ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow คลังหลวงแห่งประเทศไทย ตอนที่ 2 arrow ๓๑ พระราชกำหนดการเงิน ๒๕๔๕ ขอเงินบรรพบุรุษ..ใช้หนี้
๓๑ พระราชกำหนดการเงิน ๒๕๔๕ ขอเงินบรรพบุรุษ..ใช้หนี้ PDF พิมพ์ อีเมล์

 p31.3.jpg

เมื่อรัฐบาลได้แนวทางแก้ปัญหาโดยไม่เป็นการทำลายหลักการและเจตนารมณ์เดิมของบรรพบุรุษ และไม่ขัดต่อพระธรรมเทศนาที่หลวงตาได้เคยให้แนวทางไว้ อีกทั้งไม่ขัดต่อเจตนารมณ์ของโครงการช่วยชาติ ที่ชาวไทยพร้อมจะเสียสละทรัพย์สินให้เป็นคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองอยู่แล้ว เมื่อชาติมีภาระหนี้สินจำนวนมากจนหาทางออกมิได้ ถึงคราวจำเป็นเช่นนี้ก็สามารถเอาขันตักน้ำจากตุ่มคลังหลวงมาเล็กๆ น้อยๆ เพื่อยังประโยชน์ได้ ทั้งนี้ต้องมิให้ส่วนใหญ่เสียไป ในส่วนของดอกผลคลังหลวงก็เป็นการขอมาด้วยจิตที่สำนึกในบุญคุณของบรรพบุรุษและด้วยความจำเป็น เมื่อทยอยใช้หนี้จนหมดดอกผลก็จะกลับเข้าเพิ่มพูนในคลังหลวงดังเดิม การแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ทำให้คลังหลวงยังเป็นสมบัติร่วมของคนไทยทั้งชาติ มิได้เป็นการยึดเอาคลังหลวงมาเป็นของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือของรัฐบาลแต่อย่างใด เมื่อได้แนวทางแก้ปัญหาที่ชัดเจนเช่นนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้ออกประกาศพระราชกำหนดถึง ๓ ฉบับ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕  ลูกหลาน ก่อหนี้...เงินปู่ย่าตายาย ใช้หนี้

          แท้จริงแล้วหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ นี้เกิดจากความลืมเนื้อลืมตัว ฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่ายของคนในชาติ อีกทั้งนโยบายบริหารงานของรัฐบาลที่ผิดพลาดสะสมต่อเนื่องกันมา จนเป็นเหตุให้p31.1.jpg เศรษฐกิจโดยรวมพังทลาย มิหนำซ้ำรัฐบาลยังต้องขายทรัพย์สิน  ๕๖  สถาบันการเงินในราคาต่ำ ขณะเดียวกันก็ไปค้ำประกันธนาคารและสถาบันการเงินที่มีหนี้ไฟแนนซ์เน่าส่งผลให้ยอดหนี้มีจำนวนมากมายมหาศาล กลายเป็นหนี้ที่คนไทยทุกคนต้องร่วมชดใช้หนี้ที่ค้างคามานานกว่า ๒-๓ ปีนี้ โดยมีตัวเลขหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ล่าสุด ๑.๔ ล้านล้านบาท  ถ้ารวมค่าดอกเบี้ยอีก ๑ ล้านล้านบาท เบ็ดเสร็จยอดหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องจ่ายถึง ๒.๔ ล้านล้านบาท (ปี พ.ศ. ๒๕๔๕) นับเป็นจำนวนมากมายมหาศาลเหมือนว่าไม่มีวันชดใช้ได้หมดสิ้น

๑. พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. ๒๕๔๕ มีสาระสำคัญ คือ o ให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้เงินบาทในนามรัฐบาล เพื่อชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มูลค่าการกู้เงินต้องไม่เกิน ๗๘๐,๐๐๐ ล้านบาทo ให้จัดตั้งบัญชีขึ้นในฝ่ายการธนาคาร เรียกว่า บัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ตามพระราชกำหนดนี้ และต้นเงินกู้ตามพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ o ในระหว่างการชำระหนี้นี้ สินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีหลังจากการจ่ายเมื่อสิ้นปี ให้โอนเข้าบัญชีสะสมดังกล่าวโดยไม่ต้องโอนเข้าบัญชีสำรองพิเศษ ทั้งนี้ จนกว่าจะมียอดรวมทั้งหมดเท่ากับต้นเงินกู้ดังกล่าวo ให้ตั้งเงินรายจ่ายเพื่อชำระค่าดอกเบี้ยเงินกู้ตามพระราชกำหนดนี้ไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒. พระราชกำหนดโอนทรัพย์สินบางส่วนในบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา พ.ศ. ๒๕๔๕ มีสาระสำคัญ คือo    ให้โอนเงินบาทจำนวน ๑๖๕,๐๐๐ ล้านบาท ในบัญชีสำรองพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อชดเชยผลขาดทุนสะสม และเสริมสร้างความมั่นคงของธนาคารแห่งประเทศไทย รายได้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับนี้ มิให้นำไปจัดสรรเป็นเงินสำรองหรือเป็นเงินนำส่งรัฐตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกฎหมายอื่นใด

o    โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้ เนื่องจากการที่ประเทศไทยประกาศใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราระบบใหม่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอันเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินนโยบายการเงินเพื่อประโยชน์ในการดำรงไว้ซึ่งค่าของบาท ต้องประสบกับผลการดำเนินงานขาดทุนเป็นอันมาก และเกิดผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น จนเป็นอุปสรรคในการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศให้มีประสิทธิภาพ

p31.2.jpg

            แต่เนื่องจากประเทศไทยยังมี คลังหลวง หรือเงินใน ฝ่ายออกบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย เหลือเป็นก้นถุงไว้ใช้ยามจำเป็น เป็น คลังหลวง เดียวกับที่หลวงตาออกมาปกป้องไม่ให้รัฐบาลยุบ รวมบัญชี และนำเงินไปใช้อย่างไม่มีขีดจำกัด และเป็น คลังหลวง เดียวกันกับที่หลวงตาระดมศรัทธาชาวไทยบริจาคเงินทองส่งเข้า คลังหลวง เพื่อเพิ่มพูนสร้างความเข้มแข็ง และด้วยผลของกฎหมาย ๓ ฉบับ ทำให้เงินคลังหลวงที่บรรพบุรุษสะสมไว้ จะถูกนำมาใช้ล้างหนี้สำคัญของชาติจำนวน ๑.๔ ล้านล้านบาท โดยจะแบ่งเป็น ๒ กอง คือ๑. 
โอ่งคลังหลวง
1
หนี้กองแรก ๕.๑๒ แสนล้านบาท(FIDF1)  จะมีการโอนเงินสดจาก คลังหลวง ไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทันที ๑.๖๕ แสนล้านบาท มาลบล้างผลขาดทุนที่เกิดจากการเก็งกำไรค่าเงินบาทในปี พ.ศ.  ๒๕๔๐ p31.3.jpgที่มีอยู่ ๑.๓๑ แสนล้านบาท เนื่องจากต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีกำไร เพื่อจะได้หักเอา ๙๐ % ของ ผลกำไร ในแต่ละปีมาทยอยใช้หนี้ คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เวลา ๓๐ ปี ถึงจะใช้หนี้ก้อนแรกนี้ได้สำเร็จ หนี้กองที่ ๒ อีก ๘.๘๘ แสนล้านบาท(FIDF2 และ FIDF3) จะเอาเงินเฉพาะดอกผลคลังหลวง หรือ บัญชีผลประโยชน์ประจำปี ที่พอกพูนขึ้นราวๆ ปีละ ๔-๖  ๑.  หมื่นล้านบาท ไปผ่อนชดใช้จ่ายหนี้จนหมด โดยไม่แตะเงินต้น คาดว่าจะต้องใช้ ดอกผลคลังหลวง รวม ๒๐-๓๐ ปี ถึงจะชดใช้หนี้ก้อนที่ ๒ ได้เสร็จสิ้น  กระบวนการทั้งหมดรัฐบาลจำเป็นต้องออก พันธบัตร ซึ่งเป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่งที่รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกมาขาย โดยให้คำมั่นสัญญาว่าผู้ซื้อหรือผู้ถือพันธบัตรมีสิทธิที่จะได้รับชำระต้นเงินตามพันธบัตรคืนภายในกำหนดเวลา พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนด ในครั้งนี้ใช้ชื่อเป็นการเฉพาะว่า พันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ เพื่อจะได้รับเงินสดไปลดยอดหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เสียก่อน จากนั้นรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยจะร่วมมือกันจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยพันธบัตร ดังนี้  ๑.    นำกำไรของธนาคารแห่งประเทศไทย และดอกผลคลังหลวง ทยอยชดใช้เงินต้นพันธบัตร ๒.  ภาระ ดอกเบี้ย จากการออกพันธบัตรครั้งนี้ รัฐบาลจะตั้งงบประมาณจ่ายให้ โดยจะต้องกันงบประมาณ ถึง ๓๐ ปี เพื่อจ่ายเฉพาะภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น           ในการพิจารณาวิธีการแก้ไขปัญหาผลขาดทุนที่เกิดจากการเข้าไปช่วยเหลือระบบสถาบันการเงินของกองทุนนั้น   กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเห็นร่วมกันว่า ควรมีรูปแบบที่ชัดเจน และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยให้เป็นภาระต่อฐานะการคลังและภาษีของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวน้อยที่สุด ให้มีความโปร่งใสและไม่ก่อปัญหาในการดำเนินนโยบายการเงิน รวมทั้งเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี และในขณะเดียวกันให้มีผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้น้อยที่สุดด้วย เพื่อให้การแก้ปัญหามีลักษณะครบถ้วนและเบ็ดเสร็จ จึงได้แยกการดำเนินการ ออกเป็น 2 ส่วนคือ

 

๓. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยเงินตรา .. ๒๕๐๑ (ฉบับที่ ..๒๕๔๕ มีสาระสำคัญ คือo    เงินคงเหลือสุทธิของบัญชีผลประโยชน์ประจำปี  เมื่อสิ้นปีให้โอนเข้าบัญชีสำรองพิเศษ หรือ บัญชีอื่นตามที่กฎหมายกำหนด  ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ บัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ได้จัดตั้งไว้o    สินทรัพย์ที่ได้รับบริจาคเพื่อกิจการของ ฝ่ายออกบัตรธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย  ให้นำเข้าบัญชีสำรองพิเศษ ทั้งนี้ให้ใช้บังคับแก่สินทรัพย์ที่ได้รับบริจาคก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับด้วย ทั้งนี้เพื่อเก็บรักษาให้มั่นคงตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค ประเด็นนี้ จะทำให้เงินบริจาคใน โครงการช่วยชาติ ของหลวงตา เข้าสู่ คลังหลวง หรือ ฝ่ายออกบัตร จริงตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค ซึ่งก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ -๒๕๔๔ เงินบริจาคถูกเก็บไว้ใน ฝ่ายการธนาคาร ซึ่งเป็นจุดที่ไม่มั่นคงปลอดภัย o    ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจโอนสินทรัพย์ในบัญชีสำรองพิเศษเข้าเป็นสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา  เพื่อการนำออกใช้ซึ่งธนบัตรได้ เมื่อมีการถอนธนบัตรคืนจากธนบัตรออกใช้  ให้โอนสินทรัพย์ที่มีค่าเท่ากันในบัญชีทุนสำรองเงินตรา  เข้าเป็นสินทรัพย์ในบัญชีสำรองพิเศษ ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประเด็นนี้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้กราบเรียนปรึกษาหลวงตาแต่อย่างใด และยังมีเนื้อหาที่ขัดต่อหลักการและเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษอีกด้วย ดังนี้ ๑.   เท่ากับเป็นการนำสินทรัพย์ที่ใช้เพื่อการหนุนหลังธนบัตรแต่กลับเอามาพิมพ์ธนบัตรเสียเอง ส่งผลให้คลังหลวงไม่มั่นคงปลอดภัยเช่นเดิม เป็นการนำคลังหลวงมาใช้ผิดวัตถุประสงค์และผิดหลักการเพื่อความมั่นคงปลอดภัย๒.   การโอนจากบัญชีสำรองพิเศษเข้าบัญชีสำรองเงินตราก็คือการโอนสินทรัพย์เข้าบัญชีของฝ่ายเดียวกัน แต่ฝ่ายการธนาคารเป็นผู้ได้รับธนบัตร จึงไม่ถูกต้อง             ๓.   ไม่ได้วัดความสามารถแท้จริงในการดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักการที่ถูกต้องนั้น การพิมพ์ธนบัตรจะต้องโอนสินทรัพย์จากฝ่ายการธนาคารเข้ามาบัญชีทุนสำรองเงินตราในมูลค่าเท่ากัน เพื่อแสดงถึงความสามารถในการดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทย

ก.     การแก้ไขปัญหาความเสียหายที่ยังไม่ได้รับการชดเชย ในการแก้ไขปัญหาความเสียหายของกองทุนนั้น กระทรวงการคลังจะดำเนินการชดเชยตามความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นแก่กองทุน โดยรัฐบาลจะออกพระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุน โดยการออกพันธบัตรวงเงินไม่เกิน ๗๘๐,๐๐๐ ล้านบาทp31.4.jpg  การออกพันธบัตรนี้ กระทรวงการคลังจะรับภาระการจ่ายดอกเบี้ย โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน  แต่สำหรับการจ่ายชำระคืนเงินต้นนั้น  ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้รับภาระโดยใช้แหล่งเงินจากดอกผลของสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราตั้งแต่ปี พ.ศ.  ๒๕๔๕ เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของการดำเนินการตามนี้ จะมีการจัดตั้งบัญชีหนึ่งขึ้นในฝ่ายการธนาคารของธนาคารแห่งประเทศไทย เรียกว่าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินการเตรียมการเพื่อจ่ายชำระคืนพันธบัตร ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท สำหรับในส่วนของพันธบัตรวงเงิน ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ออกตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.. ๒๕๔๑ และกำหนดให้จัดสรรการจ่ายชำระจากรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และจากกำไรสุทธิซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งในแต่ละปีให้แก่รัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐  นั้น  ในระยะที่ผ่านมารายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีผลขาดทุนจากการดำเนินนโยบายรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทในช่วงปี พ.ศ.  ๒๕๔๐ ดังนั้น จำต้องดำเนินการเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ในฐานะที่สามารถนำส่งกำไรให้รัฐบาลเพื่อเตรียมชำระคืนพันธบัตรดังกล่าวด้วยเหตุนี้ จึงให้มีการออกพระราชกำหนดอีก ๒ ฉบับ เพื่อล้างผลขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย และเพื่อให้ใช้สินทรัพย์จากบัญชีสำรองพิเศษหนุนหลังธนบัตรออกใช้ได้ อันจะช่วยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถดำเนินกิจการมีรายได้นำส่งได้มากขึ้น และสามารถดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ           คาดว่าพันธบัตรใหม่ที่จะออกทั้งหมดจะมีจำนวนประมาณ ๗๘๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยจะทยอยออกพันธบัตรตามความต้องการใช้เงินของกองทุนฯ และพิจารณาจากภาวะตลาดในขณะนั้นประกอบด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดพันธบัตรน้อยที่สุดp31.5.jpg เนื่องจากในช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ นี้ กองทุนฯ มีภาระที่จะต้องชำระคืนเงินฝากแก่ผู้ฝากเงินของ ๕๖ บริษัทเงินทุนประมาณ ๑๑๕,๐๐๐ ล้านบาท และมียอดกู้ยืมคงค้างในตลาดซื้อคืนอยู่ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท กองทุนฯ จึงมีความจำเป็นต้องออกพันธบัตรเป็นจำนวนมากภายในปีนี้ ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบต่อตลาดพันธบัตรโดยรวม รัฐบาลจึงจะออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ อายุ ๕ ปี ๗ ปีและ ๑๐ ปี รวมทั้งสิ้นประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เน้นจำหน่ายให้แก่ผู้ออมเท่านั้น กล่าวคือ ผู้มีสิทธิ์ซื้อ จะได้แก่ บุคคลธรรมดา สหกรณ์ และมูลนิธิ ในการออกพันธบัตรออมทรัพย์นี้ นอกจากเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาผลขาดทุนที่เกิดจากการดำเนินการช่วยเหลือระบบสถาบันการเงินของกองทุนฯ แล้ว ยังช่วยเพิ่มทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงินที่ธนาคารพาณิชย์สำหรับผู้ออมรายย่อย การออกพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
การชำระหนี้กองทุนฯระยะที่ ปีงบประมาณที่ออกพันธบัตร วงเงิน(ล้านบาท)  หมายเหตุ
FIDF1 งบปี 2541 512,824 พันธบัตรวงเงิน 500,000 ล้านบาท
FIDF2 งบปี 2543 112,000 พันธบัตรวงเงิน 112,000 ล้านบาท
FIDF3 งบปี 2545 - 46 305,000       พันธบัตรวงเงิน 780,000 ล้านบาท   ยอดรวม FIDF3 ที่ออกแล้ว 709,000 ล้านบาท    เหลือ 67,626 ล้านบาท
งบปี 2547 200,000
งบปี 2548 - 49 30,000
1,000
งบปี 2550  25,000
25,000
80,000
งบปี 2551 20,00016,0007,000
  รวมปี  2541-51 1,333,824 เป็นยอดหนี้ที่ชดเชยไปแล้ว
FIDF1-3   1,401,450  
           สำหรับพันธบัตรส่วนที่เหลืออีกประมาณ ๔๘๐,๐๐๐ ล้านบาท นั้น จะทยอยออกตามความต้องการใช้เงินของกองทุนฯ โดยดูภาวะตลาดในขณะนั้นประกอบเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ อาจไม่จำเป็นต้องออกพันธบัตรทั้งจำนวนหรือทุกปีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเสียหายของกองทุนฯ ที่จะเกิดขึ้นจริง และหากภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวย กองทุนฯ อาจจะกู้ยืมระยะสั้นผ่านตลาดซื้อคืนชั่วคราวไปก่อนได้          การที่รัฐบาลออกพันธบัตรและรับภาระดอกเบี้ยจ่ายนั้น ในด้านผลต่อนโยบายการเงิน ถือเป็นการที่รัฐบาลเข้ามารับภาระการแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงิน (fiscalization) ซึ่งช่วยสร้างความชัดเจนในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต ส่วนการชำระคืนเงินต้นจากกำไรนำส่งโดยธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ไม่ถือเป็นการพิมพ์ธนบัตรขึ้นมาใช้หนี้ (monetization ) เนื่องจากเป็นการส่งกำไรให้รัฐบาลตามการดำเนินการโดยปกติของธนาคารกลางโดยทั่วไป           ตามมาตรการดังกล่าวนี้  ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสามารถดูแลให้ปริมาณเงินอยู่ในระดับเหมาะสม   ตลอดจนรักษาเป้าหมายเงินเฟ้อให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป  และด้วยเหตุที่รัฐบาลตรากฎหมาย เพื่อออกพันธบัตรและเพื่อขอเอาดอกผลคลังหลวงมาใช้แก้ปัญหาหนี้เช่นนี้  ไม่ได้เป็นการกระทบกระเทือนต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ไม่เป็นการเพิ่มภาระหนี้สินของชาติด้วยการไปกู้ยืมที่ไหนอีก และไม่ได้เป็นการทำลายหลักการและเจตนารมณ์ของ คลังหลวง ให้เสียไปเหมือน วิธีการรวมบัญชี และเมื่อใช้หนี้เสร็จแล้ว คลังหลวง ก็จะเริ่มมีดอกผลเพิ่มพูนขึ้นมาได้อีก  สำหรับภาระดอกเบี้ยที่รัฐบาลจะต้องตั้งงบประมาณในแต่ละปีมาจ่ายนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ภาระหนี้คิดแล้ววงเงินสูงสุดประมาณ ๕ % ของงบประมาณแต่ละปี โดยทุก ๆ ๑๐ ปีอัตราการผ่อนจ่ายจะลดลงไปเรื่อยจนเหลือต่ำกว่า ๑ % ในปี พ.ศ.  ๒๕๖๓ วิธีนี้เมื่อมีการชำระหนี้หมดแล้ว คลังหลวง ก็จะยังมีกฎหมายดูแลเป็นการเฉพาะเหมือนเดิม ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวไม่ได้ ยกเว้นจะออกกฎหมายขอเงินออกมาใช้เหมือนปัจจุบัน           บทสรุปของการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ อาจพอเทียบเคียงได้กับเหตุการณ์ในอดีตเมื่อปี พ.ศ.  ๒๔๓๖ ที่ประเทศได้รับ เงินถุงแดง จากล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ มาไถ่ถอนเอกราชของชาติจากการคุกคามของฝรั่งเศสได้ทันภายใน ๔๘ ชั่วโมง เมื่อมาถึงปี พ.ศ.  ๒๕๔๕ ลูกหลานยุคปัจจุบันก็ได้อาศัย ดอกผลคลังหลวง จากล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ และบรรพบุรุษ มาแบ่งเบาทยอยไถ่ถอนหนี้สินกองมหึมาของชาติ ให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้อีกครั้ง การแก้ไขวิกฤตการณ์ทั้ง ๒ ครั้งนี้ เป็นการยืนยันถึง คุณค่าของ คลังหลวง ซึ่งหมายถึง การรู้จักเก็บหอมรอมริบทรัพย์ทีละอันพันละน้อยเผื่อไว้ใช้ในยามจำเป็น เพราะหากเราไม่มี เงินถุงแดง ไทยเราคงไม่มีวันนี้ และหากเราไม่มี คลังหลวง เราก็คงมีหนี้สินล้นพ้นตัวและล้มละลายในที่สุด อานิสงส์ของการปกป้องคลังหลวง และแยกคลังหลวงไว้ต่างหากจากเงินส่วนอื่นๆ รวมทั้งการเก็บสะสมทรัพย์ให้เพิ่มพูนใน คลังหลวง ตามเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษและตามหลักธรรมคำสอนของหลวงตาจึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้จาก
Ø      ทุกๆ ปีจะนำเงินจากบัญชีผลประโยชน์ประจำปี จ่ายคืนเงินต้น*
Ø     ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ นำเงินสด   ๑๖๕,๐๐๐ ล้านบาทจากบัญชีสำรองพิเศษให้ธปท. เพื่อแก้ปัญหาขาดทุน  และมีเหลือเป็นกำไรสุทธิของธปท.อีกด้วย
กระบวนการผลักภาระหนี้สินให้คลังหลวง
สถาบันการเงิน ๕๖แห่งถูกปิดล้มละลายปี พ.ศ. ๒๕๔๐
กองทุนฟื้นฟูฯรับสภาพหนี้สุทธิ๑.๔ ล้านล้านบาท
ออกพันธบัตรรัฐบาลFIDF1  ๕๐๐,๐๐๐  ล้านบาทFIDF2  ๑๑๒,๐๐๐  ล้านบาทFIDF3  ๗๘๐,๐๐๐  ล้านบาท 
เงินต้น FIDF1      เงินต้น FIDF2,3
ดอกเบี้ย FIDF1,2,3 
คลังหลวง
 งบประมาณรัฐบาล 
90% ของกำไรธนาคารแห่งประเทศไทย 
รายได้จากแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 
1
* ทุกๆ ปีจะนำ ดอกผลคลังหลวง จ่ายคืนเงินต้นหนี้ FIDF2 , 3 คาดว่า ๒๐ ปีจะคืนเงินต้นครบ

เหตุการณ์จริงว่าถูกต้อง เป็นเหตุเป็นผล สามารถนำชาติให้พ้นภัยอันตรายได้เป็นลำดับไป และจะเป็นภูมิคุ้มกันให้ชาติแน่นหนามั่นคงเป็นมรดกตกทอดสู่ลูกหลานไทยสืบเนื่องตลอดไป

กระบวนการผลักภาระหนี้สินให้คลังหลวง

p31.6.jpg
                 พันธบัตร  คือ ตราสารทางการเงินที่รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น เป็นผู้ออก โดยให้คำมั่นสัญญาว่าผู้ถือมีสิทธิที่จะได้รับชำระต้นเงินตามพันธบัตรคืนภายในกำหนดเวลา พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนด 
ความเป็นมาของพันธบัตรไทย                              
 I.   พันธบัตรต่างประเทศ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2445 ในสมัยรัชกาลที่ 5 รัฐบาลไทยได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการคลัง จากที่เคยใช้จ่ายจากรายได้ที่จัดหามาได้ เป็นการใช้จ่ายส่วนหนึ่งจากการกู้ยืม โดยเริ่มมีโครงการจัดกู้เงินเพื่อสร้างทางรถไฟเป็นครั้งแรก แต่เนื่องจากมีปัญหาขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงานเกี่ยวกับแหล่งเงินกู้ว่าควรเป็นภายในประเทศหรือต่างประเทศ อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยและสถานะการเงินในตลาดต่างประเทศยังไม่อำนวยให้ เรื่องจึงค้างอยู่จนกระทั่งปี พ.ศ. 2448รัฐบาลไทยได้ออกพันธบัตรเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2448 เป็นการกู้เงินจากต่างประเทศโดยออกพันธบัตรจำหน่ายในตลาดการเงินลอนดอนและปารีส เป็นจำนวน 1 ล้านปอนด์ ตามพระราชหัตถเลขาพระราชทานวันที่ 15 มีนาคม ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2448) วัตถุประสงค์เพื่อใช้ก่อสร้างทางรถไฟ ช่วยเหลือเงินคงคลัง และทำนุบำรุงประเทศ  เป็นพันธบัตรชนิดจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือ อายุ 40 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 งวด ทุก 6 เดือน ในวันที่ 1 กันยายน และ 1 มีนาคม  โดยมีพระบรมราชโองการพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระยาสุริยานุวัตร อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส เป็นผู้จัดการยืมเงินต่างประเทศและลงนามในสัญญากู้เงินØ หลังจากนั้นรัฐบาลก็ได้กู้เงินจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในด้านต่าง ๆ โดยการออกพันธบัตรจำหน่ายอีกหลายเงินกู้  Ø อย่างไรก็ตาม นับแต่ปี พ.ศ. 2467 เป็นต้นมา รัฐบาลมิได้กู้เงินจากต่างประเทศโดยออกพันธบัตรจำหน่ายอีก หากทำการกู้เงินโดยตรงจากรัฐบาลต่างประเทศ หรือจากองค์การการเงินระหว่างประเทศ และกู้ตามโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างประเทศ  Ø จนกระทั่งปี พ.ศ. 2521 จึงเริ่มมีการออกพันธบัตรจำหน่ายในตลาดต่างประเทศอีกครั้งที่ประเทศญี่ปุ่น และเยอรมันII.  สำหรับพันธบัตรรัฐบาลภายในประเทศ  รัฐบาลโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้เริ่มออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2476 วงเงิน 10 ล้านบาท ตามพระราชบัญญัติจัดการกู้เงินภายในประเทศ พ.ศ. 2476 โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้จัดจำหน่ายเอง เป็นพันธบัตรชนิดชำระเงินให้แก่ผู้ถือ แต่จะขอจดทะเบียนก็ได้ อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 งวด ทุก 6 เดือน ในวันที่ 15 กันยายน และ 15 มีนาคมIII.  การออกพันธบัตรรัฐบาลในประเทศครั้งต่อมา คือในปี พ.ศ. 2483 กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้สำนักงานธนาคารชาติไทยทำหน้าที่จัดการจำหน่าย รวม 4 ราย คือ1.  พันธบัตรเงินกู้เพื่อสหกรณ์ พ.ศ. 2483 วงเงิน 20 ล้านบาท อายุ 30 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 ต่อปี วัตถุประสงค์เพื่อให้กรมสหกรณ์นำไปดำเนินการให้สมาชิกสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ กู้ยืมต่อไป 2.  พันธบัตรเงินกู้เพื่อเทศบาล พ.ศ. 2483 วงเงิน 20 ล้านบาท อายุ 30 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.5 ต่อปี วัตถุประสงค์เพื่อให้เทศบาลนำไปบำรุงท้องที่3.  พันธบัตรเงินกู้เพื่อการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2483 วงเงิน 20 ล้านบาท อายุ 30 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 ต่อปี วัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปให้องค์การสาธารณะหรือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกู้ไปลงทุน4.  พันธบัตรเงินกู้ช่วยชาติ พ.ศ. 2483 และบัตรช่วยชาติ วงเงิน 10 ล้านบาท เป็นพันธบัตร 8 ล้านบาท อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี และบัตรช่วยชาติ วงเงิน 2 ล้านบาท อายุ 10 ปี ไถ่ถอนคืนในราคาหน่วยละ 6 บาท จากราคาที่ตราไว้หน่วยละ 5 บาท วัตถุประสงค์เพื่อชดเชยเงินคงคลังที่ต้องจ่ายตามงบประมาณซึ่งใช้มากกว่าปกติอันเนื่องจากกรณีสงครามอินโดจีนØ พ.ศ. 2485 ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้รับโอนกิจการเงินกู้ทั้ง 4 ราย มาดำเนินการต่อไป Ø พ.ศ. 2488 รัฐบาลได้กู้เงินระยะสั้นเป็นครั้งแรก โดยเปิดประมูลตั๋วเงินคลังอายุไม่เกิน 12 เดือน  ตามพระราชบัญญัติตั๋วเงินคลัง พ.ศ. 2487 ส่วนการกู้เงินระยะยาวใช้วิธีออกพันธบัตรจำหน่ายตลอดมา การออกตั๋วเงินคลังและพันธบัตรได้อาศัยพระราชบัญญัติกู้เงินที่ตราขึ้นใช้เป็นคราว ๆ ไป Ø จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2503 รัฐบาลได้ออก "พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503"  แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ในบางมาตราที่สำคัญเกี่ยวกับการกู้เงิน คือ ในกรณีที่รายจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ที่ประกาศใช้แล้วมีจำนวนสูงกว่ารายได้ประเภทงบประมาณ กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินมาใช้จ่ายตามความจำเป็นได้ แต่ในปีหนึ่ง ๆ จะกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือใช้วิธีการเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารแห่งประเทศไทยดังที่เคยปฏิบัติมาแล้ว  เมื่อรัฐบาลได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2504-2509 มีผลให้รัฐบาลต้องหารายรับมาชดเชยงบประมาณที่ขาดดุลอยู่ด้วยการกู้เงินภายในประเทศแต่ละปีเพิ่มขึ้น                                                              (ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย)

 

  
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

Website ที่เกี่ยวข้อง

 

ติดต่อ

www.luangta.com