ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow บทความวิชาการ arrow คลังหลวงของปวงชน
คลังหลวงของปวงชน PDF พิมพ์ อีเมล์

4334861low.jpg“คลังหลวงของปวงชน”  บรรยายโดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (๕ ส.ค. ๔๕)

“คลังหลวงของปวงชน”  

 บรรยายโดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (๕ ส.ค. ๔๕) ในช่วงตั้งแต่ปลายปี ๒๕๓๙ ถึงกลางปี ๒๕๔๐ ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามที่จะรักษาค่าเงินบาทให้สูงอยู่ในระดับที่๑ ดอลลาร์เท่ากับ ๒๕ บาท โดยการนำเงินดอลลาร์สหรัฐออกขายในตลาด การนำเงินดอลลาร์สหรัฐออกขายในตลาดนี้ ทำได้เฉพาะโดยการนำเงินจากฝ่ายกิจการธนาคารเท่านั้น ไม่สามารถนำเงินออกจากฝ่ายออกบัตรหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “คลังหลวง” ได้ เพราะมีกฎหมายห้ามไว้


          จึงมีผลให้เงินในบัญชีของฝ่ายออกบัตรหรือคลังหลวงนั้น ยังคงเหลืออยู่สูงถึง ๑๙,๘๐๐ ล้านดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ๒๕๔๐ ในขณะที่เงินในบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคารนั้น มีการนำเงินดอลลาร์ออกขายจนหมด และยังมีการทำสวอป  นำเงินดาลลาร์มาขายเพิ่มเติมอีก โดยมีสิ่งที่เรียกว่า “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” เป็นภาระติดค้าที่จะนำส่งคืนเขา ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๐ นั้น ปรากฏว่าฝ่ายกิจการธนาคารมีเงินดอลลาร์เหลือ ๑๑,๘๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ขณะเดียวกันก็มีภาระที่เรียกว่า “สัญญาล่วงหน้า” ที่ต้องส่งคืนในอนาคตสูงถึง ๒๙,๕๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ แปลว่า อะไร แปลว่า บัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร ณ วันนั้นเนื่องจากการพยายามนำดอลลาร์ออกขายรักษาค่าเงินบาทนั้น มีฐานะติดลบสุทธิถึง ๑๗,๗๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

         โดยสรุป ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ๒๕๔๐ ก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ๑ วัน เงินสำรองสุทธิที่มีเหลืออยู่ ๒,๘๐๐ ล้านดอลลาร์นั้น ประกอบด้วยเงินดอลลาร์ในคลังหลวง ๑๙,๘๐๐ ล้านดอลลาร์  เป็นบวกนะครับอันนี้ ในบัญชีทุนรักษาระดับ ๗๐๐ ล้านดอลลาร์ ในขณะที่บัญชีของฝ่ายการธนาคารมีฐานะสุทธิติดลบ ๑๗,๗๐๐ ล้านดอลลาร์ จะเห็นได้ว่า ผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สามารถนำเงินดอลลาร์จากคลังหลวงออกมาขายได้เลย เนื่องจากมีกฎหมายห้ามไว้ หาไม่แล้วเงินในคลังหลวงคงจะถูกนำไปขายแทนการทำสวอปในจำนวนที่สูงมากทีเดียว

         ครั้งต่อมาระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมา จากต้นกรกฎาคม ๔๐ ถึงปลายมิถุนายน ๔๕ นี้ ประเทศไทยได้ทำมาค้าขายสินค้าและบริการ ก็ได้เงินเข้าประเทศมา เมื่อหักเงินที่ชำระหนี้ต่างประเทศแล้ว  ก็สามารถนำเข้าบัญชีของฝ่ายการธนาคาร ทำให้ในวันสิ้นเดือนมิถุนายน ๒๕๔๕ ฝ่ายการธนาคารซึ่งเดิมกลับมีฐานะสุทธิลบ ๑๗,๗๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมีเงินดอลลาร์สูงถึง ๘,๐๙๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ

          ส่วนเงินดอลลาร์ในบัญชีฝ่ายออกบัตรหรือคลังหลวงนั้น ก็ได้เพิ่มพูนขึ้นจาก ๑๙,๘๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปลายมิถุนายน ๒๕๔๐ ณ ขณะนี้เพิ่มเป็น ๒๗,๔๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว เมื่อปลายมิถุนายน ๒๕๔๕ โดย
            • ได้มาจากดอกผลของเงินที่มีอยู่เดิม
            • ได้มาจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเติมให้ เมื่อต้องการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติมขึ้น
            • และจากเงินบริจาคของหลวงตา (โครงการช่วยชาติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)


ทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ (โดยประมาณ) หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

                          ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๐    ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๕

บัญชีฝ่ายออกบัตร              ๑๙,๘๐๐               ๒๗,๔๐๐
บัญชีฝ่ายการธนาคาร  
SPOT                           ๑๑,๘๐๐                ๘,๐๙๐
FORWARD                    ๒๙,๕๐๐                 -๘๘๐
ทุนรักษาระดับ                       ๗๐๐                   ๙๑๐
รวม                               ๒,๘๐๐              ๓๕,๕๒๐


          เงินบริจาคของหลวงตา แม้ว่าจะเป็นจำนวนที่ไม่มากเมื่อเทียบกับเงินในคลังหลวงที่มีอยู่เดิม แต่มีบทบาทสำคัญที่ป้องกันมิให้มีการนำเงินในคลังหลวงออกไปใช้ จนอาจเกิดอันตรายขั้นหายนะแก่ประเทศชาติได้ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ

          ถ้าใครจำได้ เมื่อกลางปี ๒๕๔๓ ก็มีการกล่าวขานว่า อาจจะมีการชำระหนี้ให้ไอเม็มเอฟ ก่อนกำหนด ในขณะนั้นเงินในฝ่ายกิจการธนาคารไม่พอ จึงมีความคิดจะนำเงินฝ่ายออกบัตร ไปรวมกับฝ่ายกิจการธนาคาร จะได้มีพอที่จะไปชำระหนี้ให้ไอเอ็มเอฟ ก่อนกำหนด ซึ่งถ้าหากปล่อยให้เป็นเช่นนั้นแล้ว เป็นไปได้ว่า เงินสำรองระหว่างประเทศในขณะนั้น จะลดต่ำลงมาก จนทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่นได้ และถ้าขาดความเชื่อมั่นแล้ว อาจทำให้มีเงินไหลออกมากอีกครั้งหนึ่ง ผมใช้คำว่า อาจจะนะครับ แต่จำนวนที่จะชำระนั้นก็มีจำนวนสูง ถ้าปล่อยให้นำเงินในคลังหลวงไปชำระหนี้ให้ไอเอ็มเอฟ ก่อนกำหนดล่ะก็ ส่วนที่เหลือจะมีน้อยมาก ทำให้ขาดความเชื่อมั่นได้

          การที่หลวงตาท่านออกมาขัดขวางการรวมบัญชี ก็เท่ากับว่าเป็นการป้องกันไม่ให้มีการนำเงินจากคลังหลวงไปใช้เพื่อการอื่น นอกจากการสำรองเพื่อผลิตธนบัตร จึงทำให้เงินในคลังหลวงยังคงมีเหลืออยู่เต็มที่ และพอกพูนขึ้นตามจำนวนที่กล่าวถึงข้างต้น คือมีอยู่ถึง ๒๗,๔๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว เป็นหลักฐานของความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจของประเทศ แล้วสร้างความเชื่อมั่นในสายตาของต่างประเทศทั่วโลก ส่วนการชำระหนี้ให้ไอเอ็มเอฟนั้น เราก็ไม่ได้ละเลย ก็มีการชำระหนี้ให้ไอเอ็มเอฟ ตรงตามเวลา โดยอาศัยเงินที่ค่อยๆ หาได้จากการขายสินค้าและบริการตามปกติ ไม่มีการชักออกมาจากคลังหลวง เพื่อการนี้แต่ประการใด

          ท่านอาจารย์มหาบัวหรือที่เรียกว่า หลวงตามหาบัวนั้น ท่านก็ยังเชิญชวนพี่น้องมอบเงินและมอบทองคำเพิ่มเติม เพื่อสมทบคลังหลวงอีกนั้น ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยินดีจะรับตลอดเวลาครับ เพื่อสมทบคลังหลวงอีกนั้น ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยินดีจะรับอยู่ตลอดเวลาครับ ขอบคุณครับ

ผู้ว่าแบงก์ชาติ : “...ตอนนี้สถานการณ์เราดีมาก คือ วิธีที่ฝรั่งเขาดูว่า เมืองไทยมั่นคงหรือไม่ เขาดูสำรองในกระเป๋าเรา มีเท่าไหร่ เทียบกับหนี้ส่วนที่ต้องชำระในปีหน้าเท่าไหร่ แล้วดูว่ามีกี่เท่า ถ้ารวมบัญชี เขา (รัฐบาลชุดก่อน) จะเอาไปชำระไอเอ็มเอฟทั้งก้อน ทุนสำรองจะลดพรวดไปเลย นี่ที่ผมกลัวมาก...”
หลวงตา : “...หัวใจของชาติตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ชาติไทยอยู่ได้ เพราะอันนี้(คลังหลวง) ฉะนั้น อย่าแตะ! หลอกตาคนต่างหากว่า “รวมบัญชี” เมื่อรวมแล้ว  หมด เพราะงั้นถึงได้เอากันอย่างแรง...”

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >