ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow ข่าวจากสื่อ arrow "คลังหลวง" ช็อต! ดูด 5 หมื่นล้าน - ธปท.ออกบอนด์อ้างสภาพคล่อง
"คลังหลวง" ช็อต! ดูด 5 หมื่นล้าน - ธปท.ออกบอนด์อ้างสภาพคล่อง PDF พิมพ์ อีเมล์
สยามรัฐคลังหลวงแห้งผาก แบงก์ชาติวิ่งขาขวิดออกพันธบัตรออมทรัพย์ดูดเงิน 5 หมื่นล้าน ดีเดย์เปิดขายลอตแรก 18 ก.พ.นี้ “อัจนา” ตะแบงปี 50 แบงก์ชาติกำไร 2.2 หมื่นล้าน แต่ยอมรับขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจริงเหตุเงินบาทแข็งค่าถึง 7% คุยการออกพันธบัตร 5 แสนล้าน เพื่อทำเมกะโปรเจกต์รถไฟฟ้า 9 สาย ไม่กระทบการออกพันธบัตร 2.2 ล้านล้าน เมื่อวันที่ 7 ก.พ.51 นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ปี พ.ศ.2551 ครั้งที่ 1 วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท อายุ 4 ปี และ 7 ปี ในระหว่างวันที่ 18-26 ก.พ.นี้ ผ่านธนาคารพาณิชย์ 9 แห่ง และจะประกาศอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ในวันที่ 15 ก.พ. โดยอิงดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 ปี และ 7 ปี บวกเพิ่มอีกไม่เกิน 15% ของผลตอบแทน ทั้งนี้ผู้ที่มีสิทธิ์ซื้อได้แก่ บุคคลธรรมดา สหกรณ์ มูลนิธิ และองค์กรสาธารณะที่ไม่มุ่งหวังกำไร โดยซื้อขั้นต่ำ 50,000 บาทต่อราย และซื้อเพิ่มเป็นหน่วยละ 10,000 บาท

โดยในปีนี้ ธปท.มีโควตาออกพันธบัตร 2.2 ล้านล้านบาท และหากนับรวมทั้งหมดจนถึงปัจจุบัน ธปท.มีการออกพันธบัตรไปแล้ว 1.35 ล้านล้านบาท ไม่ใช่ 1.9 ล้านล้านบาท ส่วนการที่รัฐบาลมีแนวทางออกพันธบัตร 5 แสนล้านบาท เพื่อระดมทุนมาใช้ในโครงการรถไฟฟ้า 9 สายนั้น ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการออกพันธบัตรของ ธปท. เนื่องจากสภาพคล่องในระบบขณะนี้มีค่อนข้างสูง นอกจากนี้ โครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาล ยังใช้เวลาอีกหลายปี กว่าจะระดมเงินทุนไปใช้ในการก่อสร้าง

“การออกพันธบัตรครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มทางเลือกในการออมเงินให้กับประชาชนให้ได้รับดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ และรองรับการซื้อตราสารใหม่ๆ ของประชาชนที่มีมากขึ้น หลังจากที่กฎหมายคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ยังเป็นอีก 1 เครื่องมือในการดูแลสภาพคล่องในตลาดเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และช่วยให้การส่งผ่านนโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”
นางอัจนา กล่าว

นางอัจนา กล่าวต่อว่า ในช่วงปี 2550 ธปท.มีผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจริงแต่ระดับผลขาดทุนลดลงจากปี 2549 เนื่องจากในปี 2550 เงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่ปี 2549 แข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 17 และปีนี้เงินบาทไม่ได้แข็งค่ามาก เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการโดยรวมของ ธปท.มีกำไรถึง 2.2 หมื่นล้านบาท ในปี 2550 (เป็นผลกำไรที่บันทึกบัญชีเป็นเงินสกุลดอลลาร์)

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >