ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow เทศน์เรื่องคลังหลวง arrow คำเสนอทางวัดเกี่ยวกับคลังหลวง
คำเสนอทางวัดเกี่ยวกับคลังหลวง PDF พิมพ์ อีเมล์

23196.jpg 


 

คณะศิษย์อ่าน "ข้อเสนอของทางวัด" เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.เงินตรา 
ร่างพ...เงินตราฉบับใหม่ กระทบกระเทือนต่อคลังหลวงอย่างไร  

 คลังหลวงเป็นสินทรัพย์ที่มีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทานไว้เป็นทุนสำรองเงินตรา สำหรับรักษาราคาแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสยามกับเงินตราต่างประเทศไว้ให้ยืนที่มั่นคง เพื่อหนุนหลังธนบัตร และค้ำประกันบ้านเมือง สินทรัพย์ในคลังหลวงนี้มีการสะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ และก่อนที่จะมีการจัดองค์กรของรัฐใหม่ รวมทั้งก่อนการจัดตั้ง"ธนาคารแห่งประเทศไทย" อีกด้วย

คณะศิษย์อ่าน "ข้อเสนอของทางวัด" เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.เงินตรา    
สินทรัพย์ในคลังหลวงนี้ถูกแยกไว้ต่างหากมิให้ปะปนกับเงินแผ่นดินประเภทอื่น จึงมิได้เป็นของธนาคารแห่งประเทศ หรือเป็นของรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใด หากเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของชาติ ของประชาชนทั้งประเทศ เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของประชาชนชาวไทยที่อยู่เหนือนโยบายเฉพาะหน้าของรัฐบาล เพราะการมีอยู่ของคลังหลวงนี้ ตั้งอยู่บนหลักการสำคัญตามเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษ หลักการนี้ ได้มีการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร จึงถือได้ว่า เป็นหลักธรรมนูญทางเศรษฐกิจของชาติ
ทั้งนี้ในเวลาต่อมา ก็ได้มีการยอมรับในความสูงสุดของหลักการนี้ โดยมีพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๘๕ และพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ กำหนดให้แยกสินทรัพย์ของคลังหลวงไว้ต่างหากจากสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่อยู่ใน “ฝ่ายการธนาคาร”
สินทรัพย์ของคลังหลวงในปัจจุบันมีชื่อเรียกว่า "ฝ่ายออกบัตร" ประกอบด้วยบัญชีสำคัญ ๓ บัญชี คือ
๑. บัญชีทุนสำรองเงินตรา    ๒. บัญชีผลประโยชน์ประจำปี   ๓. บัญชีสำรองพิเศษ
ต่อมาในปลายปี ๒๕๔๐ ประเทศชาติประสบวิกฤตเศรษฐกิจ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และประชาชนชาวไทยจึงได้ร่วมกันบริจาคดอลลาร์และทองคำจำนวนมากเข้าสู่คลังหลวงหรือฝ่ายออกบัตร โดยมีเจตนารมณ์เพื่อเพิ่มพูนสินทรัพย์ในคลังหลวงทั้ง ๓ บัญชี ให้แน่นหนามั่นคงเป็นหลักประกันของชาติสืบไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือ คณะรัฐบาลนำโดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๐ เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเงินตราฉบับใหม่ และจะเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันที่ ๑๐ ตุลาคม นี้ เนื้อหาในร่างกฎหมายมีหลายจุดที่เข้ามาแตะต้องคลังหลวงทั้ง ๓ บัญชี โดยสรุปคือ
๑. กฎหมายเดิมกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีสถานะเป็นเพียง "ผู้ดูแล" สินทรัพย์ในฝ่ายออกบัตรเท่านั้น มิใช่กรรมสิทธิ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่เนื้อหาในร่างกฎหมายใหม่เปิดทางให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกลายเป็น "ผู้มีสิทธิ์เข้ามาบริหารจัดการ" คลังหลวงได้อย่างเต็มไม้เต็มมือ อันเป็นการทำลายหลักการและเจตนารมณ์เดิมของบรรพบุรุษ และทำลายเจตนารมณ์ของหลวงตาและประชาชนชาวไทยผู้บริจาคที่ต้องการพิทักษ์ปกป้องคลังหลวง มิให้ผู้ใดเข้ามาจัดการหรือแตะต้องไปในทางอื่นๆ ที่จะเกิดความเสี่ยงได้
๒. การบริหารจัดการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผ่านมาล้มเหลวมาโดยตลอด จนเกือบนำชาติสู่ความหายนะ หากยอมเปิดทางให้เข้ามาบริหารจัดการคลังหลวงได้ สินทรัพย์ค้ำชาติก้อนสุดท้ายอาจพังพินาศไม่มีวันย้อนคืนมาได้อีก
๓. เนื้อหาในร่างกฎหมายใหม่ เป็นการเปลี่ยนจุดมุ่งหมายของคลังหลวง จากที่เป็นทุนสำรองเงินตราของชาติ กลายเป็นการนำสินทรัพย์คลังหลวงไปเก็งกำไรในตลาดการเงินต่างๆ ที่หวังผลมากก็ย่อมมีความเสี่ยงมาก เปลี่ยนจาก "กองทุนเพื่อค้ำชาติ" กลายเป็น "กองทุนเพื่อเก็งกำไร" สิ่งนี้บ่งบอกถึงความละโมบโลภมากของรัฐบาล ไม่เป็นไปเพื่อความพอเพียงตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ไม่เป็นไปตามพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเตือนเสมอให้ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ไม่เป็นไปตามหลักธรรมนูญทางเศรษฐกิจของชาติ อีกทั้งไม่เป็นไปตามหลักการและเจตนารมณ์เดิมของบรรพบุรุษที่ท่านได้พาดำเนินไว้ด้วยความถูกต้องดีงาม
การที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน ถือโอกาสอ้างความจำเป็นในการแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าว คิดสั้น พยายามใช้วิธีการอ้างเสียงข้างมากในสภา และอาศัยกระบวนการนิติบัญญัติทำลายหลักการ และเจตนารมณ์ของบรรพชน โดยมิได้คำนึงถึงทางเลือกอื่น แต่อาศัยอำนาจหน้าที่พยายามเสนอมาตรการทางกฎหมายแปรเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีการสะสมไว้ อันเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของชาติ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเพียงผู้ดูแลรักษา ไปเป็นสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นฝ่ายที่มีกรรมสิทธิ์ สามารถเข้ามาดำเนินการบริหารจัดการจำหน่ายจ่ายโอนได้อย่างเต็มที่
ความคิด และความพยายามดังกล่าว เป็นการล้มล้างหลักการอันเป็นปราการด่านสุดท้ายของการรักษาชาติ รักษาแผ่นดิน หลักธรรมนูญทางเศรษฐกิจแห่งชาติ หลักการที่ได้มีการวางรากฐานไว้ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์นั้น เป็นหลักการที่บรรพชนวางและรักษาไว้เพื่อรักษาแผ่นดิน เป็นหลักการที่อยู่เหนือกาลเวลา และอยู่เหนือนโยบายของรัฐบาลใดๆ เป็นหลักการที่รัฐบาลทุกรัฐบาลพึงรักษาไว้ยิ่งชีวิต มิใช่เพื่อทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงเพียงเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานที่ผิดพลาดของธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ถูกต้องแล้ว การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล จักต้องยึดมั่นในหลักการของการรักษามรดกอันดีงามของชาติ โดยที่หลักการการเก็บรักษา และสะสมสินทรัพย์ในบัญชีต่างๆ เพื่อสำรองไว้ใช้ในยามคับขัน ถึงขั้นจะสูญเสียเอกราชและอธิปไตย เป็นหลักการที่ได้รับการยึดมั่นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน การแสดงเจตจำนงและพยายามแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าวของรัฐบาลเพื่อสละละทิ้งหลักการนี้ จึงถือได้ว่าเป็นจุดพลิกผันสำคัญในการที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านจิตสำนึกของการสืบทอดมรดก ในการดำรงชีพ ดำรงชาติ
จากเหตุผลดังกล่าวแล้วข้างต้น
ประชาชนชาวไทยจึงขอแสดงเจตนาคัดค้านร่างกฎหมายพระราชบัญญัติเงินตราฉบับใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่สภา ขอให้ยกเลิกเนื้อหาในร่างอันเป็นการเปิดทางให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ามาบริหารจัดการสินทรัพย์ในคลังหลวงทั้ง ๓ บัญชี ทั้งนี้เพื่อมิให้บุคคลใด คณะบุคคลใด หรือองค์กรใด เข้ามาแตะต้องสินทรัพย์ในคลังหลวง โดยขอให้คงไว้ตามกฎหมายเดิม ไม่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมประการใด เพื่อเป็นการเก็บรักษาสินทรัพย์ในคลังหลวงไว้ให้มั่นคงปลอดภัยสืบไป

หลวงตาตอบ นี่เป็นคำเสนอของทางวัด คือเราเป็นหัวหน้าเข้าไป ไม่งั้นมันจะฉิบหายหมด โห เราก็ไม่เคยคิดบวชมาจะได้ออกมาเกี่ยวกับชาติบ้านเมือง ก็ได้ออกมาอย่างนี้แหละ เพราะมันสกปรก นี่เอาน้ำมาชะล้าง บางคนพวกปากอมขี้เขาก็ว่าพระมาเล่นการบ้านการเมือง การบ้านการเมืองอะไรมันการส้วมการถานต่างหาก เอาน้ำมาชะล้างการส้วมการถานให้มันสะอาดพอดูได้เราที่มาช่วยอยู่เวลานี้ ไม่งั้นจมไปหมดนะอะไรก็ดี จึงมักมีชื่อทางวัดอยู่ เฉพาะอย่างยิ่งหลวงตาบัวเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ก็เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยแห่งสมบัติของชาติเรานั่นเอง ไม่ได้มาเกี่ยวข้องเพื่อความเสียหายแต่ประการใด มันน่าจะคิดนะ
ผู้ใหญ่ในวงราชการต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ควรจะคิดให้มากนะ อย่าเห็นแต่เราเป็นผู้ใหญ่ ใหญ่ป่าๆ เถื่อนๆ ไม่มีใครเคารพนับถือ ใหญ่ป่าๆ เถื่อนๆ นี้ทำชาติให้ล่มจมได้ ถ้าใหญ่เป็นศีลเป็นธรรมเชิดด้วยกันทั้งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เราจึงต้องได้เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เราก็ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมือง แต่ก็เป็นอย่างนี้แหละ เมืองไทยเราจะจมมันก็ทนไม่ได้ต้องมาช่วยอุ้ม ครั้นอุ้มขึ้นมาแล้วจะปัดมือให้แตกกระจัดกระจายไปนี้เราก็ไม่ยอมใช่ไหมล่ะ เข้าใจตามนี้นะ …
ให้พากันไปดูแลทรัพย์สินของเรา บอกลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลาย ไม่งั้นมันจะฉิบหายไปหมด ก็มีเท่านั้นละ
(ส่วนหนึ่งของเทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด  ๗ ตุลาคม ๒๕๕๐)

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >