ลืมรหัสผ่าน?
  • Narrow screen resolution
  • Wide screen resolution
  • Auto width resolution
  • Increase font size
  • Decrease font size
  • Default font size
  • default color
  • red color
  • green color
Home arrow เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้
ภาวะเงินเฟ้อยิ่งในประเทศซิมบับเว เป็นสถานการณ์เงินเฟ้อที่สูงเป็นอันดับที่สองในประวัติศาสตร์การเงิน PDF พิมพ์ อีเมล์
นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ถ้าใครได้ติดตามข่าวเรื่องนี้เมื่อ 2-3 ปีก่อน น่าจะพอผ่านหูผ่านตาได้ 

ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเวเป็นสถานการณ์เงินเฟ้อที่สูงเป็นอันดับที่สองในประวัติศาสตร์การเงินโลก (รองจากภาวะเงินเฟ้อในประเทศฮังการี ใน พ.ศ. 2489) ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดครั้งนี้ เกิดขึ้นกับเงินสกุล ดอลลาร์ซิมบับเว (Zimbabwean Dollar, ZWD) อันเนื่องมาจากการบริหารงานอันผิดพลาดของประธานาธิบดีโรเบิร์ต มูกาเบ โดยมีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 516,000,000,000,000,000,000 (ห้าร้อยสิบหกล้านล้านล้าน) ต่อปี ทำให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นอย่างรุนแรงในระบบเศรษฐกิจและสังคม จนนำไปสู่การยุติการใช้สกุลเงินประจำชาติในที่สุด 

photo_ion4gkflpc230jb.jpg

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
ลำดับเหตุการณ์ 
พ.ศ. 2530-2542 
พ.ศ. 2530 นายโรเบิร์ต มูกาเบ ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนที่สองแห่งสาธารณรัฐซิมบับเว หลังจากนั้น นายมูกาเบ มีนโยบายทางการเงินที่ผิดพลาดอยู่บ่อยๆ เงินเฟ้อของประเทศในช่วงนั้นอยู่ที่ร้อยละ 10-20 แต่จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ปัญหาเงินเฟ้อเกิดรุนแรงขึ้น คือวันหนึ่ง นายมูกาเบเห็นว่า ประเทศซิมบับเวนั้นเคยเป็นอาณานิคม(เมืองขึ้น) ของสหราชอาณาจักร (ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2523) ในช่วงที่เป็นเมืองขึ้นนั้นถูกคนขาว(คนอังกฤษ) กดขี่ขมเหง แม้ตอนนี้จะมีเอกราชแล้ว การกดขี่ลดน้อยลงไป แต่ยังมีคนขาวจำนวนหนึ่งที่ยังปักหลักทำมาหากินอยู่ในซิมบับเว นายมูกาเบไม่พอใจ ด้วยเห็นว่าแผ่นดินซิมบับเวควรเป็นของซิมบับเว จึงได้ออกมาตรการปฏิรูปที่ดินในซิมบับเว โดยเป็นนโยบายในการขับไล่คนขาวออกไป หรือทำให้ชาวผิวขาวกลายสถานะเป็นลูกจ้าง และริบที่ดินทำกินมาให้ชาวผิวดำซิมบับเว ชาวผิวขาวซึ่งมีจำนวนแม้จะน้อยไม่กี่พันคน แต่ครอบครองที่ดินในซิมบับเวเป็นสัดส่วนจำนวนมาก ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นรุนแรง ประกอบกับเมื่อที่ดินเหล่านั้นถูกริบ ปรากฏว่ารัฐบาลซิมบับเวกลับบริหารไม่เป็นประโยชน์ ใช้คนไม่ถูกงาน ที่ดินเหล่านั้นเสมือนไร้ประโยชน์ ทำให้ผลิตภัณฑ์และระบบเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลง รวมถึงการคอรัปชันที่เกิดขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้นจากระดับปกติมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 20-50 ต่อปี 

ธนบัตรชุดดั้งเดิมของ ดอลลาร์ซิมบับเว จะมี 4 ชนิด มูลค่า 2, 5, 10, 20 ดอลลาร์ แต่เมื่อเกิดภาวะเช่นนี้ ใน พ.ศ. 2537 จึงได้มีการออกธนบัตรมูลค่า 50 ดอลลาร์ และออกธนบัตรมูลค่า 100 ดอลลาร์ตามมาในปี 2538 ตามมาด้วยการยกเลิกธนบัตร 2 ดอลลาร์ และการเปลี่ยนรูปแบบของธนบัตร 5, 10, 20 ดอลลาร์พร้อมกันในปี 2540
 


360px-robert_mugabe_-_2009.jpg
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


นายโรเบิร์ต มูกาเบ ประธานาธิบดีคนที่สองแห่งสาธารณรัฐซิมบับเว (ตอนนี้ก็ยังอยู่ในตำแหน่ง) 


zwdvusdchart.png
 

กราฟลอการิทึม แสดงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ กับดอลลาร์ซิมบับเว โดยเส้นสีแดง แสดงถึงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ, สีฟ้า เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืด, สีเขียว เป็นอัตราแลกเปลี่ยนOMIR 



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


พ.ศ. 2543-2549 


จากการปฏิรูปที่ดินที่ล้มเหลว สถานการณ์รุนแรงขึ้นตามเวลา ซิมบับเวจากที่เคยเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำ ส่งออกสินค้าหลายชนิด กลายเป็นต้องนำเข้า อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 50-100 ต่อปี ต่อมาได้ติดหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อีกทั้งการเริ่มขาดแคลนอาหารและสาธารณูปโภค และสถานการณ์การขับคนขาวออกที่รุนแรงขึ้นในระยะนี้ ผลักหนุนอัตราเงินเฟ้อเพิ่มไปอยู่ที่ร้อยละ 100-600 ต่อปี ผลสุดท้าย พ.ศ. 2549 ธนาคารกลางแห่งประเทศซิมบับเว ตัดสินใจพิมพ์ธนบัตรขึ้นมาเพิ่มเติมครั้งใหญ่ เพื่อนำไปซื้อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ และนำเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐนั้นไปใช้หนี้ (อัตราแลกเปลี่ยนเงินในขณะนั้น คือ 1.59 ดอลลาร์ซิมบับเว = 1 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งซิมบับเวสามารถปลดหนี้ให้ตนเองได้ แต่ด้วยระบบเศรษฐกิจ เงินดอลลาร์สหรัฐที่ใช้หนี้คืนไป เมื่อออกสู่ระบบ ก็เริ่มค่อยๆ ถูกแลกกลับเป็นเงินในสกุลดอลลาร์ซิมบับเว และกลับเข้ามาในระบบเศรษฐกิจของซิมบับเวเอง ทำให้เงินล้นประเทศ ค่าของเงินจึงจางลง ซ้ำเติมสถานะทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้ว หนุนให้เงินเฟ้อสูงขึ้นไปอีก และในปีเดียวกันนั้น รัฐบาลยังสั่งอัดฉีดเงินเข้าระบบอีก 60,000,000,000,000 (หกสิบล้านล้าน) ดอลลาร์ซิมบับเว เพื่อเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการชดเชยภาวะเงินเฟ้อ แต่ยิ่งทำให้เงินล้น เงินเฟ้อจึงพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิมอีก ในปี 2549 เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นไปที่ร้อยละ 1,281.11 ต่อปี 

ในช่วงที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 50-100 ต่อปี ธนาคารกลางต้องออกธนบัตร 500 ดอลลาร์ พร้อมยกเลิกการธนบัตร 5 ดอลลาร์ ในปี 2544 ต่อมาเมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงเกินร้อยละ 100 ต่อปี ธนาคารกลางต้องออก Bearer Cheque ออกมาเพิ่ม 4 ชนิด (และเงินหมุนเวียนทุกรุ่นหลังจากนี้ไป ส่วนใหญ่จะออกในรูปของ Bearer Cheque หรือ "เช็คที่ธนาคารสัญญาว่าจะแลกเป็นเงินได้" ทั้งหมด) มูลค่า 1 000 5 000 10 000 และ 20 000 ดอลลาร์ ในปี 2546 และตามมาด้วย Bearer Cheque 50 000 และ 100 000 ดอลลาร์ในปี 2548 แต่ที่สุดแล้ว เนื่องจากเงินเฟ้อจัด ทำให้การซื้อ-ขาย มีเลขศูนย์ต่อท้ายมากเกินไป ทำให้ 1 สิงหาคม 2549 รัฐบาลและธนาคารกลางสั่งปรับปรุงสกุลเงินนี้ใหม่ทั้งหมด โดยกำหนดหน่วยเงินเป็น "ดอลลาร์ซิมบับเวที่สอง" (ZWN) มาแทนเงินดอลลาร์ซิมบับเวเดิม (ZWD) โดยกำหนดให้ 1 ZWN = 1,000 ZWD รวมทั้งยกเลิกธนบัตรและ Bearer Cheque ของ ZWD ทั้งหมดตั้งแต่ 10 20 50 100 500 1,000 5,000 10,000 20,000 50,000 100,000 ดอลลาร์ทิ้งทั้งหมด และออก Bearer Cheque ของ ZWN ใหม่ โดยชุดแรกมี 14 ชนิด คือ 0.01, 0.05, 0.10, 0.50, 1, 5, 10, 20, 50, 100, 500, 1,000, 10 000 และ 100,000 ดอลลาร์ซิมบับเวที่สอง
 





พ.ศ. 2550 

พ.ศ. 2550 รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมราคาสินค้า ผู้ใดขายสินค้าในราคาเกินกำหนดถือว่ามีความผิด แต่ผลคือ ต้นทุนของสินค้ายังเพิ่มขึ้นจนแพงกว่ากำแพงราคาที่กำหนด ร้านค้าต่างๆ เก็บสินค้าของตนออกไปขายในตลาดมืด เพราะไม่สามารถขายในราคาที่ขาดทุนได้ ทำให้ตลาดมืด (ตลาดผิดกฎหมาย) ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประชาชนไม่มีทางเลือก และเกิดการกักตุนสินค้าในตลาดมืดไว้ขายในราคาที่สูงกว่าในวันหน้า และนอกจากนี้ ชาวซิมบับเวเปลี่ยนไปใช้เงินสกุลอื่น หรือใช้สิ่งของในการแลกเปลี่ยนแทนเงินประจำชาติ เพราะมีความเสถียรกว่ามาก มีรายงานว่าแม้แต่โรงพยาบาลบางแห่ง ยังยินดีรับค่ารักษาเป็นถั่วลิสงมากกว่าที่จะรับเงินในสกุล ZWN โดยจะคิดค่ารักษาเป็นจำนวนถังของถั่วลิสง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทาขนมปังให้คนไข้ เงินสกุลนี้ กลายเป็นเงินที่ต้องรีบใช้ เพราะราคาของในเงินสกุลนี้จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และการเก็บออมโดยใช้เงินสกุลนี้คงจะยากที่จะมีโอกาสตั้งตัว และมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ต้องพบชะตากรรม เพราะเงินล้านที่ทำงานอดออมมาทั้งชีวิตตลอดก่อนหน้านี้เพื่อหวังจะใช้ชีวิตสบายยามชรา กลับเหลือมูลค่านำมาซื้อได้เพียงข้าวเช้า 1 จานเท่านั้น การควบคุมค่าเงินดูจะเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว เงินเฟ้อประจำปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 66,212.3 ต่อปี 

ในช่วงต้นปี รัฐบาลประกาศยินยอมให้คนขาวกลับมาทำมาหากินในดินแดนซิมบับเวได้ใหม่อีกครั้ง รวมทั้งยินยอมให้คนขาวเซ็นสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวในประเทศซิมบับเวได้ใหม่ แต่ที่ดินที่เคยใช้ประโยชน์ได้ ก็เสื่อมสภาพ ไม่สามารถใช้ทำประโยชน์ได้เต็มที่ดังเดิม 

ในปี 2550 มีการออก Bearer Cheque มูลค่า 5,000 และ 50,000 ดอลลาร์มาเพื่อลดช่องว่างของ Bearer Cheque 1,000, 10,000 และ 100,000 ดอลลาร์ และในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง การออก Bearer Cheque รุ่นใหม่ของซิมบับเวเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2550 เพียงหนึ่งปีหลังปรับปรุงสกุลเงินมาเป็น ZWN, Bearer Cheque มูลค่าตั้งแต่ 0.01 ถึง 50 ดอลลาร์ซิมบับเวถูกยกเลิก และมีการออก Bearer Cheque มูลค่า 200,000, 250,000, 500,000 และ 750,000 ดอลลาร์ซิมบับเวออกมาในปีเดียว เพื่อลดปริมาณเช็คที่ต้องพกไปในการซื้อสินค้า
 


601px-zimbabwe_hyperinflation_2008_notes.jpg
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 
 
 
ด้วยภาวะเงินเฟ้อทำให้ต้องออก Bearer Cheque มูลค่าสูงมาอย่างต่อเนื่องเพื่อความสะดวก ภาพนี้แสดงเช็คที่อยู่ในระบบในช่วงหนึ่งปี นับจากเดือนกรกฎาคม 2550 




พ.ศ. 2551 

ภาวะเงินเฟ้อพุ่งทะยานไม่หยุด มากกว่าร้อยละล้านต่อปี ในช่วงนี้ธนาคารกลางต้องออก Bearer Cheque รุ่นใหม่เกือบทุกเดือน โดยในเดือนมกราคม ออก Bearer Cheque 1,000,000, 5,000,000 และ 10,000,000 ดอลลาร์ซิมบับเว ต่อมาในเดือนเมษายน ออก Bearer Cheque 25,000,000 และ 50,000,000 ดอลลาร์ ตามด้วยการออก Bearer Cheque 100,000,000 (หนึ่งร้อยล้าน), 250,000,000 (สองร้อยห้าสิบล้าน) ดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคมต้นเดือน และ Bearer Cheque 500 000 000 (ห้าร้อยล้าน) ดอลลาร์ในช่วงกลางเดือน และในเดือนเดียวกันยังต้องออกเงินพิเศษฉุกเฉินในรูป Special Agro-Cheque มูลค่าใบละ 5,000,000,000 (ห้าพันล้าน), 25,000,000,000 (สองหมื่นห้าพันล้าน), 50,000,000,000 (ห้าหมื่นล้าน) และ 100,000,000,000 (หนึ่งแสนล้าน) ดอลลาร์ซิมบับเว แต่มันมีค่าเทียบเท่าเงินไทยในช่วงนั้นเพียง 61 บาท 

เมื่อการอนุญาตให้คนขาวกลับเข้ามาในประเทศไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น สุดท้ายรัฐบาลซิมบับเวได้ประกาศว่า เป็นเพราะรัฐบาลสหราชอาณาจักรในสมัยที่นายโทนี แบลร์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ใช้อาวุธเคมีและชีวภาพทำให้เกิดโรคระบาดในซิมบับเว และทำให้ที่ดินเสื่อมสภาพ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งยังประกาศจะตรวจสอบกิจการที่มีชาวต่างชาติ โดยเฉพาะสัญชาติอังกฤษถือหุ้นหรือเป็นเจ้าของ ว่ามีการกักตุนสินค้าเพื่อปั่นราคาหรือไม่ หากพบ จะยึดกิจการดังกล่าวเป็นของรัฐบาล หากไม่พบ แต่พบว่าเป็นกิจการที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจระดับมหภาคของซิมบับเว จะยึดกิจการดังกล่าวให้นักลงทุนชาวซิมบับเว หรือเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อซิมบับเวเป็นผู้บริหารแทน ทำให้คนขาวต้องออกไปจากซิมบับเวอีกครั้ง 

ในที่สุด 1 สิงหาคม 2551 ธนาคารกลางต้องสั่งปรับค่าเงินสกุลนี้ใหม่อีกครั้ง โดยให้ประเทศเปลี่ยนไปใช้เงิน “ดอลลาร์ซิมบับเวที่สาม” (ZWR) แทนดอลลาร์ซิมบับเวที่สอง (ZWN) โดยกำหนดให้ 1 ZWR = 10,000,000,000 (หนึ่งหมื่นล้าน) ZWN (= 10,000,000,000,000 ZWD) เพียงสองปีหลังจาก ZWN ออกใช้ ซึ่งเงินสกุล ZWR เป็นต้นไป ได้กลับมาใช้ธนบัตรจริงทั้งหมด ไม่ใช้ Cheque โดยธนบัตรชุดแรกมี 6 ชนิด คือ 1, 5, 10, 20, 100 และ 500 ดอลลาร์ซิมบับเวที่สาม แต่ยังอนุญาตให้ใช้ Bearer Cheque ของดอลลาร์ที่สองได้จนถึงสิ้นปี โดยจะต้องคำนวณมูลค่าให้เป็นดอลลาร์ที่สาม แต่ในช่วงนั้น รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 231 150 888.87 ต่อปี เป็นอัตราที่สูงอย่างไม่เคยพบมาก่อนในซิมบับเว เพียงเดือนเดียวก็ต้องออกธนบัตร 1,000, 10,000 และ 20,000 ดอลลาร์มาในเดือนกันยายน ตามด้วยออกธนบัตร 50,000 ดอลลาร์ในเดือนตุลาคม ตามด้วยธนบัตร 100,000, 500,000 และ 1,000,000 ดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในเดือนดังกล่าว เงินเฟ้อทะยานสูงสุดในประวัติศาสตร์ซิมบับเว โดยมีรายงานว่าอยู่ที่ร้อยละ 516,000,000,000,000,000,000 (ห้าร้อยสิบหกล้านล้านล้าน) ต่อปี 

ในเดือนธันวาคม 2551 สถานการณ์ที่รุนแรงต่อเนื่อง การออกธนบัตรรุ่นใหม่ออกกันเป็นรายสัปดาห์ โดยออกธนบัตร 10,000,000, 50,000,000 และ 100,000,000 (ร้อยล้าน) ดอลลาร์ในวันที่ 4 ธันวาคม ออกธนบัตร 200,000,000 (สองร้อยล้าน) และ 500,000,000 (ห้าร้อยล้าน) ดอลลาร์ในวันที่ 12 ธันวาคม ตามด้วยธนบัตร 1,000,000,000 (หนึ่งพันล้าน), 5,000,000,000 (ห้าพันล้าน) และ 10,000,000,000 (หนึ่งหมื่นล้าน) ดอลลาร์ในวันที่ 19 ธันวาคม ปิดท้ายปีด้วยการสั่งยกเลิกธนบัตรมูลค่าตั้งแต่ 1 000 ดอลลาร์ลงไปทั้งหมด 

ไม่ว่ารัฐบาลและธนาคารกลางจะทำอย่างไร แต่ก็ดูจะเริ่มไร้ประโยชน์ ความน่าเชื่อถือในเงินสกุลนี้หายไปแล้ว เศรษฐีที่มีเงินแสนล้าน เมื่อสองปีก่อน กลับจะเหลือทรัพย์สินเพียงสิบ มีรายงานว่าชาวซิมบับเวบางส่วนเลิกประกอบอาชีพทั้งหมด ไปร่อนทองในแม่น้ำ เพื่อนำเศษทองที่ร่อนได้ไปแลกอาหารประทังชีวิตเป็นรายวัน ส่วนระบบที่ไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้เงินสกุลอื่นได้ล่มสลายไปโดยปริยาย แรงงานในสาขาอาชีพต่างๆ อพยพไปทำงานในประเทศอื่นถึงร้อยละ 10 ของประเทศ แม้แต่แพทย์-พยาบาล ยังได้อพยพไปทำงานในประเทศอื่นๆ มากกว่าครึ่ง ระบบสาธารณสุขล่มสลายโดยปริยาย อัตราการว่างงานพุ่งสูงถึงร้อยละ 80 อัตราการติดเชื่อเอดส์ สูงถึงร้อยละ 20 เป็นความล่มสลายทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างสิ้นเชิง
 



zimbabwe_100_trillion_2009_obverse.jpg
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ด้านหน้าธนบัตรมูลค่า หนึ่งร้อยล้านล้านดอลลาร์ที่สาม 




พ.ศ. 2552 


สถานการณ์เลวร้ายต่อเนื่องมาจากสิ้นปี การออกธนบัตรรุ่นใหม่รวดเร็วเช่นเดิม โดย 12 มกราคม ออกธนบัตร 20,000,000,000 (สองหมื่นล้าน) และ 50,000,000,000 (ห้าหมื่นล้าน) ดอลลาร์ หลังจากนั้น 4 วัน ในวันที่ 16 มกราคม ก็ก้าวกระโดดไปออกธนบัตร 10,000,000,000,000 (สิบล้านล้าน), 20,000,000,000,000 (ยี่สิบล้านล้าน), 50,000,000,000,000 (ห้าสิบล้านล้าน) และ 100,000,000,000,000 (หนึ่งร้อยล้านล้าน) ดอลลาร์ 

นับจากการปรับปรุงค่าเงินเป็น ZWR เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่สูงมากอย่างต่อเนื่อง จนที่สุดแล้ว 2 กุมภาพันธ์ 2552 ครั้งนี้เพียงครึ่งปีหลังจากดอลลาร์ที่สาม รัฐบาลประกาศปรับปรุงค่าเงินอีกครั้ง โดยให้ใช้ “ดอลลาร์ซิมบับเวที่สี่” (ZWL) โดยกำหนดให้ 1 ZWL = 1,000,000,000,000 (หนึ่งล้านล้าน) ZWR ( = 10,000,000,000,000,000,000,000 ZWN = 10,000,000,000,000,000,000,000,000 ZWD) โดยธนบัตรของดอลลาร์ที่สี่ ออกมาทั้งสิ้น 7 ชนิด คือ 1, 5, 10, 20, 50, 100 และ 500 ดอลลาร์ที่สี่ แต่ยังให้ใช้ธนบัตรของดอลลาร์เก่าได้ แต่ต้องคำนวณมูลค่าให้เป็นไปตามดอลลาร์ใหม่ 

แต่การกระทำใดๆ ไร้ผล ที่สุดแล้วรัฐบาลซิมบับเว ประกาศยกเลิกการใช้เงินสกุลดอลลาร์ซิมบับเวในประเทศและยอมรับการใช้เงินสกุลอื่นในประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 เมษายน 2552 โดยกล่าวว่า จะหยุดใช้เงินสกุลนี้ไปอย่างน้อยหนึ่งปี จนกว่าประเทศจะพร้อมกลับไปใช้เงินสกุลนี้อีกครั้ง เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจเยียวยาตัวมันเอง นับจากวันนั้น ภาวะเงินเฟ้อในซิมบับเวลดลงสู่ระดับเกือบปกติในทันที และไม่เคยพุ่งสูงอีกเลย และจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลเลิกใช้เงินสกุลนี้มีแล้วหลายปี แต่ก็ยังไม่ได้ให้ประเทศกลับไปใช้เงินสกุลนี้แต่อย่างใด 

ดังนั้น ประชาชนก็ต้องเงินสกุลอื่น เช่น ดอลล่าร์สหรัฐ(ใช้เป็นส่วนใหญ่) หรือเงินสกุลเพื่อนบ้านอย่างแรนด์แอฟริกาใต้ และปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขถึงปัจจุบัน
 


photo_acd2f5gpenjh1o3.jpg
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
อาหารหนึ่งมื้อ ต้องใช้เงินเท่านี้ 


photo_mobnh5p1f4eijdc.jpg
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


นี่คือสิ่งที่ต้องทำทุกครั้งหากจะไปร้านค้า ตลาด สถานีรถประจำทาง ฯลฯ 



photo_5ahnje2m0f3ilck.jpg
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

หากไม่ต้องการจะถือเงินเยอะๆ ทางออกคือแลกเงินเป็นดอลลาร์สหรัฐ 
ไม่มีใครต้องการนั่งนับเงิน แต่ใช้ชั่งน้ำหนักเอา
 




photo_o320ebam4ndkgli.jpg
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
100 ล้าน ซื้อไข่ได้ 3 ฟอง 



photo_54ind1a0kc2bhfg.jpg
 
พระราชหัตถเลขา PDF พิมพ์ อีเมล์
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ก็ได้เสด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ก็ได้เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกอีก ในปีวอก พ.ศ. ๒๔๒๘ ดังความปรากฏในพระราชหัตถเลขาฉบันที่ ๑ ฉบันที่ ๒ และฉบับที่ ๓ ซึ่งรายละเอียดในพระราชหัตถเลขาทั้ง ๓ ฉบับ เป็นการย้ำยืนยันชัดเจนว่า ครั้งหนึ่ง เกาะกงหรือเมืองปัจจันตคิรีเขตรนี้ เคยเป็นของไทย

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม...
 
ปัจจันตคิรีเขตร (เกาะกง) ไปแล้วไปลับไม่กลับคืน PDF พิมพ์ อีเมล์
จังหวัดเกาะฮ์กงหรือเกาะกง(Koh Kong) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศกัมพูชา ที่มีพื้นที่ ๑๑,๑๖๐ ตารางกิโลเมตร เกาะกงอยู่ติดชายฝั่งทะเล บริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศเหนือติดกับจังหวัดโปสัตหรือโพธิสัต (Pursat) ส่วนทิศตะวันออกติดกับจังหวัดก็อมปงซปือ หรือกัมปงสปือ (Kangpong Speu) และจังหวัดก็อมโปต หรือกำปอต (Kampot) ส่วนทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเมืองสิหนุวิลล์ และอ่าวไทย เมืองหลวง คือ กรุงเขมรรัฐภูมินทร์ บ้างก็เรียกว่า กรุงเกาะกง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม...
 
จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน โดย ป๋วย อึ้งภากรณ์ PDF พิมพ์ อีเมล์
ป๋วยกับหลายชาย

เมื่อผมอยู่ในครรภ์ของแม่ ผมต้องการให้แม่ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์ และได้รับความเอาใจใส่ และบริการอันดีในเรื่องสวัสดิภาพของแม่และเด็ก ผมไม่ต้องการมีพี่น้องมากอย่างที่พ่อแม่ผมมีอยู่ และแม่จะต้องไม่มีลูกถี่นัก

พ่อกับแม่จะแต่งงานกันถูกฎหมาย หรือธรรมเนียมประเพณีหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่สำคัญที่ พ่อกับแม่ต้องอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข ทำความอบอุ่นให้ผมและพี่น้อง

ในระหว่าง 2-3 ขวบแรกของผม ซึ่งร่างกายและสมองผมกำลังเติบโตในระยะที่สำคัญ ผมต้องการให้แม่ผมกับตัวผม ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์

ผมต้องการไปโรงเรียน พี่สาวหรือน้องสาวผมก็ต้องการไปโรงเรียน จะได้มีความรู้หากินได้ และจะได้ รู้คุณธรรมแห่งชีวิต ถ้าผมสติปัญญาเรียนชั้นสูง ๆ ขึ้นไป ก็ให้มีโอกาสเรียนได้ ไม่ว่าพ่อแม่ผมจะรวย หรือจน จะอยู่ในเมืองหรือชนบทแร้นแค้น

เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ผมต้องการงานอาชีพที่มีความหมาย ทำให้ได้รับความพอใจว่า ตนได้ทำงานเป็นประโยชน์แก่สังคม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม...
 
หลักโภควิภาค ๔ PDF พิมพ์ อีเมล์

pokkavipak4.jpgคงเคยได้ยินนโยบายใช้ ๓ ส่วน เก็บ ๑ ส่วนกันมาบ้างนะครับ เรามาดูหลักการใช้เงินที่ได้แนะนำไว้เกือบ ๒๖๐๐ ปีกันบ้างว่ายังใช้ได้อยู่หรือไม่
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม...
 
<< หน้าแรก < ย้อนกลับ 1 2 ถัดไป > สุดท้าย >>

ผลลัพธ์ 1 - 9 จาก 10