๓๓ ปี ๒๕๕๐ แนวคิดล้วงคลังหลวง |
|
|
|
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลได้ออก “พระราชบัญญัติยุบเลิกทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา พ.ศ. ๒๕๕๐” มีวัตถุประสงค์เพื่อยุบเลิกทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราหรือยุบเลิกทุนสำรองโอ่งที่ ๓ ที่ได้ก่อตั้งไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ทั้งนี้สืบเนื่องจากกระทรวงการคลังได้ออกประกาศเรื่องการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้ใช้ค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงไปตามภาวะตลาด และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท ส่งผลให้ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราไม่ต้องทำการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราให้มีเสถียรภาพเหมาะสมแก่สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินของประเทศอีกต่อไป
ยกเลิกทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (โอ่งที่ ๓)
|
ในระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมามีการปรับเปลี่ยนกฎหมายด้านการเงินหลายฉบับนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๐ สำหรับกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนี้นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ได้เขียนบทความอธิบายไว้ ดังนี้ ...พระราชบัญญัติเงินตราเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินตราและการรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน รวมทั้งวิธีการจัดการ “ทุนสำรองเงินตรา” ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้ในระบบเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือแบงก์ชาติทำหน้าที่นี้ โดยมีเป้าหมายในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของค่าเงินบาท ในการจัดทำบัญชีนั้น กฎหมายเงินตรากำหนดให้แบงก์ชาติแยกทุนสำรองเงินตราจากการทำธุรกิจอื่น ดังนั้น ในทางปฏิบัติ แบงก์ชาติจึงจัดทำงบการเงิน ๓ งบ (ดูแผนภูมิประกอบ) ได้แก่ งบการเงินของ “ทุนสำรองเงินตรา” ซึ่งแยกต่างหากจากงบการเงินของ “ฝ่ายการธนาคาร” (งบของแบงก์ชาติเอง) และงบการเงินของ “ฝ่ายออกบัตรธนาคาร” (กิจการธนบัตรและโรงพิมพ์ธนบัตร) สำหรับงบทุนสำรองเงินตรานั้น ประกอบด้วย ๓ บัญชีย่อย ได้แก่ ๑)บัญชีทุนสำรองเงินตรา ที่มีไว้หนุนหลังการออกธนบัตรใช้ ๒)บัญชีผลประโยชน์ประจำปี ซึ่งเป็นเสมือนบัญชีแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายในแต่ละปี โดยหากมีเงินเหลือในบัญชีต้องนำไปชำระคืนต้นเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายในอดีตให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ๓)บัญชีสำรองพิเศษ เป็นเสมือนบัญชีกำไรสะสมที่เก็บรักษาไว้
ทุกครั้งก่อนที่จะนำธนบัตรออกใช้ แบงก์ชาติจะต้องนำสินทรัพย์ (เช่น ทองคำ เงินตราต่างประเทศที่ฝากในธนาคารนอกประเทศหรือในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และหลักทรัพย์ต่างประเทศ เป็นต้น) จาก “ฝ่ายการธนาคาร” ไปใส่ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา (นำสินทรัพย์จากบัญชี ๑ มาใส่ในบัญชี ๓.๑) ก่อน แบงก์ชาติจึงจะนำธนบัตรออกมาใช้ในระบบได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. ๒๕๔๐ แบงก์ชาติประสบปัญหาทางการเงิน โดยในปี พ.ศ. ๒๕๔๔
ธปท.มิใช่ผู้บริหารจัดการทุนสำรองเงินตรา แต่อยู่ในฐานะเป็นเพียงผู้ดูแลรักษาเท่านั้น แบงก์ชาติมีสินทรัพย์ต่างประเทศประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท (ซึ่งบางส่วนมาจากการกู้ยืม) และมีส่วนของทุนติดลบอยู่ถึง ๑๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้แบงก์ชาติไม่มีสินทรัพย์เพียงพอต่อการนำไปหนุนหลังธนบัตรออกใช้
: ข้อมูล ณ ๓๑ ธ.ค. ๒๕๔๙ *หมายเหตุ ประเด็นนี้นักวิชาการไม่เห็นด้วยดังจะอธิบายในบทต่อๆ ไป
|
๑. งบฝ่ายการธนาคาร(งานธนาคารกลาง)
|
๒. งบฝ่ายออกบัตรธนาคาร(กิจการธนบัตร โรงพิมพ์ธนบัตร)
|
๓. งบทุนสำรองเงินตรา(การบริหารจัดการธนบัตร และทุนสำรองเงินตรา)
|
๓.๑ บัญชีทุนสำรองเงินตรา๗๙๔,๔๘๕ ล้านบาท
|
๓.๒ บัญชีผลประโยชน์ประจำปีหักค่าใช้จ่ายในกรณีต่อไปนี้· การพิมพ์และจัดตั้งโรงพิมพ์· การออกและจัดการธนบัตร· การด้อยค่าของสินทรัพย์· การจัดการสินทรัพย์
|
๓.๓ บัญชีสำรองพิเศษ๗๙๕,๔๑๖ ล้านบาท ทั้งนี้เป็นสินทรัพย์ที่ได้รับบริจาคจากหลวงตามหาบัวเมื่อปี ๒๕๔๕ จำนวน ๘,๔๖๘ ล้านบาท
|
หนุนหลังธนบัตร๗๙๔,๔๘๕ ล้านบาท
|
· เก็บรักษา· โอนไปหนุนหลังธนบัตร๒๒๕,๐๐๐ ล้านบาท*
|
ดังนั้น จึงมีการแก้ไขกฎหมายเงินตราในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเงินตราเพื่ออนุญาตให้แบงก์ชาตินำสินทรัพย์ใน “บัญชีสำรองพิเศษ” ไปหนุนหลังการออกธนบัตรได้ กล่าวคือ เมื่อพิจารณาจากแผนภาพ แบงก์ชาติสามารถนำสินทรัพย์จาก บัญชี ๓.๓ มาใส่ในบัญชี ๓.๑ เพื่อหนุนหลังการออกธนบัตร ซึ่งถือเป็นการเพิ่มช่องทางในการนำสินทรัพย์ต่างประเทศไปหนุนหลังการออกธนบัตร จากเดิมที่อนุญาตให้แบงก์ชาตินำสินทรัพย์จากฝ่ายการธนาคารมาหนุนหลังการออกธนบัตรเท่านั้น ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จนถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๔๙ แบงก์ชาติได้นำสินทรัพย์จากบัญชีสำรองพิเศษไปหนุนหลังธนบัตรแล้วเป็นจำนวน ๒๒๕,๐๐๐ ล้านบาท...
แก้พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย..ส่อเค้าเอื้อมมือเข้าคลังหลวง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลมีมติให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๔๘๕ เรียกว่า “พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑” และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ นี้ ถึงแม้กฎหมายฉบับนี้จะไม่ได้รับการคัดค้านจากประชาชน อย่างไรก็ตาม เนื้อหาบางมาตรายังส่อเค้าให้เห็นว่า ขัดต่อหลักการและเจตนารมณ์ของ “คลังหลวง” บรรพบุรุษท่านได้กำหนดแนวทางไว้ คือ ท่านไม่ยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปบริหารจัดการคลังหลวง แต่เดิมเพียงกำหนดให้ทำอะไรได้บ้างหรือทำไม่ได้บ้างในฐานะ “ผู้ดูแลรักษา” เท่านั้น มิใช่ในฐานะ “ผู้บริหารจัดการ” อันเปรียบเสมือนว่าได้กลายเป็นเจ้าของทรัพย์ในคลังหลวงแล้วซึ่งย่อมไม่ใช่เจตนารมณ์แท้จริงของบรรพบุรุษ เพื่อให้เห็นถึงความคิดล้มล้างหลักการเดิม จึงขอสรุปเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับคลังหลวง ดังนี้๑. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกระทำกิจการต่างๆ ถึง ๑๑ ข้อ (มาตรา ๘)ผลกระทบ ในข้อที่ ๘ เป็นการทำลายหลักการเดิม โดยให้อำนาจแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราหรือคลังหลวงได้ และแม้จะเขียนทิ้งท้ายว่า “ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา” แล้วก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันกลับเป็นการประกาศเจตนาอย่างโจ่งแจ้งว่า จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา เพราะตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรานี้ไม่ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาบริหารจัดการแต่อย่างใดหลักการเดิม ในกฎหมายเดิมไม่ให้ใช้ถ้อยคำว่าให้ธนาคารแห่งประเทศไทย “บริหารจัดการทุนสำรองเงินตรา” แต่ให้ใช้คำว่า “รักษาทุนสำรองเงินตรา” ซึ่งความหมาย ๒ อย่างนี้มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งในแง่พฤตินัยและนิตินัย และขัดต่อเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษโดยสิ้นเชิงเช่นกัน ๑. ๒. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการนำสินทรัพย์นั้นไปลงทุนหาประโยชน์ด้วย ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึงสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา (มาตรา ๓๕) ผลกระทบ ไม่มีผลกระทบ เพราะการบริหารจัดการดังกล่าวไม่ได้หมายถึงทุนสำรองเงินตราหรือคลังหลวง มาตรานี้ใช้ถ้อยคำเหมาะสมดีแล้วหลักการเดิม ไม่ขัดต่อหลักการและเจตนารมณ์เดิมในการปฏิบัติต่อ “คลังหลวง”ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการนำสินทรัพย์นั้นไปลงทุนหาประโยชน์ด้วย ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึงสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา (มาตรา ๓๕)ผลกระทบ ไม่มีผลกระทบ เพราะการบริหารจัดการดังกล่าวไม่ได้หมายถึงทุนสำรองเงินตราหรือคลังหลวง มาตรานี้ใช้ถ้อยคำเหมาะสมดีแล้วหลักการเดิม ไม่ขัดต่อหลักการและเจตนารมณ์เดิมในการปฏิบัติต่อ “คลังหลวง”ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐบาลมีมติให้แก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๔๘๕ เรียกว่า “พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑” โดยให้เหตุผลว่า · สมควรปรับปรุงวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ และโครงสร้างของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินภารกิจอันพึงเป็นงานของธนาคารกลางในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน ตลอดจนสอดคล้องกับมาตรฐานสากล · สมควรให้มีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ เฉพาะที่จำเป็นในแต่ละด้าน ได้แก่ คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน เพื่อให้การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและระบบสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทันต่อเหตุการณ์และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการกิจการของธนาคารแห่งประเทศไทยและการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของธนาคาร· กำหนดการป้องกันการมีส่วนได้เสียของผู้ว่าการ กรรมการ พนักงาน และลูกจ้างของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อการบริหารงานที่โปร่งใส· กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินเป็นส่วนรวม· กำหนดประเภทสินทรัพย์และเครื่องมือในการดำเนินนโยบายเพื่อการดูแลเสถียรภาพการเงินและระบบสถาบันการเงิน และการบริหารจัดการสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่มประเภทเงินสำรอง และมีระบบการจัดทำบัญชี การตรวจสอบ และการรายงานที่เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและคล่องตัวสำหรับเงินสำรองของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ประกอบด้วย ๑. เงินสำรองธรรมดา ตั้งไว้เผื่อขาดทุน ๒.เงินสำรองอันเกิดจากการตีราคาสินทรัพย์และหนี้สิน ๓. เงินสำรองประเภทอื่นเพื่อความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะ และสำหรับกำไรสุทธิของธนาคารแห่งประเทศไทยในแต่ละปี เมื่อหักผลขาดทุนสะสมคงเหลือหากมีให้กันเงินไว้ในข้อ ๑ และข้อ ๓ ตามลำดับ หากมีเงินคงเหลืออีกให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน· เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากได้ใช้บังคับแล้ว จึงสมควรยกเลิกอำนาจของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในการให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินผู้ฝากเงินหรือเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน ในกรณีที่สถาบันการเงินประสบวิกฤตทางการเงินอย่างร้ายแรง เพื่อให้กองทุนฯ ยุติบทบาทหน้าที่ในเรื่องดังกล่าว โดยยังคงให้ทำหน้าที่ในการบริหารสินทรัพย์ต่อไป เพื่อชำรหนี้สินและภาระผูกพันที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เสร็จสิ้นแก้ พ.ร.บ.เงินตรา..ทำลายหลักการบรรพชนเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะรัฐมนตรีมีมติรับ “ร่างพระราชบัญญัติเงินตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....” ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้นำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเพื่อให้การบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรามีความคล่องตัวเหมาะสมกับเศรษฐกิจที่พัฒนาและสภาวการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อันเป็นการรักษาเสถียรภาพทางระบบเงินตราของประเทศ เนื่องจากพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้มีผลใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สำหรับสาระสำคัญของการแก้ไขกฎหมายเงินตราฉบับนี้ สรุปเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคลังหลวง ดังนี้๑. เพิ่มประเภทของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา และเพิ่มกรณีการออกกฎกระทรวงให้สามารถกำหนดหลักทรัพย์ที่ออกโดยองค์การหรือนิติบุคคลต่างประเทศอื่นได้ด้วย ผลกระทบ เป็นการให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังนำสินทรัพย์ในคลังหลวงไปลงทุนในตราสารที่ออกโดยองค์การเอกชนหรือนิติบุคคล ต่างประเทศที่มีผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็ทำให้มีความเสี่ยงสูงมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เปิดกว้างไร้ขอบเขตและมีความเสี่ยงมากขึ้น และอาจเป็นช่องทางให้แสวงหาผลประโยชน์เข้าตนเองและพวกได้ง่ายหลักการเดิม จำกัดอำนาจธนาคารแห่งประเทศให้ปฏิบัติต่อ “คลังหลวง” ในขอบเขตที่มั่นคงปลอดภัย โดยจำกัดประเภทของหลักทรัพย์ให้มีความมั่นคงสูง ผลตอบแทนแม้ไม่มากแต่ความเสี่ยงน้อย นอกจากนี้ยังจำกัดอำนาจกระทรวงการคลังมิให้เข้ามากำหนดกฎเกณฑ์หลักทรัพย์ที่จะประกอบขึ้นเป็นคลังหลวง เพื่อมิให้การเมืองเข้ามาแทรกแซง “คลังหลวง” ๒. เพิ่มเงินตราต่างประเทศ ที่ฝากกับสถาบันการเงินต่างประเทศนอกราชอาณาจักร และ สถาบันผู้เก็บรักษาหลักทรัพย์นอกราชอาณาจักร เป็นสินทรัพย์ที่จะประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา รวมทั้งเพิ่มเติมให้รัฐมนตรีกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะของผู้รับฝากหรือผู้เก็บรักษาเงินตราต่างประเทศผลกระทบ เป็นการเปิดกว้างให้นักการเมืองมีอำนาจเข้ามาบริหารจัดการสินทรัพย์ในคลังหลวงได้อย่างไม่มีขอบเขต อาจกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะและตั้งกฎเกณฑ์เพื่อมุ่งเอาผลประโยชน์เข้าตนเองหรือพวกพ้องได้หลักการเดิม จำกัดอำนาจของนักการเมืองมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับ “คลังหลวง” และมีเจตนารมณ์ให้ “คลังหลวง” เป็นทรัพย์ที่อยู่เหนือนโยบายของรัฐบาล โดยกันไว้มิให้ปะปนกับทรัพย์กองอื่น เพื่อให้เป็นทรัพย์ของแผ่นดินประเภทเก็บรักษาให้มั่นคงปลอดภัยสูงสุด มิใช่เพื่อการใช้จ่ายหรือนำไปเก็งกำไร
วันที่ |
เหตุการณ์ |
27 ก.พ.50 |
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ. เงินตรา (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยหลังจากนี้จะถูกส่งต่อให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแก้ไข ก่อนนำเสนอ สนช. พิจารณาในลำดับต่อไป |
2 ส.ค. 50 |
คณะรัฐมนตรีเสนอโดย นายกรัฐมนตรี นำเสนอเอกสารประกอบการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. เงินตรา ( ฉบับที่ ... ) พ. ศ. ... ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช. ) เพื่อให้ สนช. พิจารณาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ชั่วคราว ) พ.ศ. 2549 |
18 ก.ย. 50 |
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างแก้ไข พ.ร.บ. เงินตราแล้ว โดยเพิ่มข้อห้ามการนำสินทรัพย์จากบัญชีทุนสำรองพิเศษ เข้าบัญชีทุนสำรองเงินตราเพื่อหนุนหลังการออกใช้ธนบัตร เตรียมนำเสนอเข้า สนช. |
26 ก.ย. 50 |
คณะรัฐมนตรีเสนอโดย นายกรัฐมนตรี นำเสนอเอกสารประกอบการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. เงินตรา ( ฉบับที่ ... ) พ. ศ. ... ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช. ) เพื่อให้ สนช. พิจารณาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 |
1 ต.ค. 50 |
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้มอบหมายให้คณะพระภิกษุนำหนังสือมอบให้รัฐบาล (เรื่อง ขอแก้ไขในส่วนของมาตรา 16 เรื่อง ของบัญชีทุนสำรองเงินตรา กับบัญชีทุนสำรองพิเศษ) เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ. เงินตรา ซึ่งผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี |
3 ต.ค. 50 |
รัฐบาลขอเลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. เงินตรา ออกไป |
6 ต.ค. 50 |
รมว. กระทรวงการคลัง ได้ถอนเรื่อง พ.ร.บ. เงินตรา ออกจากการพิจารณาของ สนช. ถึง 3 ครั้ง เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง นำกลับไปแก้ไขปรับปรุงใหม่ |
9 ต.ค. 50 |
คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. เงินตราให้เหมาะสมอีกครั้ง และจะเสนอกลับเข้าคณะรัฐมนตรีได้ใหม่ในปลายเดือนตุลาคมนี้ ก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. |
30 ต.ค. 50 |
รมว. กระทรวงการคลัง จะเสนอร่าง พ.ร.บ. เงินตรา ที่ได้นำกลับปรับปรุงใหม่ เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อีกครั้ง |
๓. เปลี่ยนวิธีการบันทึกผลกำไรขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์และจากการจำหน่ายสินทรัพย์ โดยให้บันทึกผลกำไรขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ในบัญชีสำรองพิเศษ ส่วนกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ให้บันทึกในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีผลกระทบ การบันทึกบัญชีแบบใหม่นี้ ทำให้ตลอด ๒๐-๓๐ ปีจากนี้ไป หากปีใดขาดทุนจากการตีราคา กฎหมายปี พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดให้นำกำไรสุทธิในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีไปจ่ายหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ก่อน ซึ่งส่งผลให้มูลค่าของบัญชีสำรองพิเศษต้องลดน้อยถอยลงไปทุกที เนื่องจากต้องถูกตัดไปชดเชยสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตราให้เต็มมูลค่าธนบัตรออกใช้ หลักการเดิม การตีราคาสินทรัพย์แบบเดิม หากขาดทุนจากการตีราคา จะนำกำไรสุทธิในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีไปชดเชยทั้งบัญชีทุนสำรองเงินตรา และชดเชยบัญชีสำรองพิเศษ ซึ่งจะทำให้บัญชีทั้งสองมีมูลค่าเต็มเสมอ แต่ในการบันทึกบัญชีแบบใหม่ จะชดเชยเฉพาะบัญชีทุนสำรองเงินตราเท่านั้น ส่วนบัญชีสำรองพิเศษจะมีมูลค่าลดน้อยถอยลงไปทุกที ซึ่งแม้เป็นเพียงตัวเลขทางบัญชีก็ไม่เป็นการสมควร หากคิดว่าเป็นเพียงตัวเลขทางบัญชีก็ไม่ควรจะชดเชยบัญชีทุนสำรองเงินตราด้วย และไม่ต้องนำไปจ่ายหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ด้วยเพราะเป็นเพียงตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น๔. ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา โดยขยายขอบเขตการทำธุรกรรมผลกระทบ เป็นการทำลายหลักการและเจตนารมณ์เดิมของบรรพบุรุษอย่างสิ้นเชิง โดยมุ่งหน้าเอาสินทรัพย์ในคลังหลวงไปเสาะแสวงหาวิธีการลงทุนประเภทต่างๆ เพื่อการเก็งกำไร ที่สำคัญเป็นการเปลี่ยนสถานะจาก “ผู้ดูแลรักษา” กลายเป็น “ผู้บริหารจัดการ” สินทรัพย์ในคลังหลวงได้ ประหนึ่งว่าเป็น “เจ้าของ” คลังหลวงเสียเอง กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นการแสดงเจตนาเพื่อจะ “ปล้น” เอากรรมสิทธิ์ในคลังหลวงของประชาชนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากเข้าไปจัดการคลังหลวงได้เสมือนเป็นทรัพย์สินของตนเองหลักการเดิม ดำรงสินทรัพย์ในคลังหลวงไว้เพื่อความเพิ่มพูน มั่นคงและปลอดภัยเป็นสาระสำคัญที่สุด โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเพียงผู้ดูแลรักษาคลังหลวงเท่านั้น เจตนารมณ์บรรพบุรุษมิได้ให้อำนาจในฐานะ “เจ้าของทรัพย์” ดังนั้น กฎหมายจึงจำกัดขอบเขตไว้เพียงเพื่อดำรงความมั่นคง มิใช่เพื่อการนำไปหากำไร ซึ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น๕. ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจมอบหมายให้สถาบันการเงินต่างชาติบริหารจัดการแทนได้ผลกระทบ เป็นการสะท้อนความคิดว่า เห็นคลังหลวงเป็นเพียงสินทรัพย์ที่มีค่าเพียงแค่วัตถุนิยมหรือทุนนิยมเท่านั้น ขาดจิตสำนึกของความเป็นไทย ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคม ศาสนา ตลอดจน ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดมาช้านาน ควรจะรักษาคลังหลวงให้เป็นมรดกตกทอด ให้ลูกหลานได้ภาคภูมิใจถึงความสามารถของคนไทยในการดูแลรักษาสมบัติก้อนสุดท้ายของชาติ โดยมิต้องอาศัยต่างชาติหลักการเดิม พยายามเก็บหอมรอมริบสินทรัพย์ในคลังหลวงให้เพิ่มพูน แน่นหนามั่นคง ดำรงรักษาไว้ด้วยความสุขุมรอบคอบปลอดภัย ไม่มองคลังหลวงเป็นเพียงทรัพย์เพื่อการลงทุนเก็งกำไรหรือแสวงหาผลประโยชน์ด้านมูลค่าเท่านั้น แต่มองรอบด้านอย่างครบองค์ประกอบของความเป็นชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ไทย จึงไม่ต้องว่าจ้างองค์กรใดเพราะเจตนารมณ์มิใช่เพื่อการเก็งกำไร๖. ยกเลิกการให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยโอนสินทรัพย์จากบัญชีสำรองพิเศษเข้าเป็นสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา เพื่อหนุนหลังธนบัตรออกใช้ หมายเหตุ มีเพียงข้อนี้เท่านั้นที่สมควรได้รับการแก้ไขเพราะสอดคล้องกับหลักการเดิมที่เคยปฏิบัติมา จากสาระสำคัญทั้ง ๖ ประเด็นข้างต้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายฉบับปัจจุบันที่มีผลบังคับใช้อยู่นั้นสอดคล้องกับหลักการและเจตนารมณ์เดิมของบรรพบุรุษ มิได้เป็นไปเพื่อการเก็งกำไร หรือนำสินทรัพย์ในคลังหลวงไปลงทุนหรือใช้จ่ายให้ผิดจากหลักการเก็บรักษาเพื่อความมั่นคง ให้เป็นหลักประกันเป็นที่เชื่อมั่นได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การแปรเปลี่ยนหลักการให้ผิดไปจากเดิมทำให้เกิดความเสี่ยง ไม่เป็นที่ยอมรับได้ว่ามั่นคงปลอดภัย อาจนำมาซึ่งความวิบัติล้มละลายทางการเงินของชาติได้ในที่สุด
|