผู้ดูแลรักษา ไปเป็นสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นฝ่ายที่มีกรรมสิทธิ์ สามารถเข้ามาดำเนินการบริหารจัดการหรือจำหน่ายจ่ายโอนได้อย่างเต็มที่ และยังแบ่งปันสินทรัพย์บางส่วนให้แก่กระทรวงการคลังนำไปล้างหนี้กองทุนเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินที่เกิดจากกระทรวงการคลังเข้าไปค้ำประกันเงินฝากและหนี้ของสถาบันการเงินซึ่งมีผลขาดทุนจำนวนมหาศาลความคิด และความพยายามดังกล่าว เป็นการล้มล้างหลักการอันเป็นปราการด่านสุดท้ายของการรักษาชาติ รักษาแผ่นดิน ล้มล้างหลักธรรมนูญทางเศรษฐกิจแห่งชาติที่ได้มีการวางรากฐานไว้ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ เป็นหลักการที่บรรพชนวางและรักษาไว้เพื่อรักษาแผ่นดิน เป็นหลักการที่ได้รับการยึดมั่นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นหลักการที่อยู่เหนือกาลเวลา และอยู่เหนือนโยบายของรัฐบาลใดๆ เป็นหลักการที่รัฐบาลทุกรัฐบาลพึงรักษาไว้ยิ่งชีวิต มิใช่เพื่อทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงเพียงเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานที่ผิดพลาดของธนาคารแห่งประเทศไทย การแก้ไขกฎหมายเพื่อล้มล้างหลักการดังกล่าว จึงเป็นการผิดประเพณีธรรมในการปกครองประเทศ และย่อมขัดกับรัฐธรรมนูญที่มีเจตนารมณ์ให้การคุ้มครองสิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน และยังได้คุ้มครองสิทธิของบุคคลและสินมรดกของบุคคลว่าย่อมเป็นไปตามกฎหมายบัญญัติด้วยการที่บรรพบุรุษกำหนดให้แยกสินทรัพย์ในคลังหลวงไว้เป็นพิเศษมิให้ปะปนกับทรัพย์อื่นใดจึงย่อมมีความสำคัญยิ่งไปกว่าสิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน และจัดว่าเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของบุคคลทุกคนในชาติ กฎหมายที่ออกมารองรับกรรมสิทธิ์ร่วมนี้ เป็นการสอดคล้องกับหลักธรรมนูญทางเศรษฐกิจเพื่อความอยู่รอดของชาติ เงื่อนไขเดียวที่จะแตะต้องกรรมสิทธิ์ร่วมของแผ่นดินได้ คือการถูกบีบคั้นจนถึงขั้นจะต้องเสียอธิปไตยของรัฐอันเป็นเงื่อนไขที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยนำ เงินถุงแดง ออกมาไถ่ถอนชาติจากการคุกคามของฝรั่งเศสซึ่งกำหนดเงื่อนไขแบบไร้มนุษยธรรมให้นำเงินเหรียญทองมูลค่ามหาศาลมาชดใช้ฝรั่งเศสให้ได้ภายใน ๔๘ ชั่วโมง พระองค์จึงยอมสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตของชาติไทยในเมื่อมีรัฐธรรมนูญซึ่งให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของปัจเจกบุคคล และการสืบทอดมรดกไว้ว่าย่อมเป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ ดังนั้นในกฎหมาย ๒ ฉบับ คือ พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๘๕ และพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติคุ้มครองสิทธิของบุคคลทั้งหมดในชาติ และคุ้มครองการสืบมรดกอันเป็นทรัพย์สินของชาติ จึงย่อมจะต้องได้รับความคุ้มครองเคร่งครัดยิ่งกว่าทรัพย์สินในปัจเจกบุคคลที่ถูกต้องแล้ว การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล จักต้องยึดมั่นในหลักการของการรักษามรดกอันดีงามของชาติ โดยยึดถือหลักการเก็บรักษา และสะสมสินทรัพย์ในบัญชีต่างๆ ของคลังหลวงเพื่อสำรองไว้ใช้ในยามคับขันถึงขั้นจะสูญเสียเอกราชและอธิปไตยเท่านั้น การแสดงเจตจำนงและพยายามแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าวของรัฐบาลเพื่อสละละทิ้งหลักการนี้ จึงถือได้ว่าเป็นจุดพลิกผันสำคัญในการที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านจิตสำนึกของการสืบทอดมรดก ในการดำรงชีพ ดำรงชาติ…” นักกฎหมาย : ตีความ คลังหลวง ไม่ใช่ของธปท.
ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ กล่าวเตือนผู้เกี่ยวข้องให้ตระหนักว่า ทุนสำรองเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่ของธนาคารชาติ เป็นสมบัติส่วนรวมที่ทุกคนต้องช่วยกันรักษาไว้เพื่อลูกหลานสืบไป ซึ่งสอดคล้องกับการการปกป้องคลังหลวง
          สำหรับความเห็นด้านกฎหมายนั้น มีหลักฐานยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการตีความทุนสำรองเงินตราหรือคลังหลวง เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยมีหนังสือ ด่วนมาก ที่ ธปท.ม. ๑๒๗/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๒๓ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ตีความคลังหลวงว่าเป็นของใคร เป็นของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ มีใจความโดยย่อว่า ...ธนาคารแห่งประเทศไทยประสบปัญหาการตีความกฎหมายว่า ทุนสำรองเงินตรา เป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ จึงขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นเพื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ถือปฏิบัติต่อไป...ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าวประกอบกับฟังคำชี้แจงของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งเป็นผู้แทนกระทรวงการคลัง และผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว เห็นว่า          ...ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดให้ทุนสำรองเงินตรานั้นแยกต่างหากจากทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่รักษาทุนสำรองเงินตรา ... ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกระทำการผูกพันทรัพย์อันเป็นทุนสำรองเงินตราหรือใช้ผลประโยชน์แห่งทุนสำรองเงินตราให้ผิดไปจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้ และ ทุนสำรองเงินตรา มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย...          จากคำวินิจฉัย จะเห็นได้ว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้การยอมรับในหลักการและเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษว่า มุ่งหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีสถานะเพียง ผู้ดูแลรักษา เท่านั้น มิใช่ ผู้บริหารจัดการ คลังหลวง ดังนั้น ทั้งรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมิใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์คลังหลวง คลังหลวงจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินก้อนเดียวและก้อนสุดท้ายที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและเป็น กรรมสิทธิ์ร่วมกัน ของคนไทยทั้งชาติ มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ขององค์กรหรือของหน่วยงานใดโดยเฉพาะเหมือนทรัพย์ของแผ่นดินกองอื่นๆ ในธนาคารแห่งประเทศไทยและในกระทรวงการคลัง
p28.2.jpg

 


เลขเสร็จ57/2523เรื่องบันทึกเรื่อง   การตีความกฎหมายเกี่ยวกับ  ทุนสำรองเงินตราตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501-------------เนื้อหา                                ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหนังสือ ด่วนมาก ที่ ธปท.ม. 127/2523 ลงวันที่  31  มกราคม  2523  ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  ความว่า  ตามที่พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกธนบัตรของรัฐบาลได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยเงินตรา และตามพระราชบัญญัติเงินตรา  พ.ศ. 2501 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทย รักษาทุนสำรองเงินตราไว้กองหนึ่ง เรียกว่า ทุนสำรองเงินตรา โดยให้กันไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากสินทรัพย์อื่น ๆนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยประสบปัญหาการตีความกฎหมายว่า ทุนสำรองเงินตรา เป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ จึงขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นเพื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ถือปฏิบัติต่อไป                สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 7) ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าวประกอบกับฟังคำชี้แจงของผู้แทนกระทรวงการคลัง (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง) และผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว เห็นว่า ทุนสำรองเงินตราเป็นทุนซึ่งมีไว้เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพแห่งเงินตรา โดยมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 ได้บัญญัติไว้ว่า เพื่อดำรงไว้ ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษาทุนสำรองเงินตราไว้กองหนึ่ง เรียกว่า ทุนสำรองเงินตรา และในมาตรา 28 ได้บัญญัติว่า ทุนสำรองเงินตรานั้นให้กันไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากสินทรัพย์อื่น ๆ บรรดาที่เป็นของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้จะเห็นได้ชัดแจ้งว่า ทุนสำรองเงินตรานั้นแยกต่างหากจากทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่รักษาทุนสำรองเงินตรา                นอกจากนั้น ในกฎหมายว่าด้วยเงินตรายังได้มีบทบัญญัติกล่าวถึงส่วนประกอบของทุนสำรองเงินตรา วิธีการตีราคาสินทรัพย์ที่เป็นทุนสำรองเงินตราการจัดการและการใช้จ่ายผลประโยชน์อันเกิดจากทุนสำรองเงินตรา อีกด้วย ฉะนั้น ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่กล่าวมาแล้วนี้แสดงให้เห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกระทำการผูกพันทรัพย์อันเป็นทุนสำรองเงินตราหรือใช้ผลประโยชน์แห่งทุนสำรองเงินตราให้ผิดไปจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้ และ ทุนสำรองเงินตรา มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ลงชื่อ)   อมร  จันทรสมบูรณ์(นายอมร  จันทรสมบูรณ์)เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา                สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

                            กุมภาพันธ์  2523

 


ปล้นเงินราษฎร          ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังจัดประชุมสัมมนาเพื่อผลักดันให้นักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนยอมรับร่างกฎหมายรวมบัญชีนั้น นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย ได้เขียนบทความแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ ดังนี้          ...เงินก้อนนี้คือเงินของราษฎรทั้งประเทศ เป็นตัวเงินจริง ๆ ที่ราษฎรได้รับธนบัตรไปถือไว้แทน และไม่เพียงแต่ราษฎรเท่านั้น หน่วยงานต่าง ๆ ก็เป็นเจ้าของเงินก้อนนี้ถ้าหากว่ามีธนบัตรหรือมีเงินตามมูลค่าที่ตราไว้ ... p28.3.jpg ...แม้ว่าขณะนี้รัฐบาลจำเป็นต้องหาเงินมา ซึ่งทุนสำรองมีเพียงประมาณ ๑๗,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ก็ไม่อาจแตะต้องเงินในคลังหลวงที่มีอยู่ได้ เพราะจะทำให้ธนบัตรของราษฎรทั้งประเทศกลายเป็นเงินกงเต็กอย่างหนึ่ง และบรรดาผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายไม่ยอมรับนับถือให้กระทำเช่นนั้นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเงินของราษฎรทั้งชาติ ก็ต้องพูดให้ชัดว่านี่เป็นเงินของราษฎร ไม่ใช่เงินของธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐบาลไม่มีอำนาจที่จะไปใช้สอยอย่างอื่นได้ นอกจากเพื่อราษฎรซึ่งเป็นเจ้าของเงินนั้น          การที่หลวงตาพระมหาบัวและประชาชนจำนวนมากคัดค้านการรวมบัญชี ก็เพราะว่านี่คือการหลอกลวงต้มตุ๋นมนุษย์ ที่ทำให้คนหลงผิดว่าเงินของราษฎรทั้งชาติเป็นเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อเป็นเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยเสียแล้ว จะเอาไปทำอะไรก็ได้เหมือนที่ทำกันอยู่นี้  ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการรวมบัญชี เนื้อแท้ก็คือการปล้นเงินของราษฎรทั้งชาติเอามาเป็นเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ต่างอะไรกับการออกกฎหมายและให้เอาบัญชีเงินฝากของคนไทยทั้งชาติมาเป็นของรัฐบาลนั่นเอง          ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่หลวงตาพระมหาบัวคัดค้านและประณามว่าเป็นการปล้นชาติปล้นประชาชน จึงเป็นเรื่องที่ตรงกับข้อเท็จจริงและสอดคล้องกับความรู้สึกของประชาชนทั้งชาติ เพราะบัดนี้ไม่ว่าโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือบิดเบือนอย่างไร คนไทยทั้งชาติเชื่อพระเชื่อความจริงดังกล่าวนี้ หลวงตาพระมหาบัวจึงเป็นที่พึ่งทางความคิดและเป็นที่พึ่งทางใจของคนไทยทั้งชาติที่จะปกป้องทรัพย์สมบัติของราษฎรทั้งมวลไม่ให้ถูกเขายึดไปทำปู้ยี่ปู้ยำ...p28.4.jpg
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

Website ที่เกี่ยวข้อง

 

ติดต่อ

www.luangta.com